โหราบอน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 1,737
[16.4258401, 99.2157273, โหราบอน]
โหราบอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Typhonium giganteum Engl.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สมุนไพรโหราบอน มีชื่อเรียกอื่นว่า ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของโหราบอน
- ต้นโหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
- ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
- ดอกโหราบอน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวแทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีลักษณะกลมยาวคล้ายรูปทรงกระบอก มีเนื้อนิ่ม ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่ ภายในดอกจะพบผล
- ผลโหราบอน ผลจะอยู่ภายในดอก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง
สรรพคุณของโหราบอน
- หัวใต้ดินมีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้น (หัว)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง (หัว)
- ใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรค (แผลที่ยังไม่แตก) โดยใช้หัวสด นำมาปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำให้แตก ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 ครั้ง (หัว)
- ใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอ (หัว)
- หัวใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก (หัว)
- หัวใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อ (หัว)
- หัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (หัว)
- ใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยว ให้ใช้หัวโหราบอนแห้งที่กำจัดพิษออกแล้ว 60 กรัม, แมงป่องตากแห้ง 30 กรัม และหนอนใบหม่อน 30 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ด เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)
ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน
- สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
- ไม่ควรนำหัวโหราบอนสด ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา
กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน
- ให้นำหัวโหราบอนมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ โดยให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อแช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวโหราบอนมาแช่กับน้ำสารส้ม (ในอัตราส่วนหัวโหราบอน 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม) เป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง (ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12) หรือในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วนำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา
ขนาดและวิธีใช้โหราบอน
- ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือหากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน
- หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin เป็นต้น
คำสำคัญ : โหราบอน
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). โหราบอน. สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1775&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,361
อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,102
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,257
ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,657
ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ
เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,841
ต้นติ้วขาว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,971
ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 9,935
พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,152
เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,950
ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 4,223