พุดซ้อน

พุดซ้อน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 14,026

[16.4258401, 99.2157273, พุดซ้อน]

พุดซ้อน ชื่อสามัญ Cape jasmine, Gareden gardenia, Gerdenia, Bunga cina (มาเลเซีย), Kaca piring

พุดซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia jasminoides J.Ellis (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia augusta Merr., Gardenia florida L., Gardenia grandiflora Siebold ex Zucc., Gardenia radicans Thunb.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรพุดซ้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เค็ดถวา แคถวา (เชียงใหม่), พุดป่า (ลำปาง), พุทธรักษา (ราชบุรี), พุดฝรั่ง (กรุงเทพฯ), พุดสา พุดสวน พุดจีบ (ภาคกลาง), พุด, พุดจีน พุดใหญ่ พุดซ้อน (ไทย), กีจื้อ จือจื่อ สุ่ยจือจื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุดซ้อน

  • ต้นพุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 
  • ใบพุดซ้อน พุดซ้อนเป็นไม้ที่ออกใบหนาแน่น ทำให้ดูทึบ โดยใบจะเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามหรือประกอบเป็นใบ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ เป็นขอบสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น มีหูใบ 2 อันอยู่ระหว่างก้านใบด้านละอัน ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายใบพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มียางสีขาวเท่านั้น 
  • ดอกพุดซ้อน โดยมากแล้วจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกพุดจีบ ดอกของพุดซ้อนจะเป็นสีขาวและมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร เนื้อนุ่มและมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 ก้านรูปแถบ ติดที่ปลายหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว ยอดเกสรเป็นกระจุกแน่น รังไข่จะอยู่ใต้ฐานรองดอก ส่วนกลีบเลี้ยงมีประมาณ 5-8 แฉก ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก
  • ผลพุดซ้อน ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่ ออกแบบหัวทิ่มลง ผลอ่อนเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองหรือเป็นสีส้มถึงแดง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เปลือกผลมีเหลี่ยมตามยาว ประมาณ 5-7 เหลี่ยม ภายในมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดจะมีเนื้อเยื่อหุ้มเป็นสีแดง 

สรรพคุณของพุดซ้อน

  1. รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน ขับน้ำชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้ตัวร้อน มีไข้สูง (ราก, ผล)
  2. เนื้อไม้เป็นยาเย็น ช่วยลดพิษไข้ (เนื้อไม้) ปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น, ราก)
  3. ช่วยกระจายเลือดที่อุดตัน (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ (ผล)
  5. ช่วยแก้ตาอักเสบ (ผล)
  6. ช่วยแก้เลือดกำเดา (ผล)
  7. ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม ปวดฟัน (ผล)
  9. ช่วยรักษาปากและลิ้นเป็นแผล (ผล)
  10. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ผล)
  11. รากช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ราก)
  12. เปลือกต้นเป็นยาแก้บิด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)
  13. ผลเป็นยาขับพยาธิและขับปัสสาวะ (ผล) ส่วนน้ำจากต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ (น้ำจากต้น)
  14. ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ผล)
  15. ตำรับยาแก้ตับอักเสบเฉียบพลันเนื่องจากการติดเชื้อและมีอาการตัวเหลือง ระบุให้ใช้รากพุดซ้อนสด 70 กรัม, รากใบไผ่เขียว, หญ้าคา และเปลือกต้นหม่อนอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  16. รากใช้ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ช่วยสมานบาดแผล (ราก)
  17. น้ำคั้นจากดอกนำมาผสมกับน้ำมันใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนัง หรือจะใช้เฉพาะน้ำคั้นจากดอกเพียงอย่างเดียวก็ได้ (น้ำจากดอก)
  18. ช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนัง (ราก)
  19. ช่วยแก้ฝีหนองอักเสบ (ราก)
  20. ช่วยแก้อาการปวดบวม (ราก)
  21. ตำรับยาแก้เคล็ดขัดยอกระบุให้ใช้ผลพุดซ้อนแห้ง 250 กรัม, โกฐเชียง, คำฝอย และเมล็ดลูกท้ออย่างละ 150 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผง แล้วนำไปเคี่ยวกับวาสลิน 250 กรัม และผสมกับน้ำส้มสายชูอีก 500 ซีซี แล้วเคี่ยวจนให้เข้ากันดี ใช้เป็นยาทาภายนอกบริเวณที่มีอาการ (ผล)

