พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 12,539

[16.4746251, 99.5079925, พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ]

        พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะองค์นี้เป็นเนื้อดิน ซึ่งคงลักษณะโดยรวมของพระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ หรือ แบบไม่ตัดขอบ พิมพ์นี้ด้านขอบจะมนทุกด้าน เนื่องจากไม่มีการตัดขอบแบบพิมพ์ใหญ่ หรือ พิมพ์กลาง ด้านหลังมีทั้งแบบเป็นแอ่งน้อยๆ หรืออูม มักมีรอยลายนิ้วมือเลือนรางกดประทับอยู่ ซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะขึ้นมาหลายกรุในฝั่งนครชุมดังที่ผมเคยเล่าไปแล้ว ที่นำมาชี้ตำหนิลายละเอียดกันนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่สลักสำคัญ เพราะเขาดูเนื้อหา ลักษณะโดยรวมและความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นหากท่านมีพระกำแพงอย่าล้างโดยเด็ดขาดนะครับ เพราะจะทำให้พิจารณายาก ขอให้เชื่อผม เอาพู่กันขนอ่อนปัดให้ฝุ่นละอองออกไปก็พอ หากสกปรกจริงๆ เช่น พระจมอยู่ในตลับสีผึ้งนาน หรือเขาเลี่ยมเปิดหน้าหรือจับขอบห้อยมานานๆ อย่างนี้จึงจำเป็นต้องล้างทำความสะอาด เพื่อการอนุรักษ์ และก็ต้องล้างแบบให้ถูกวิธี ผมเห็นหลายคนล้างพระแท้ๆ จนเสียผิว พิจารณายากไปเลย จริงอยู่ครับ พระแท้และพระเทียมนั้นย่อมเป็นเช่นนั้นจะล้างอย่างไรก็ไม่ทำให้พระแท้เป็นพระเทียมหรือพระเทียมดูแท้ไปได้ แต่การพิจารณายาก และการเสียผิวเดิมทำให้สุนทรียะ และความซึ้งตาหดหายไปอย่างที่ไม่มีวันหวนกลับคืนมาอีก

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=120&code_db=DB0003&code_type=P002

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=187&code_db=DB0006&code_type=R003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=187&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 12,295

พระเม็ดขนุน

พระเม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 26,480

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 32,181

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 6,890

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่าได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ (อ้างว่า) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้นไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2500 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 33,052

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 6,855

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,212

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,309

กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,123

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 17,382