กัดลิ้น
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,004
[16.4258401, 99.2157273, กัดลิ้น]
กัดลิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Walsura trichostemon Miq. จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)
สมุนไพรกัดลิ้น มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แก้วลาว (จันทบุรี), ขี้อ้าย (ลำปาง), ลำไยป่า (อุตรดิตถ์), มะค่าลิ้น (อุตรดิตถ์, ปราจีนบุรี)
ลักษณะของกัดลิ้น
ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา
ใบกัดลิ้น มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า
ดอกกัดลิ้น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ดอกกัดลิ้นมีขนาดเล็ก มีกลบเลี้ยง 5 กลีบมีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีขนสั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวนวล ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีความยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น มีเกสรตัวผู้ 10 อัน
ผลกัดลิ้น ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกผลจะเป็นสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อนๆ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยเมล็ดมีลักษณะกลม มีเยื่อนุ่มๆ หุ้มเมล็ดอยู่
สรรพคุณของกัดลิ้น
1. ผลสุกใช้รับประทานเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ (ผลสุก)
2. ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก)
3. ชาวอีสานใช้กัดลิ้นเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
4. กัดลิ้นช่วยห้ามเลือด ใช้ชำระล้างบาดแผล (เปลือก)
5. ช่วยสมานบาดแผล (เปลือก)
6. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (เนื้อผลสุก)
7. ช่วยแก้หิดสุกหิดเปื่อย ด้วยการนำมาต้มทั้งเปลือกทั้งแก่นผสมกับยาอื่น (แก่น, เปลือก)
8. ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ (ราก, ต้น)
9. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
ประโยชน์กัดลิ้น
1. ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้
2. ผลสุกนำมาใช้ทำส้มตำร่วมกับผลตะโก
3. เนื้อไม้หรือลำต้นใช้สำหรับการก่อสร้าง
4. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นฟืนที่ให้ความร้อนสูงได้
คำสำคัญ : กัดลิ้น
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กัดลิ้น. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1675&code_db=610010&code_type=01
Google search
ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้า เมื่อคนเราใช้มือและเท้าในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้า ก็จะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบายพิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกายจึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 13,810
ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,888
ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,361
ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง
- ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,027
ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 29,679
ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,056
ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,569
มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,996
ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 6,673
ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,879