หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 11,288

[16.4258401, 99.2157273, หญ้าฝรั่น]

หญ้าฝรั่น (ออกเสียงว่า ฝะ-หรั่น) ชื่อสามัญ Saffron, True saffron, Spanish saffron, Crocus

หญ้าฝรั่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Crocus sativus L. จัดอยู่ในวงศ์ว่านแม่ยับ (IRIDACEAE) และยังไม่มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรของต่างประเทศ โดยประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกได้แก่ ประเทศสเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อินเดีย และอิหร่าน[1],[3],[4],[8] โดยอิหร่านเป็นประเทศที่สามารถผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพและมีปริมาณการผลิตมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 81 ของหญ้าฝรั่นทั่วโลก

Saffron คืออะไร ? Saffron หรือหญ้าฝรั่นคือเครื่องเทศสมุนไพรจากต่างประเทศที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณ โดยแหล่งผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพสูงคือประเทศอิหร่าน

ลักษณะของหญ้าฝรั่น

  • ต้นหญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น
  • หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา 
  • ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าฝรั่น ก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะของดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว ดอกมีสีม่วง มีกลีบดอก 5-6 กลีบ กลีบดอกลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปไข่ มีเกสรขนาดยาวโผล่พ้นเหนือดอก เกสรตัวเมียมีสีแดงเข้ม ดอกอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ มักออกดอกในช่วงฤดูใบไม้ร่วง[1],[4],[8] 
  • เกสรหญ้าฝรั่น หรือที่เรียกว่า หญ้าฝรั่น คือยอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นยาวออกมาโผล่พ้นเหนือดอก มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม แต่ละง่ามมีความประมาณ 25-30 มิลลิเมตร มักเก็บดอกเมื่อตอนดอกเริ่มบาน ส่วนที่เก็บคือเกสรตัวเมีย โดย 1 ดอกจะมีเกสรอยู่เพียง 3 เส้นเท่านั้น ส่วนวิธีการเก็บก็คือเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งด้วยการคั่ว นอกจากนี้การเก็บเกสรต้องรีบเก็บในวันเดียวเพราะว่าดอกจะโรยหมด แล้วยังต้องรีบนำมาคั่วให้แห้งในทันที ส่วนการเก็บก็ต้องใช้แต่แรงงานคนเท่านั้นประกอบกับว่าพืชชนิดนี้มักขึ้นในที่ลาดเขาซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก โดยดอกหญ้าฝรั่นประมาณ 100,000 ดอก จะให้เกสรตัวเมียที่แห้งแล้วประมาณ 1 กิโลกรัม หรือที่เราเรียกว่า "หญ้าฝรั่น" นั่นเอง ซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ และมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน

สรรพคุณของหญ้าฝรั่น

  1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านสารก่อกลายพันธุ์
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  3. ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
  4. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  6. การรับประทานหญ้าฝรั่นทุกวันจะช่วยถนอมสายตาไม่ให้มืดมนเมื่ออายุมาก ถนอมเซลล์อันซับซ้อนในดวงตาให้สามารถใช้งานนานและทนทานกับโรคได้ดี ป้องกันเซลล์ไม่ให้ตายเพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้มแข็งอยู่ ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงแดด และช่วยขัดขวางไม่ให้เป็นโรคจอตาเสื่อม มีสารสีขึ้นหรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ (ศาสตราจารย์ซิลเวีย พิสติ มหาวิทยาลัยอกิลาในอิตาลี)[6]นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดที่จอตานอกเหนือจากจุดรับภาพเสื่อม และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้
  7. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
  8. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อเป็นยาคลายกล้ามเนื้อประสาท ช่วยผ่อนคลายความเครียดของระบบประสาท
  9. ยอดเกสรและกลีบดอกหญ้าฝรั่นช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้ (หญ้าฝรั่น, กลีบดอก)
  10. ใช้เป็นยาชูกำลัง
  11. ช่วยบำรุงหัวใจ (ต้น)
  12. ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  13. ช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในพลาสม่า
  14. ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด (ในเยอรมัน)
  15. ช่วยแก้อาการสวิงสวายหรืออาการรู้สึกใจหวิว มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว คล้ายจะเป็นลม
  16. ช่วยแก้ซางในเด็ก
  17. ใช้เป็นยาขับเหงื่อ
  18. ดอกและรากหญ้าฝรั่นช่วยแก้ไข้ (ดอก, ราก)
  19. ช่วยขับเสมหะ
  20. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง อาการปวดในกระเพาะอาหาร
  21. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  22. ช่วยแก้อาการบิด (ราก)
  23. ช่วยแก้อาการปวดท้องหลังการคลอดบุตรของสตรี
  24. ช่วยขับระดูของสตรี
  25. ช่วยแก้อาการเกร็ง เส้นกระตุก ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
  26. ช่วยระงับความเจ็บปวด
  27. มีการใช้สารสกัดที่ได้จากหญ้าฝรั่นที่มีตัวยาที่ชื่อว่า Swedish bitters เพื่อใช้ในการเตรียมยาบำบัดเพื่อรักษาโรคต่างๆ
  28. งานการศึกษาอื่น ๆ ระบุว่าหญ้าฝรั่นอาจมีศักยภาพในคุณสมบัติทางด้านการแพทย์อีกหลายอย่าง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าฝรั่น

