กกกันดาร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 1,902
[16.4258401, 99.2157273, กกกันดาร]
ชื่ออื่นๆ : กกกันดาร, หญ้าแฝกดำ, หญ้าเวียน(อุบลราชธานี), หญ้ากงจักร, เข็มพ่อหม้าย, เส้นขนพันธุรัตน์, หญ้าขนตาช้าง, หญ้าเข็มนาฬิกา, หญ้าพุ่งชู้, หนวดฤาษี, หนวดเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fimbristylis insignis Thwaites.
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้นกกกันดารเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าสั้น หนา ไม่ค่อยแตกแขนงออกไป ลำต้นเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบเกลี้ยง สูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ออกเป็นกอแน่นต้นเดียว ไม่ออกรวมเป็นกระจุกกันหลายต้น
ใบกกกันดารลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบลำต้น มองเห็นเป็นวงใกล้พื้นดิน ใบบิดหมุนเป็นเกลียวที่ส่วนปลายคล้ายกงจักร แผ่นใบรูปแถบถึงรูปเคียว กว้าง 1-4 มิลลิเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายใบกลม หลังใบเป็นมันเกลี้ยง ขอบใบเรียบ เป็นคลื่น มีขนสาก ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบตอนโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น กาบใบสีเขียวอ่อน
ดอกกกกันดารลักษณะดอก เป็นช่อแบบช่อแยกแขนง รูปทรงกระบอกแบน ขนาด 2-4 เซนติเมตร อาจแยกออกได้ 3-5 แขนง ช่อย่อยแบบช่อเชิงลด แต่ละแขนงมีดอกย่อยมาก จำนวน 10 ดอก หรือ มากกว่า มีขนาดกว้าง 4 มิลลิเมตร ยาว 10-20 มิลลิเมตร รูปกระสวยแกมทรงกระบอก กาบช่อย่อย (glume) รูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม เรียงซ้อนเหลื่อมกันเป็นวง รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร ส่วนปลายเป็นติ่งหนาม ใบประดับเป็นเกล็ด 2-3 อัน ยอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ก้านชูยอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ขนาด 4-5 มิลลิเมตร ส่วนฐานพองออก ส่วนปลายมีขนครุย ไม่เชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ 3 อัน รูปขอบขนาน ขนาด 2 มิลลิเมตร
ผลกกกันดารลักษณะผล แห้งไม่แตก ขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมกลับถึงรูปไข่กลับ กว้าง 8-1 มิลลิเมตร ยาว 1-1.25 มิลลิเมตร เปลือกแข็ง มีสามสัน ปลายตัด เมื่อแก่มีสีออกเทาดำ มีเมล็ดเดียว ออกดอกและติดผลราวเดือนมิถุนายน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น
สรรพคุณ กกกันดาร : ทั้งต้นมีรสจืด ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ
คำสำคัญ : กกกันดาร
ที่มา : https://www.samunpri.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กกกันดาร. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1528&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,054
จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,180
โหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,523
เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,203
ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,868
สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ มักจะอยู่ใกล้ ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สับปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำ สีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,805
ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,605
ลูกใต้ใบ หรือ หญ้าใต้ใบ ที่ทุกคนรู้จัก เป็นยาสมุนไพรที่มีผลทางยาหลายประการ ลูกใต้ใบมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หมากไข่หลัง ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีทุกภาคของประเทศไทย หญ้าใต้ใบมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาและแอฟริกา
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,856
ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,267
ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,622