พะยอม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,838
[16.4534229, 99.4908215, พะยอม]
ลักษณะสมุนไพร :
พะยอมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่าศุนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็กหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมีปีก 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด
สรรพคุณทางยา :
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ดอก และ เปลือกต้น
ดอก แก้ไข้ ยาหอมไว้แก้ลม บำรุงหัวใจ
เปลือกต้น สมานแผลลำไส้ แก้ท้องเดิน ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ สมานบาดแผล ชำระบาดแผล
ภาพโดย : http://www.google.com
คำสำคัญ : สมุนไพร
ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พะยอม. สืบค้น 11 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=53&code_db=610010&code_type=01
Google search
ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,417
ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นสั้น ไม่กลมเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น เป็นปุ่มปมและพูพอน แตกกิ่งแขนงต่ำ กิ่งแขนงคดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีน้ำตาลแดงเรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปกรวยหรอรูปร่มทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทา ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับตามปลายกิ่ง ช่อใบยาว 20-40 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับออกจากลำต้นตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 1-4 คู่ คู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดยาวและใหญ่สุด ขนาดใบกว้าง7-8 ซม. ยาว 16-24 ซม. แผ่นใบลักษณะ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบ เนื้อใบหนา ปลายใบมน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 21,281
พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,281
จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,217
ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,115
ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,047
สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,732
มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา
เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,797
ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,259
หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,600