มะฝ่อ

มะฝ่อ

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 3,963

[16.4258401, 99.2157273, มะฝ่อ]

มะฝ่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Trewia nudiflora L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

สมุนไพรมะฝ่อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปอบ (ภาคเหนือ), ม่อแน่ะ เส่โทคลึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หม่าที (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของมะฝ่อ

  • ต้นมะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็ก ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร
  • ใบมะฝ่อ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมรี รูปหัวใจ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนแหลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบคล้ายใบโพ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นที่เส้นใบมีขน ส่วนด้านล่างมีขนขึ้นปกคลุม เส้นใบแตกจากฐานใบ 3 เส้น ใบอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น ใบแก่บางเป็นสีเขียวออกเหลือง
  • ดอกมะฝ่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน ดอกเป็นสีครีมอมเขียว ขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะออกช่อตามซอกใบ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร ดอกจะทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ กลีบรองดอกมีประมาณ 3-4 กลีบ ขนาดประมาณ 3.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ ๆ ก้านดอกยาว มีกลีบรองดอกประมาณ 3-5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย รังไข่มี 2-4 ช่อง ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
  • ผลมะฝ่อ ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ผลแข็ง มีขน และฉ่ำน้ำ ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดี่ยว

สรรพคุณของมะฝ่อ

  1. น้ำต้มจากเปลือกต้นเป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
  2. ใช้เป็นยาขับเสมหะ (เปลือกต้น)
  3. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืด (ราก)
  4. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำ ใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ (เปลือกต้น)
  5. ใช้เป็นยาแก้ท่อน้ำดีอักเสบ (เปลือกต้น)
  6. ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นและรากมะฝ่อ เข้ายาแก้พิษต่อผิวหนัง มีอาการคัน (เปลือกต้น, ราก)
  7. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นมะฝ่อนำมาย่างกับไฟ ต้มกับน้ำดื่มต่างน้ำชา เป็นยารักษาอาการปวดบวมทั้งตัว (เปลือกต้น)
  8. น้ำต้มจากรากใช้เป็นยาทาถูนวดแก้อาการปวดตามข้อ (ราก)

ประโยชน์ของมะฝ่อ

  1. ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานได้
  2. เนื้อไม้ใช้ทำหีบ ลังใส่ของ และใช้ทำก้านไม้ขีด คนสมัยก่อนจะนำมาใช้ทำแอกไถนา เพราะมีน้ำหนักเบา

คำสำคัญ : มะฝ่อ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะฝ่อ. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1731&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1731&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,711

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,928

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,763

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 7,718

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,074

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,975

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,854

พลูช้าง

พลูช้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นอวบ และชอบอาศัยเกาะตามไม้ยืนต้น ลำต้นโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.  ใบจะเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน เป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะเป็นแผ่นรูปไข่เบี้ยวรูปรี  ขอบใบเรียบ ตรงปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะกลม หรือจะเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบจะมีความกว้างประมาณ 6.5-15 ซม.  ดอกจะออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ตรงยอด มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวและมีก้านช่อ ดอกสั้นกว่าก้านใบมาก กาบหุ้มช่อดอกด้านนอกจะเป็นสีเขียว ส่วนด้านในจะเป็นสีเหลือง กาบหุ้มบนแห่งช่อดอกจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมากแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน และจะมีอยู่ 1 ช่อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,848

ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคาเป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างเลื้อยพันอื่นๆ ใบดาวอินคาเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10-12 เซนติเมตร กว้าง 8-10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-6 เซนติเมตร ดอกดาวอินคาดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 5,243

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,493