พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 29,333

[16.4258401, 99.2157273, พญาไร้ใบ]

พญาไร้ใบ ชื่อสามัญ Milk bush, Indian tree spurge

พญาไร้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia tirucalli L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

สมุนไพรพญาไร้ใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่), เคียะเทียน (ภาคเหนือ) เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นพญาไร้ใบที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกับพญาไร้ใบ (ชนิดที่ไม่มีใบเลยจริง ๆ) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เถาหูด้าน เอื้องเถา เถาวัลย์ยอดด้วน เป็นต้น โดยคุณสามารถอ่านบทความของพรรณไม้ชนิดนี้ได้ที่บทความเรื่อง "เถาวัลย์ด้วน" และยังเป็นคนละชนิดกับกล้วยไม้ที่มีชื่อว่า "เอื้องพญาไร้ใบ" (ชื่อวิทยาศาสตร์ Chiloschista lunifera (Rchb.f.) J.J.Sm.) อีกด้วย

ลักษณะของพญาไร้ใบ

  • ต้นพญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 
  • ใบพญาไร้ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีขนาดมาก ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
  • ดอกพญาไร้ใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ
  • ผลพญาไร้ใบ ผลเป็นผลแห้งจะแตกและอ้าออก 

สรรพคุณของพญาไร้ใบ

  1. รากมีรสเฝื่อน ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ราก)
  2. รากนำมาต้มกับน้ำมะพร้าวใช้ทาแก้อาการปวดท้อง (ราก)
  3. ต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้กระเพาะอักเสบ (ต้น)
  4. รากใช้สกัดเป็นเป็นยาระบายได้ (ราก)
  5. ใบและรากมีรสเฝื่อน ใช้ตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร (ใบและราก) และใช้ต้นนำมาตำพอกริดสีดวง (ต้น)
  6. น้ำยางจากต้นใช้รักษาโรคผิวหนัง (น้ำยางจากต้น) ส่วนเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาสำหรับรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน กรณีที่มือและเข่าอ่อนเปลี้ยหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)
  7. ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้รังแค (ต้น)
  8. ต้นใช้เป็นยาพอกแผล (ต้น)
  9. ตำรายาพื้นบ้านจะใช้น้ำยางจากต้นมาแต้มกัดหูด (ใช้น้ำยางจากกิ่งที่หักมาใหม่ ๆ มาหยดลงบริเวณที่เป็นหูด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น) (น้ำยางจากต้น)
  10. ต้นมีรสเฝื่อน ใช้ต้มแช่รักษาอาการบาดเจ็บ (ต้น)
  11. ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้ปวดบวม (ต้น)
  12. ต้นใช้ตำทาแก้อาการปวดกระดูก กระดูกเดาะ (ต้น)
  13. ใช้น้ำยางจากต้นนำมาถูผิวหนังบริเวณที่กระดูกแตกหัก เชื่อว่าจะช่วยเชื่อมกระดูกได้ (น้ำยางจากต้น)

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรพญาไร้ใบ

  • ยางจากต้นพญาไร้ใบมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางสีขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง ทำให้เกิดอาการคัน และเป็นอันตรายเมื่อเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
  • ในน้ำยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรงและยังเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระมัดระวังในการนำมาใช้

การรักษาพิษของพญาไร้ใบ

  • พิษระคายเคืองต่อผิวหนัง น้ำยางสีขาวจากต้นมีสารพิษชื่อว่า Phorbol derivative หากสัมผัสจะมีอาการปวด ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง บวมพองเป็นตุ่มน้ำ ถ้าเข้าตาจะทำให้เยื่อบุตาอักเสบและตาบอดชั่วคราว[5]
    • วิธีการรักษา
  • ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์
  • ทาด้วยครีมสเตียรอยด์
  • ทานยาแก้แพ้ (เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlopheniramine) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร)
  • ประคบด้วยน้ำเย็นจัดบริเวณที่มีอาการประมาณ 30 นาที
  • ถ้ายางเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วหยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
  • พิษระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียน และถ่ายท้องอย่างรุนแรง ม่านตาหด หากได้รับมากอาจทำให้สั่นและเสียชีวิตได้
    • วิธีการรักษา
  • ให้รีบทำให้อาเจียนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง
  • ดื่มน้ำนมหรือไข่ขาว เพื่อช่วยเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ดื่มน้ำเกลือผงละลายน้ำ หรือให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือด เพื่อช่วยชดเชยน้ำที่เสียไป
  • ต้องรับประทานอาหารอ่อน ๆ จนกว่าอาการจะทุเลา

ประโยชน์ของพญาไร้ใบ

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสวน
  • น้ำยางสีขาวมีพิษ จึงใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ยอ่อน มอดแป้ง แมลงวันทอง หนอนกระทู้ผัก และช่วยป้องกันแมลงในโรงเก็บ และยังสามารถช่วยยับยั้งการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้อีกด้วย
  • นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพรป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวได้อีกด้วย โดยให้เตรียมพญาไร้ใบ 3 กิโลกรัม, น้ำ 10 ลิตร, กากน้ำตาล 0.5 ลิตร นำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกัน ปิดถังหมักทิ้งไว้ในร่ม 1 เดือน ส่วนวิธีการใช้ให้ปล่อยไปตามน้ำหรือเทราดตามข้างนาจำนวน 1 ลิตร ต่อไร่ (หรืออาจมากกว่านั้น) ก็จะช่วยกำจัดหอยเชอรี่ได้โดยไม่มีผลกระทบหรือเป็นอันตรายใดๆ ต่อต้นข้าวเลย

คำสำคัญ : พญาไร้ใบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พญาไร้ใบ. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1738&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1738&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักชีลาว

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,312

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,786

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,069

เผือก

เผือก

เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,861

ตาล

ตาล

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน ส่วนบริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้งและติดแน่น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ไม่ชอบอากาศเย็น ชอบแสงแดดจัด ทนต่อดินเค็ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การย้ายไปปลูกต้นจะไม่รอด เพราะรากแรกที่แทงลงดินอยู่ลึกมาก หากรากแรกขาดก็จะตายทันที

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 9,020

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,358

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,429

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 2,446

มะฝ่อ

มะฝ่อ

มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,569

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,199