เต็งหนาม

เต็งหนาม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 3,715

[16.4258401, 99.2157273, เต็งหนาม]

เต็งหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia retusa (L.) A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bridelia spinosa (Roxb.) Willd., Clutia retusa L., Clutia spinosa Roxb.)[1],[2] ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
สมุนไพรเต็งหนาม มีชื่อเรียกอื่นว่า เปาหนาม (ลำปาง), ฮังหนาม (นครพนม), รังโทน (นครราชสีมา), เต็งหนาม (ราชบุรี), จาลีลึกป๊วก (เขมร-สุรินทร์), ว้อโบ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของเต็งหนาม
        ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร
        ใบเต็งหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขนาดใบที่ปลายกิ่งจะมีขนาดเล็กลงกว่าใบที่อยู่ถัดใบ ใบเรียงตัวในแนวระนาบ ยอดอ่อนมีขนสีเทา แต่ใบแก่ด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างมีขนหรือเรียบเกลี้ยง มีเส้นใบข้างตรงและขนานกัน 16-24 คู่ เส้นใบข้างจรดกับเส้นใบย่อยที่ขอบใบ เนื้อใบหนา ท้องใบมีขนนุ่มสีขาว ใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลออกชมพูก่อนทิ้งใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร ไม่มีต่อม มีหูใบแหลมขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
         ดอกเต็งหนาม ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงตามซอกใบ และมักออกตามปลายยอดกิ่งที่ใบหลุดร่วงเป็นส่วนใหญ่ ช่อดอกมีลักษณะยาวเรียว ช่อแน่น มีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 8-15 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ กลีบดอกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวออกเหลือง อาจพบที่มีประสีส้มหรือสีแดงบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแตกออกเป็นซี่ ๆ ก้านดอกมีลักษณะอ้วน ขนาดสั้นกว่า 2 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ แต่เกสรเพศเมียเป็นหมันเชื่อมเป็นแท่งตรงกลางดอก ขนาดประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายแท่งแผ่ออกเป็น 5 อับเรณู ส่วนดอกเพศเมียมีก้านชูเกสร 2 อัน ที่ปลายแยก รังไข่มีขนาดเล็กกว่า 1.5 มิลลิเมตร มีส่วนของหมอนรองดอกเป็นรูปคนโทปิดไว้ ส่วนกลีบเลี้ยงหนา มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
          ผลเต็งหนาม ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ แข็งและไม่แตก มีขนาดประมาณ 0.5-0.9 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีฟ้าอมม่วง เนื้อในบาง เป็นผลเมล็ดเดียว เมล็ดค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร จะติดผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของเต็งหนาม
1. ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นเต็งหนาม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมานอย่างแรง และใช้รากเข้ายาสมานท้อง แก้บิด แก้ท้องร่วง และใช้เป็นยาห้ามเลือด (เปลือกต้น, ราก)
2. ยาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะนำเปลือกต้นเต็งหนามมาปิ้งไฟ แล้วแช่น้ำเกลือ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
3. ตำรายาอายุรเวทของอินเดียจะนำใบเต็งหนามมาต้มกินเป็นยารักษาบิด และใช้ใบเป็นยารักษาโรคติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ (ใบ)
4. น้ำต้มจากเปลือกใช้กินเป็นยาสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (เปลือกต้น)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกินเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี (เปลือกต้น)
6. ใบเต็งหนามใช้ร่วมกับพืชอื่นและน้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันขิง ใช้เป็นยาทารักษาแผล (ใบ)
7. เปลือกต้นใช้ตำผสมกับผักเสี้ยนผีทั้งต้น และหัวแห้วหมู ทำเป็นลูกประคบแก้ปวดหัวเข่า (เปลือกต้น)
8. ยางจากเปลือกต้นนำมาผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาทาถูนวดแก้อาการปวดข้อ (ยางจากเปลือกต้น)
9. ในประเทศศรีลังกาจะใช้เปลือกต้นและรากเต็งหนามเป็นยารักษาโรคข้อรูมาติซึม และใช้เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น, ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเต็งหนาม
1. เปลือกต้นเต็งหนามพบสารในกลุ่ม bisabolane sesquiterpenes ได้แก่ (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1-hexenyl) benzoic acid, (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1,4-hexadienyl) benzoic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-4-hexenyl) benzoic acid, (-)-isochaminic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxohexyl) benzoic acid (ar-todomatuic acid) และสารอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ 5-allyl-1,2,3-trimethoxybenzene (elemicin), (+)-sesamin and 4-isopropylbenzoic acid (cumic acid)
2. สารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกต้นเต็งหนาม มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านเนื้องอก ไม่มีความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
3. สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบและต้นเต็งหนาม มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้โดยการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ในหลอดทดลอง
4. สารสกัดเมทานอลจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินปัสสาวะ ดังนี้ Staphylococcus aureus, Enterococcus faecalis, Enterobacter aerogenes, Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 1.51, 3.41, 3.41, 4.27 และ 9.63 mg/ml ตามลำดับ
5. สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อโรคพืช (Cladosporium cladosporioides)
6. สารไอโซฟลาโวนจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมลบและแกรมบวกได้หลายชนิด

ประโยชน์ของเต็งหนาม
1. ผลมีรสฝาด รับประทานได้ และเป็นอาหารของนก
2. ใบใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์
3. เปลือกต้นมีสารแทนนินที่ใช้ในทางเภสัชกรรม เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านไวรัสบางชนิด
4. เนื้อไม้เต็งหนามมีสีแดงขุ่น สามารถนำมาใช้ในงานการก่อสร้างได้ เช่น การใช้ทำเสา รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ทางอุตสาหกรรม

คำสำคัญ : เต็งหนาม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เต็งหนาม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1631&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1631&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 11,219

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,662

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,622

แครอท

แครอท

แครอทนับได้ว่าเป็นผักสารพัดประโยชน์ สามารถประทานได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ทั้งแบบอาหารคาวและอาหารหวาน ทั้งแบบเป็นชิ้นและแบบเป็นน้ำ แครอทเป็นผักคู่ครัวของของไทยไปแล้ว แครอทนอกจากมีรถชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากแครอท แต่ไม่รับประทานผัก น้ำแครอทน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะรสชาติดี รับประทานง่ายและจะทำให้ท่านได้รับประโยชน์จากแครอทอย่างเต็มที่

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,521

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,768

มะนาว

มะนาว

หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลมๆ สีเขียวลูกเล็กๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,760

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ

ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 8,946

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,430

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,231

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,806