เห็ด

เห็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 14,818

[16.4258401, 99.2157273, เห็ด]

        หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
        เห็ด (Mushroom) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีมาช้านานและยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดสดหรือเห็ดตากแห้ง รวมทั้งชนิดบรรจุกระป๋องด้วย และเห็ดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว แต่หลักๆแล้วจะมีการจำแนกกลุ่มของเห็ดออกเป็น 3 กลุ่มคือ    
        1. เห็ดชนิดที่รับประทานได้นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพกัน อาทิ เห็ดนางฟ้า, เห็ดฟาง, เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม, เห็ดโคน, เห็ดเข็มทอง ฯลฯ
        2. เห็ดที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีสรรพคุณทางยา อาทิ เห็ดหอม หรือเห็ดหลินจือ ฯลฯ
        3. เห็ดพิษที่ไม่สามารถรับประทานได้และอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาทิ เห็ดระโงกหิน, เห็ดจิก, เห็ดจวักงู, เห็ดสน, เห็ดหมึก, เห็ดหิ่งห้อย ฯลฯ

เห็ดคืออะไร?
         สำหรับนักจุลชีววิทยานั้นจะถือว่าเห็ดนั้นจัดเป็นเชื้อราชั้นสูงชนิดหนึ่ง แต่สำหรับนักเกษตรแล้วกลับมองว่าเห็ดเป็นพืชชั้นต่ำ เพราะไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งเห็ดนั้นจะมีการเพาะพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มใยราจนกระทั่งเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอกเห็ด ซึ่งมีสีสันและรูปร่างของดอกเห็ดตามแต่ละชนิดของสายพันธุ์เห็ดต่างๆ

เห็ดมีส่วนประกอบหรือโครงสร้างดังนี้     
       1. หมวกเห็ด คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของเห็ด ซึ่งมีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกไป
       2. ก้านเห็ด คือ บริเวณที่ติดเป็นเนื้อเดียวกับดอกเห็ด ซึ่งคอยรองรับดอกเห็ดให้ชูขึ้นด้านบน
       3. ครีบเห็ด คือ บริเวณที่ทำให้เกิดสปอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ อยู่ตรงใต้หมวกเห็ด
       4. วงแหวน คือ บริเวณที่เกิดจากเนื้อเยื่อบางๆ ที่ยึดระหว่างก้านดอกกับขอบหมวกเห็ดขาดออกจากหมวกเห็ดเมื่อบาน
       5. เยื่อหุ้มดอกเห็ดหรือเปลือก คือ บริเวณส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดที่ทำหน้าที่หุ้มหมวกเห็ดและก้านไว้ เมื่อยังเป็นดอกอ่อนอยู่ และจะเริ่มปริหรือแตกออกเมื่อดอกเห็ดเริ่มขยายหรือบานออก แต่ยังคงมีเยื่อหุ้มอยู่
บริเวณโคนของเห็ด เพราะเป็นส่วนที่ไม่ได้มีการขยายตัวออก
       6. เนื้อเห็ด คือ ส่วนที่อยู่ภายในของหมวกเห็ด ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย เปราะ เหนียว และนุ่ม

สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ด
       เห็ดนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ด หรือคุณค่าทางอาหารจึงมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของเห็ด แต่โดยรวมแล้วเห็ดมีประโยชน์มากมาย เป็นได้ทั้งอาหารและสมุนไพรรักษาโรค บำรุงร่างกาย ดังนี้
       1. ช่วยต่อต้าน ป้องกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายของเราที่จะก่อเกิดโรคมะเร็งต่างๆขึ้นได้
       2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือดได้ดี
       3. ช่วยให้การทำงานของระบบตับ, ไต และหัวใจ ทำงานได้เป็นปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
       4. มีสารอนุมูลอิสระที่ช่วยให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยง่าย
       5. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และปรับสภาพความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
       6. มีไฟเบอร์และกากใยอาหารสูง ทำให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดี และไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร, โรคกระเพาะ หรือมะเร็งลำไส้
       7. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจาง
       8. ช่วยสมานแผล และลดอาการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ
       9. ช่วยให้ระบบสมองและประสาททำงานได้ดี
       10. ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกายดี
       11. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน และโรคภูมิแพ้
       12. ช่วยให้ร่างกายไม่อิดโรย มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า
       13. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรังได้
       14. ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใส ไม่หมองคล้ำ และดูมีน้ำมีนวล
       15. ช่วยขับสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ ในตับออกจากร่างกาย
       16. เป็นยาอายุวัฒนะ

