เห็ดหลินจือ
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 1,759
[16.4258401, 99.2157273, เห็ดหลินจือ]
หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของเห็ดหลินจือ
สำหรับลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดหลินจือนั้นจะมีรูปร่างเหมือนหรือคล้ายกับไตของเรามีสีแดงอมน้ำตาลๆ หรืออาจเป็นสีม่วงแก่ก็มี บริเวณหมวกเห็ดจะมีลายคล้ายๆ วงแหวนมันๆ วาวๆ อยู่ เนื้อแข็งเหมือนกับไม้ ส่วนบริเวณปลายนอกของหมวกเห็ดนี้จะเป็นสีขาว หรืออาจเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ก็ได้ ซึ่งมีลักษณะบางและม้วนเข้าด้านในหน่อยๆ และตรงบริเวณก้านของดอกเห็ดหลินจือนี้จะเป็นสีน้ำตาลอมแดง
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหลินจือ
1. ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บหรือป่วยง่าย
2. ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ไม่หมองคล้ำ
3. ช่วยบำรุงระบบสายตาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นโรคตาเสื่อม
4. ช่วยรักษาอาการปวดตามไขข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย
5. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดได้ดี
6. ช่วยแก้อาการไมเกรน หรือปวดศีรษะข้างเดียว
7. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารเกิดภาวะสมดุล ไม่ป่วยด้วยโรคกระเพาะ หรือท้องผูก รวมทั้งริดสีดวงทวาร
8. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติในร่างกาย
9. ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ (HIV) ให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น
10. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน
11. ช่วยทำให้เลือดในร่างกายสามารถหมุนเวียนได้ดีอย่างสมดุล
12. ช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย และต้านทานความแก่ชรา
13. ช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความจำดีขึ้น ห่างไกลอัลไซเมอร์
ตัวอย่างเมนูอาหารของเห็ดหลินจือ
เนื่องจากเห็ดหลินจือนั้นค่อนข้างแข็ง และไม่สามารถเคี้ยวได้ จึงไม่นิยมนำเห็ดชนิดนี้มาประกอบเป็นเมนูอาหารรับประทานกัน แต่จะทานกันในรูปแบบของการชงดื่ม หรือต้มดื่ม เป็นน้ำสมุนไพรเห็ดหลินจือ หรืออาจผสมกับโสมต้มดื่ม เป็นต้น รวมทั้งที่บรรจุเป็นเม็ดแคปซูลมากกว่า
ซึ่งเห็ดหลินจือในประเทศไทยของเรานั้นก็สามารถพบเห็นได้ในธรรมชาติเรียกว่าแทบทุกภูมิภาคกันเลยทีเดียว และนอกจากคุณประโยชน์ในด้านอาหารแล้ว ยังมีสถาบันวิจัยต่างๆ ทำการศึกษาและนำเห็ดหลินจือนี้ไปใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ อีกด้วย นับเป็นสมุนไพรจีนที่ทรงคุณค่าและประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว
คำสำคัญ : เห็ดหลินจือ
ที่มา : https://www.samunpri.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เห็ดหลินจือ. สืบค้น 19 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1526&code_db=610010&code_type=01
Google search
เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 20,856
ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,482
หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 16,492
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,847
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล มีใบย่อย 18-27 คู่ ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม. ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 2,047
ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,856
ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,982
ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,766
ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,339
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2เมตร อายุหลายปี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกน สามเหลี่ยมกว้าง 3-7 ซม. ยาว6-12ซม.ขอบใบหยัก ดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบ ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อันอยู่ภายในหลอดดอกเมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย แบนส่วนปลายมีขนยาวสีขาว เป็นพืชพื้นดินเดิมของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง1,500เมตร
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,180