สารเคมีที่พบในหญ้าฝรั่นได้แก่ Crocin 2%, Destrose, Picrocrocin 2%, Riboflavin และน้ำมันหอมระเหย

ประโยชน์ของหญ้าฝรั่น

  1. เชื่อว่าหญ้าฝรั่นมีสรรพคุณช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีอายุยืนยาว
  2. หญ้าฝรั่นมีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอมแบบโบราณ นำมาใช้ทำเป็นยาหอมได้
  3. หญ้าฝรั่นนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยจะช่วยทำให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง อย่างเช่น ลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก พุดดิงคัสตาร์ด รวมไปถึงเหล้าและเครื่องดื่ม
  4. หญ้าฝรั่นเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นติดทนนาน เมื่อนำมาใช้ทำอาหารจึงไม่ต้องใช้มาก และนิยมนำมาใส่ในขั้นตอนสุดท้ายของการปรุงอาหาร เนื่องจากเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมากจึงมักนิยมใส่ในอาหารในโอกาสพิเศษต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลอง
  5. นอกจากนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารแล้ว ยังใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและน้ำหอมหรือน้ำอบได้อีกด้วย
  6. ใช้ในการย้อมสีผ้า โดยให้สีเหลือง
  7. ในตำรายาสมุนไพร Farmakuya ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรโบราณระบุว่า หญ้าฝรั่นมีสรรพคุณนำมาใช้ทำเป็นทิงเจอร์ที่มีชื่อว่า Tinctura Opiicrocata
  8. นิยมใช้กับข้าวปรุงรสต้นตำรับหรืออาหารจากต่างประเทศ เช่น ข้าวบุหรี่, ข้าวหมาก ข้าวปิลาฟ (Pilaf Rice), ข้าว Pilaus ของอินเดีย, ข้าวปาเอญ่า (Paella) ของสเปน, ข้าว Risotto Milanese ของอิตาเลียน, ซุปทะเลรวมมิตรแบบฝรั่งเศส หรือบุยยาเบส(Bouillabaisse) ด้วยการใช้หญ้าฝรั่นนำมาชงด้วยน้ำร้อนแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในอาหารหรือใส่ทั้งเส้น

คำสำคัญ : หญ้าฝรั่น

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หญ้าฝรั่น. สืบค้น 24 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1757&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1757&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 11,070

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,001

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 12,818

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,020

กระทุงหมาบ้า

กระทุงหมาบ้า

ต้นกระทุงหมาบ้า จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถากลม เปลือกเถาอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่เป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามผิวกิ่งตะปุ่มตะป่ำและมีช่องอากาศ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบที่ชื้น ทนแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบขึ้นตามบริเวณป่าดิบ ป่าราบ หรือบริเวณชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,915

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,465

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,267

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,339

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,558

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,454