คุณค่าทางอาหารของเห็ด
       สำหรับเห็ดนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากๆ และไม่มีไขมัน หรือคอเลสเตอรอล เรียกว่าเป็นได้ทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก อาทิ
       1. มีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ
       2. ซีลีเนียม เป็นตัวช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และยับยั้งการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็ง เรียกว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ใกล้เคียงกับวิตามินอีเลยทีเดียว
       3. โพแทสเซียม เป็นตัวที่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล เพราะจะเข้าไปทำให้กระบวนการในระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน และควบคุมในเรื่องของจังหวะการเต้นของหัวใจด้วย
       4. ไนอะซิน ก็จะเป็นตัวควบคุมการทำงานในระบบการย่อยอาหารในกระเพาะ รวมทั้งระบบประสาทต่างๆ ได้ดีด้วย
       5. ไรโบฟลาวิน สารอาหารนี้ก็จะเป็นตัวช่วยในเรื่องของสายตาการมองเห็ด และบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ไม่อิดโรย
       6. วิตามินบีรวม ซึ่งก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น และผ่อนคลายความตึงเครียดให้แก่ร่างกาย
       ซึ่งนอกจากเห็ดโดยรวมแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ในตัวเองอย่างมากมายแล้ว การนำเห็ด 3 อย่างขึ้นไป มาต้มรับประทานพร้อมกัน ก็จะยิ่งทำให้ได้ประโยชน์มากกว่าการรับประทานเห็ดเพียงชนิดเดียว เนื่องจากเมื่อนำเห็ด 3 อย่างมารวมกันจะทำให้เกิดค่าของกรดอะมิโนซึ่งอยู่ในระดับที่สามารถต้านทานหรือต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายได้ รวมทั้งขับสารพิษและสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกายของเราออกมาได้ ซึ่งเห็ด 3 อย่างนี้เราก็สามารถเลือกรับประทานกันได้ตามชอบใจ ขอเพียงให้ได้เป็นเห็ด 3 ชนิดมาประกอบอาหารด้วยกันเท่านั้น

รายชื่อเห็ดที่สามารถนำมารับประทานได้
     - เห็ดนางฟ้า หรือเห็ดนางฟ้าภูฏาน หรือ เห็ดนางรมภูฏาน
     - เห็ดนางรมดอย
     - เห็ดนางรมทอง
     - เห็ดนางรมหลวงหรือ เห็ดเอริงงิ
     - เห็ดนางรมฮังการี
     - เห็ดหูหนู
     - เห็ดฟาง
     - เห็ดหลินจือ
     - เห็ดโคน
     - เห็ดโคนน้อย หรือ เห็ดถั่ว
     - เห็ดโคนหลวง หรือ เห็ดชิเมะจิน้ำตาล
     - เห็ดชิเมะจิขาว
     - เห็ดโคนญี่ปุ่นหรือ เห็ดยะนะงิ
     - เห็ดด่าน
     - เห็ดระโงก
     - เห็ดทรัฟเฟิลขาว
     - เห็ดเข็มเงิน
     - เห็ดเข็มทอง
     - เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก
     - เห็ดหอมหรือ เห็ดชีตะเกะ
     - เห็ดขอน
     - เห็ดขอนขาว
     - เห็ดขอนดำ
     - เห็ดกระดุมหรือ เห็ดแชมปิญอง
     - เห็ดเผาะ
     - เห็ดเป๋าฮื้อ
     - เห็ดปุยฝ้ายหรือ เห็ดหัวลิง
     - เห็ดลม หรือ เห็ดกระด้าง หรือ เห็ดบด
     - เห็ดจาวมะพร้าว
     - เห็ดตับเต่า
     - เห็ดตะไคล
     - เห็ดตีนแรด
     - เห็ดกระถินพิมาย
     - เห็ดขิง
     - เห็ดบด
     - เห็ดไมตาเกะ
     - เห็ดมันปูใหญ่
     - เห็ดลม
     จะเห็นได้ว่าเห็ดนั้นจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง แถมยังมีรสชาติที่อร่อย นุ่ม ลื่นลิ้น และยังเป็นอาหารที่หารับประทานกันได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป หรือซูเปอร์มาร์เก็ดต่างๆ แต่ทั้งนี้ การรับประทานเห็ดก็ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะหากรับประทานมากเกินไปจากที่จะได้ประโยชน์อาจกลายเป็นโทษแทนได้

 

คำสำคัญ : เห็ด

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เห็ด. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1523&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1523&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,835

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 7,012

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ (Lemon Grass) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เยี่ยงเฮื้อ และภาคอีสานเรียก สิงไค เป็นต้น ซึ่งตะไคร้นั้นเป็นพืชสมุนไพรที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อิน พม่า ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย โดยนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ รับประทาน นับเป็นสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนนิยมปลูกในบ้าน เรียกได้ว่าเป็นพืชผักสวนครัวก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นทั้งยารักษาโรคแถมยังมีวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมายเลยทีเดียว โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบในอาหารของไทยอย่างต้มยำที่หลายๆ คนชอบรับประทานกัน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,812

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,804

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,071

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,028

กันเกรา

กันเกรา

กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,825

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,837

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,257

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 2,446