ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,794

[16.2851021, 98.9325625, ประเพณีโล้ชิงช้า]

       ประเพณีโล้ชิงช้า (แย้ขู่อ่าเผ่ว)จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” ชนเผ่าอาข่าถือว่าประเพณีนี้เป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของชนเผ่าอาข่าอีกมากมาย ทั้งยังเป็นประเพณีทีให้ความสำคัญกับผู้หญิง ผู้หญิงอาข่าจะพร้อมใจกันแต่งกายด้วยเครื่องทรงต่างๆ อย่างสวยงามเป็นกรณีพิเศษในเทศกาลนี้ เพื่อยกระดับชั้นวัยสาวตามขั้นตอน แสดงให้คนในชุมชนได้เห็น พร้อมทั้งขึ้นโล้ชิงช้า และร้องเพลงทั้งลักษณะเดี่ยวและคู่ ในการจัดประเพณีโล้ชิงช้าแต่ละปีของอาข่า จะต้องมีฝนตกลงมา ถ้าปีไหนเกิดฝนไม่ตก อาข่าถือว่าไม่ดี ผลผลิตที่ออกมาจะไม่งอกงาม มีระยะเวลาในการจัดรวม 4 วันด้วยกัน ดังนี้
       วันที่ 1 จ่าแบ: เป็นวันแรกของพิธีกรรม ผู้หญิงอาข่าจะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าเต็มยศแล้วออกไปตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยน้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ อาข่าเรียกว่า "อี๊จุอี๊ซ้อ" และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก “ห่อถ่อง” ข้าวปุ๊ก หรือห่อถ่อง คือ ข้าวที่ได้จากการตำอย่าง ละเอียด โดยก่อนที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จหรือได้ที่แล้ว ก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่งแล้วก็นึ่งต่อ ระหว่างที่รอข้าวสุกจะมีการตำงาดำผสมเกลือไปด้วย เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้นข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำพิธีเช่นกัน
       วันที่ 2 วันสร้างชิงช้า: เป็นวันที่ทุกคนจะมารวมตัวกันที่บ้านของผู้นำศาสนา “โจว่มา” เพื่อจะปรึกษาและแบ่งงานในการจะปลูกสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน หรือเรียกว่า “หล่าเฉ่อ” ในวันนี้จะไม่มีการทำพิธีใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งสัตว์ก็จะไม่ฆ่า หลังจากที่สร้างเสร็จจะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้าโดย “โจว่มา” จะเป็นผู้เปิดโล้ก่อน จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ได้ นอกจากนี้ทุกครัวเรือนจะต้องสร้างชิงช้าเล็กไว้ที่หน้าบ้านของตนเองอีกด้วย เพื่อให้ลูกหลานของตนเล่นด้วย เพราะถือว่าเป็นพิธี
       วันที่ 3 วัน ล้อดา อ่าเผ่ว: ถือเป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือน พร้อมทั้งมีการเชิญผู้อาวุโส หรือแขกต่างหมู่บ้านมาร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน
       วันที่ 4 จ่าส่า: เป็นวันสุดท้ายของพิธีกรรม สำหรับในวันนี้จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไรทั้งสิ้น นอกจากพากันมาโล้ชิงช้า เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะได้โล้ในปีนี้ แต่พอตะวันตกดิน หรือประมาณ 18.00 น. ผู้นำศาสนาก็จะทำการเก็บเชือกของชิงช้า โดยการมามัดติดกับเสาชิงช้า ถือว่าบรรยากาศในการโล้ชิงช้าก็จะได้จบลงเพียงเท่านี้ และหลังอาหารค่ำก็จะทำการเก็บเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เข้าไว้ที่เดิม ถือว่าเสร็จสิ้นพิธีกรรม

ภาพโดย : https://www.innnews.co.th/images/news/2013/6/478983-03.jpg

คำสำคัญ : โล้ชิงช้า

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/akha.html#Cultural

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีโล้ชิงช้า. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=169&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=169&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,980

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 8,669

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญได้แก่ มารยาทการเยี่ยมบ้าน แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 25

ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน

ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน

ภาพสวยงามในอดีตที่ยังคงตรึงอยู่ในหัวใจม้งทุกคน นั่นคือชุดม้งที่ยายชราสวมใส่อยู่ เป็นชุดม้งที่ม้งทุกคนต้องสวมใส่ตลอด แต่ปัจจุบันภาพสวย ๆ งาม ๆ เหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากสังคมม้ง ส่วนใหญ่จะพบภาพที่สวยในแบบฉบับปัจจุบันนี้ คือ ภาพสองตายาย แต่งชุดทันสมัยใหม่ แม้ว่าจะเป็นชุดลำลองอยู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อสวมใส่แล้วรู้สึกสบายมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในเวลาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ม้งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้มานุ่งเสื้อผ้าสมัยใหม่ เนื่องจากเสื้อผ้าชุดม้งนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมากกว่า และต้องนำมาตัดเย็บเป็นชุดใหม่ กว่าที่จะตัดเย็บเรียบร้อยใช้เวลานาน และเสื้อผ้าม้งนั้นมีความหนามาก ดังนั้นเวลาสวมใส่หน้าร้อนจะยิ่งเพิ่มความร้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวเอง และอีกเหตุผลหนึ่ง คือเวลาเข้าสังคมกับคนอื่นแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นม้งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น  

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 31

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,459

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแล คนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 22

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,106

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,479

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 35

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 892