พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 17,183

[16.5001512, 99.4940454, พระลีลา กำแพงขาว]

          ถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัย เก่าก่อน เขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม
          ว่ากันถึงประวัติความเป็นมานั้น พระกำแพงขาว ถูกค้นพบภายในกรุต่างๆ ของจังหวัดกำแพงเพชร ไม่ว่าจะเป็นฝั่งทุ่งเศรษฐี และฝั่งวัดบรมธาตุ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพระได้ถูกค้นพบหลายกรุ แต่จำนวนพระในแต่ละกรุก็มีจำนวนไม่มากนัก โดยการค้นพบระยะเริ่มแรกนั้นมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระชุดนี้ก็ได้สร้างกิตติคุณด้วยประสบการณ์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ตลอดจนโชคลาภโภคทรัพย์ก็มีให้เห็นอย่างพร้อมสรรพตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ทางด้านพระพุทธลักษณะพิมพ์ทรงนั้น ทำเป็นองค์สมมติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จพุทธดำเนิน (เดิน) หรือที่เรียกว่า “ปางลีลา” บนฐานบัว ภายในซุ้มทรงยอดแหลม ทั้งนี้พิมพ์พระมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์กลาง ส่วนด้านหลังนั้นปรากฏรอยลายผ้าหยาบ อันเกิดจากผ้าห่อทรายละเอียดกดหลังองค์พระในขณะพิมพ์พระ เพื่อให้เนื้อพระติดแม่พิมพ์ชัดเจน โดยพุทธศิลป์นั้นยุติลงที่สมัยสุโขทัย ด้านเนื้อหานั้น เป็นเนื้อชิน ที่พบนั้นจะเป็นเนื้อ “ชินเงิน” ในสภาพสมบูรณ์นั้นจะพบคราบปรอทบนผิวพระ แต่แปลกพระที่พบในวงการ จะเนื้อแต่เนื้อผุระเบิด สีดำ พระหน้าตา แขนขา เบรอ ไม่ชัดนัก ส่งสัยคงเป็นที่นิยม  นอกจากนี้ ยังมีบางองค์ที่เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดงก็มี 
          เรื่องพระพุทธคุณนั้น โดยบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องฯ ต่างประจักษ์ถึงพุทธคุณของพระกำแพงขาวนี้ตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 แล้ว ว่าไม่ว่าจะเป็นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม รวมถึงโชคลาภโภคทรัพย์ พร้อมสรรพสมกับเป็นพระเครื่องฯ เนื้อชิน 1 ใน 10 ที่เหล่านักนิยมสะสมพระเครื่องฯ ต่างใฝ่ฝันที่จะได้ไว้บูชาครอบครองอย่างแท้จริง
          พระลีลา กำแพงขาว เป็นพระปางลีลา ศิลปะ สุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า พระกำแพงขาว ก็เพราะว่า ตอนขึ้นจากกรุ มีคราบฝ้าของกรุ และปรอทจับตามองค์พระ คนรุ่นเก่าจึงเรียกกันว่า พระกำแพงขาว จัดได้ว่า เป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรโดยตรง
          พุทธลักษณะ องค์พระประทับยืน ยกพระบาทขวาลอยขึ้น วางปลายพระบาทขวาเฉียงลงมาทางด้านหลังของพระบาทซ้ายที่ประทับอยู่ พระกรและพระหัตถ์ขวาทอดวางแนบลงมาตรงๆ ส่วนพระกรและพระหัตถ์ซ้าย ยกสูงขึ้นเสมอพระอุระ (อก) สร้างด้วยเนื้อชินเงิน ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1.8 ซม. สูงประมาณ 4.0 ซม.
          พระกำแพงขาว ขุดพบครั้งแรกที่กรุวัดบรมธาตุ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว เรียกว่า พระกรุเก่า ต่อมาขุดพบที่กรุวัดอาวาสน้อย วัดกะโลทัย วัดอาวาสใหญ่ วัดพระแก้ว ที่พบคราวหลังนี้ จะมีผิวปรอทจับตามซอก บางองค์ผิวปรอทจับทั่วทั้งองค์ก็มี เรียกว่า พระกรุใหม่ เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ขุดพบในภายหลังเท่านั้นเอง พระพิมพ์นี้นักนิยมสะสมพระเครื่องยกว่า เป็นเลิศในด้านศิลปะกว่าทุกๆ เมือง

 

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระลีลา กำแพงขาว. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=190&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=190&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,794

กรุฤาษี

กรุฤาษี

ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 15,298

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,420

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 13,201

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,855

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,917

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 7,184

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 14,406

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,050

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,691