ตองกง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 2,718
[16.4258401, 99.2157273, ตองกง]
ตองกง หรือ หญ้าตองกง ชื่อสามัญ Bamboo grass, Tiger grass
ตองกง ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem.) Honda (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Agrostis maxima Roxb., Thysanolaena maxima (Roxb.) Kuntze, Melica latifolia Roxb. ex Hornem.) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
สมุนไพรตองกง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าไม้กวาด หญ้ายูง (ยะลา), หญ้ากาบไผ่ใหญ่ (เลย), เลาแล้ง (สุโขทัย), ก๋ง ต้นก๋ง (คนเมือง, ภาคเหนือ), ตองกง (ไทใหญ่), เค่ยแม (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เควยะหล่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มิ้วฮูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ต้าวฉึเจ๋ (ม้ง), น่ำหยาว (เมี่ยน), ลำก๋ง ลำกร่อล (ลั้วะ), ตาร์ล (ขมุ), บ่งบิ๊ (ปะหล่อง) เป็นต้น
ลักษณะของตองกง
ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 7.6-17.6 มิลลิเมตร ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน[1],[2],[3] มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร
ใบตองกง ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ขนาดใหญ่ ค่อนข้างกว้าง โดยมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-55 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ส่วนขอบใบเป็นจักละเอียด เนื้อใบค่อนข้างหนา ส่วนกาบใบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณขอบตอนบนจะมีขนสั้น ๆ ส่วนกาบใบตอนปลายจะเป็นก้านสั้น ๆ ซึ่งเป็นสีแดงเข้ม มีลิ้นใบที่ระหว่างรอยต่อด้านในของกาบใบและแผ่นใบเป็นเยื่อบาง ๆ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และปลายตัด
ดอกตองกง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายและมีขนาดใหญ่ ปลายช่อดอกโค้งลง มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีก้านและมักอยู่เป็นคู่ ๆ ส่วนกาบช่อย่อยมี 2 อันลักษณะคล้ายกัน เป็นรูปไข่ โดยอันบนจะยาวและบางกว่าอันล่าง และในแต่ละช่อย่อยจะมีดอกย่อยอยู่ 2 ดอก และอาจมีถึง 3 ดอก แต่จะพบได้น้อยมาก ดอกล่างเป็นแบบไม่มีเพศ มีแต่กาบล่างและมีขนใกล้ ๆ ขอบ ส่วนดอกบนเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กาบล่างมีสันตามยาว 3 สัน ขอบทั้ง 2 ด้านบางใสและมีขนค่อนข้างแข็ง ส่วนกาบบนมีเส้นสันตามยาว 2 เส้น เนื้อบางและใส เกสรตัวผู้มี 2 อัน ส่วนเกสรตัวเมียปลายจะแยกเป็น 2 แฉก และเป็นขุย สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผลตองกง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีน้ำตาลแดง มีความยาวประมาณ 0.6 มิลลิเมตร
สรรพคุณของตองกง
1. รากตองกงนำมาต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้ (ราก)
2. ใบตองกงนำมาใช้กวาดแก้อาการไอของเด็กและผู้ใหญ่ (ใบ)
ประโยชน์ของตองกง
1. นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสารและเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ ได้ (เข้าใจว่าคือก้านช่อดอก)
2. ใช้ทำเป็น "ไม้กวาดตองกง" โดยใช้ก้านช่อดอกนำมาตากแห้งนำมามัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำเป็นไม้กวาด ส่วนดอกนำมาถักยึดกับด้ามไม้ใช้ทำเป็นไม้กวาด
3. ใบสามารถนำมาใช้ห่อขนม ห่อข้าวต้ม ห่อข้าวเหนียวนึ่งได้
4. ใบนอกจากจะใช้ห่อขนมแล้ว ยังนำมาใช้ในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย เช่น พิธีการผูกข้อมือ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
5. ในต่างประเทศอย่างอเมริกา แอฟริกา และทางยุโรป พบปลูกเป็นหญ้าประดับและนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ
6. ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ตามธรรมชาติ โดยการแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง และสัตว์ป่าอื่น ๆ โดยใบและยอดอ่อนนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ เส้นใย 15.9%, ไขมัน 2.7%, เถ้า 5.6%, โปรตีน 10.9%, ธาตุแคลเซียม 0.1%, ธาตุฟอสฟอรัส 0.38% และแทนนิน 1.01%
คำสำคัญ : ตองกง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตองกง. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1622&code_db=610010&code_type=01
Google search
แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,033
ต้นกระจับเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ใบกระจับมี 2 แบบ คือ ใบใต้น้ำเป็นเส้นยาวคล้ายราก ส่วนใบลอยน้ำรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างมีสีแดง ก้านใบยาวตรงกลางพองออก ดอกกระจับเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานเหนือน้ำ ผลกระจับเมื่อเป็นผลจะจมลงใต้น้ำ ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งเขางอโค้งคล้ายเขาควาย กระจับชนิดนี้มีปลายเขาแหลม
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,353
ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,634
ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,960
ต้นกระเจี๊ยบมอญเป็นไม้ล้มลุก สูง 5-2 เมตร มีขนทั่วไป ใบกระเจี๊ยบมอญเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 เซนติเมตร ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้นดอกกระเจี๊ยบมอญมีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 เซนติเมตร หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,521
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม. ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,896
ลักษณะทั่วไป เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ แตกหน่อ ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,210
หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,452
หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,784
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,008