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [3] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกแผลภายนอก

สรรพคุณของผลพุดซ้อนตามตำราการแพทย์แผนจีน

  1. กีจื้อ (ผลพุดซ้อน) มีรสขมเย็น มีฤทธิ์ขับความร้อน ระบายความร้อน แก้ไข้ แก้หงุดหงิดกระวนกระวาย ช่วยเสริมความชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดาไหล แก้ปัสสาวะและอาเจียนเป็นเลือด (เนื่องจากเลือดมีพิษร้อน) แก้ดีซ่าน (ตัวเหลืองจากความร้อนหรือร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี) มีฤทธิ์บรรเทาอาการพิษอักเสบ แก้พิษอักเสบของแผล ฝีอักเสบ อาการบวมจากการกระทบกระแทก ลดบวมจากการอักเสบ ช่วยระงับอาการปวด แก้อาการอักเสบบวมแดง
  2. กีจื้อผัดและกีจื้อผลพุดซ้อนผัดเกรียมมีวิธีใช้และสรรพคุณที่เหมือนกัน แต่จะใช้ในกรณีที่ระบบกระเพาะอาหารและม้ามพร่อง
  3. กีจื้อถ่านมีฤทธิ์ห้ามเลือดและทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด

หมายเหตุ : สำหรับวิธีใช้ ให้ใช้ประมาณ 6-9 กรัมนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม

ข้อควรระวัง ผลพุดซ้อนไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้กับคนธาตุอ่อน อุจจาระเหลว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดซ้อน

  • สารที่พบ ได้แก่ Jasminodin, Geniposide, Crocin, Shanzhiside, Genipin-1-B-gentiobioside, Dipentene, Gardonin และยังพบ Gum, Tanin เป็นต้น
  • สารสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกระตุ้นน้ำดีให้มีการไหลออกมากขึ้น และจากการทดลองกับกระต่ายก็พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้ง Bilirubin ของเม็ดเลือดที่อยู่ในเส้นเลือดได้
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากผลพุดซ้อนหรือสารที่สกัดได้จากผลพุดซ้อนด้วยแอลกอฮอล์มาทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น หนู แมว หรือกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ทำให้ความดันของสัตว์ทดลองลดลงได้นานพอสมควร
  • ผลพุดซ้อนมีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือดและช่วยสมานบาดแผล
  • สารหลัก Linalool มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา มีฤทธิ์สงบประสาท และการอักเสบ

ประโยชน์ของพุดซ้อน

  1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวนบริเวณบ้านทั่วไป ตัดแต่งทรงพุ่มและปลูกเป็นแนวรั้วได้ดี[1]สามารถควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม อีกทั้งดอกพุดซ้อนยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วย โดยตามความหมายของไทยจะหมายถึงความแข็งแรง สมบูรณ์ ความเจริญมั่นคง ส่วนตามความหมายของฝรั่งจะหมายถึงรักแท้
  2. ดอกนำมาปักแจกันไหว้พระหรือนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยสำหรับบูชาพระ ส่วนในประเทศจีนจะใช้ดอกพุดมาอบใบชาให้มีกลิ่นหอม
  3. ดอกสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  4. ผลและเมล็ดเมื่อนำมาบดจะให้สารสีเหลืองทองชื่อ Gardenia ใช้เป็นสีสำหรับแต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง (เช่น การใช้ย้อมสีด้านนอกของเต้าหู้แข็ง แต่งสีน้ำเก๊กฮวย ส่วนในประเทศจีนใช้เป็นสีย้อมผ้า) และยังให้สารสีน้ำตาลแดงชื่อ Corcin ใช้สำหรับแต่งอาหารให้มีสีน้ำตาลแดง
  5. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำธูป ทำกรอบรูป และทำหัวน้ำหอมได้

คำสำคัญ : พุดซ้อน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดซ้อน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1754&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1754&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,952

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,299

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,375

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,936

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,420

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,345

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,075

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,483

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,436

มะขามเทศ

มะขามเทศ

สำหรับประโยชน์ของมะขามเทศนั้นมีมากมาย เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น และยังถือว่ามะขามเทศนั้นเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะคนโบราณนิยมนำมาใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศนั่นเอง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,482