ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 19,072

[16.4258401, 99.2157273, ผักขี้หูด]

ผักขี้หูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus caudatus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus var. caudatus (L.) Hook. f. & T. Anderson) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักขี้หูด คงเป็นชื่อเรียกที่มาจากการเปรียบเทียบกับขี้หูดที่มีลักษณะขึ้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เนื่องจากฝักของผักชนิดนี้จะมีลักษณะขอดเป็นปุ่ม ๆ ยาวตลอดทั้งฝัก ชาวบ้านจึงนำลักษณะของผักชนิดนี้มาตั้งชื่อว่า “ผักขี้หูด” และด้วยความที่ว่ามีกลิ่นฉุน ผักขี้หูดจึงได้รับฉายานามว่าเป็น “วาซาบิเมืองไทย” นอกจากนี้ผักขี้หูดยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า ผักเปิ๊ก

ลักษณะของผักขี้หูด
        ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ
        ใบผักขี้หูด ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวอ่อน ออกเรียงสลับเป็นกระจุกที่ผิวดิน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปช้อนแกมรูปเส้น ใบจะอวบน้ำ ส่วนล่างของใบจะมีขอบใบที่เว้าหาเส้นกลางใบ ส่วนยอดสุดปลายจะมนหรือแหลม และมักมีขนาดใหญ่กว่า ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อยคล้ายกับใบผักกาด ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
        ดอกผักขี้หูด ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกยาวได้ประมาณ 10-50 เวนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ เป็นสีเขียว ส่วนกลีบมี 4 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วง สีม่วงอมชมพู หรือเป็นสีขาว ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เมื่อต้นผักขี้หูดเจริญเติบโตจนได้ที่แล้ว ก้านดอกจะแทงยอดขึ้นมาจากกอต้นเป็นก้านยาว และจะมีดอกพราวตลอดก้านตั้งแต่ยอดกิ่งถึงโคนกิ่ง โดยผักชนิดนี้จะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
        ผลผักขี้หูด หรือ ฝักขี้หูด ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลคล้ายฝักถั่ว มีขนาดเล็ก ฝักเป็นสีเขียวอ่อน ปลายฝักแหลม ฝักหยักเป็นคอดเว้าเป็นข้อ ๆ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ผนังด้านในของฝักจะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-10 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลมหรือค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร โดยผักชนิดนี้จะออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 

สรรพคุณของผักขี้หูด

  1. ฝักและใบช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ, ฝัก)
  2. เนื่องจากผักขี้หูดมีกลิ่นฉุน จึงนิยมนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรแก้หวัด (ฝัก)
  3. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (ใบ, ฝัก)
  4. ช่วยละลายนิ่ว (ใบ, ฝัก)
  5. ดอกเป็นยาช่วยขับน้ำดี (ดอก)
  6. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า

ประโยชน์ของผักขี้หูด

  • ดอกและฝักของผักขี้หูดสามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ทั้งสดและสุก โดยผักขี้หูดเมื่อสดหรืออ่อนจะมีรสชาติเผ็ดเล็กน้อย มีรสคล้ายกับรสมัสตาร์ด แต่เมื่อนำไปต้มหรือทำให้สุกก็จะออกรสหวานมัน คล้ายกับก้านดอกหอม มีรสอร่อย โดยนิยมรับประทานกันมากทางภาคเหนือ โดยอาหารเหนือจะมีความอร่อยเป็นพิเศษหากนำผักขี้หูดมาร่วมปรุงด้วย เช่น การทำแกงแค แกงส้มกับปลาช่อน แกงส้มพริกสดใส่มะเขือเทศ แกงป่ากับหมูสามชั้น แกงผักขี้หูดใส่มดแดง แกงผักขี้หูดกับแหนมใส่ไข่ หรือนำมาใช้ทำเป็นผัดผักขี้หูด เป็นต้น นอกนี้ยังรับประทานเป็นผักสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกอ่อง ฯลฯ
  • คุณค่าทางโภชนาการของผักขี้หูดต่อ 100 กรัมจะให้พลังงาน 30 แคลอรี, ไขมัน 1 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.6 กรัม, โปรตีน 1.8 กรัม, ใยอาหาร 0.9 กรัม, วิตามินซี 52 มิลลิกรัม, แคลเซียม 60 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 0.6 กรัม[2] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ต่อ 100 กรัม (ของดอกและฝักอ่อน) จะให้พลังงาน 15 แคลอรี, น้ำ 96.6%, โปรตีน 3.6 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, ใยอาหาร 0.6 กรัม, เถ้า 0.4 กรัม, วิตามินเอ 772 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1.10 มิลลิกรัม, วิตามินซี 125 มิลลิกรัม, แคลเซียม 44 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม
  • หากนำผักขี้หูดไปหมักผสมกับ EM ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นยาไล่แมลงได้

 

คำสำคัญ : ผักขี้หูด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักขี้หูด. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1681&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1681&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,828

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,662

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันไปบนต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีหนามแหลมโค้ง พอแก่แล้วหนามจะโค้งหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกลำต้นไว้ เป็นไม้ป่าของไทยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบประมาณ 6-9 คู่ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงๆ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,116

พญาดง

พญาดง

พญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,720

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,150

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,446

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักพบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 10,726

สกุณี

สกุณี

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา  ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,825

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,852

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,899