การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 4,591

[16.4854533, 99.494347, การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร]

              จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน 
              สมัยประวัติศาสตร์เริ่มจากสมัยสุโขทัย จุดเริ่มต้นการแต่งกายของสตรีชั้นสูงชาวกำแพงเพชรสัณนิษฐานจากรูปปั้นเทวสตรีที่พบบริเวณศาลพระอิศวร สมัยอยุธยาเท่าที่พบหลักฐาน พ.ศ. 2053 น่าจะมีจุดกำเนิดการแต่งกายจากเทวรูปพระ อิศวร และการแต่งกายของชาวอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้น สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พบจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ พระองค์เสด็จประพาสต้นเมือองกำแพงเพชร พ.ศ. 2449 ทรงถ่ายภาพชาวกำแพงเพชรจำนวนมาก
              ลักษณะของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากหลักฐานที่พบลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้าย การแต่งกายของพวกขอมหรือเขมรโบราณ ต่อมาในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชมีชาวตะวันตกเข้ามามาก ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชาวตะวันตกมากขึ้น โดยมีราชสำนัก ขุนนาง ข้าราชการเป็นผู้นำเข้ามา สำหรับลักษณะการแต่งกายของราษฎรในแต่ละสมัยไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์บ้านเมือง ฐานะและตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย มีส่วนทำให้การแต่งกายมีความเท่าเทียมกันประกอบกับค่านิยมต่างชาติ โดยเฉพาะตะวันตก จึงมีลักษณะการแต่งกายตามแฟชั่นและแต่งกายตามนโยบายรัฐ ในหมู่ของข้าราชการ สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรมีดังนี้ 
              1.  แต่งกายตามฐานะ  
              2.  แต่งกายตามเทศกาล
              3.  แต่งกายตามนโยบายรัฐ
              4.  แต่งกายตามสภาพดินฟ้าอากาศ
              5.  แต่งกายตามค่านิยม
              6.  แต่งกายตามแฟชั่น
              7.  แต่งกายตามอาชีพ

              การแต่งกายที่สูญหายไป และสาเหตุของการสูญหาย
              การแต่งกายของหญิงสาวชาวกำแพงเพชร ที่สูญหายไปไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ยัง มีบางคนต้องการฟื้นฟูจึงนำมาแต่งบ้างในโอกาสสำคัญ เช่น งานประเพณีสำคัญ กิจกรรมใน โอกาสพิเศษ ได้แก่ 
              1. การนุงผ้าซิ้นหรือผ้าถุงของหญิงสาว 
              2. การนุ่งโจงกระเบน ของผู้ชายและผู้หญิง
              3. การนุ่งผ้าจีบหน้านางของผู้หญิง
              4. การห่มผ้าสไบและผ้าแถบของผู้หญิง
              5. การสวมหมวกกะโล่ของผู้ชาย และกางเกงแพร ขณะออกนอกบ้าน
              6. เด็กผู้หญิงขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน
              7. การไว้ผมจุกของเด็กผู้หญิง
              8. การสวมตะปิ้งของเด็กผู้หญิง
              9. การสวมกำไลลูกกระพรวนข้อมือและข้อเท้าของเด็กเล็กที่หญิงและชาย
              10. การนุ่งและโพกผ้าขาวม้าของผู้ชาย
              11. การนุ่งกางเกงจีนของผู้ชาย

              สาเหตุของการสูญหาย 
              1. ไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน 
              2. นิยมการแต่งกายตามแฟชั่น ซึ่งมีสื่อหลากหลายที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วทั่วถึง
              3. ค่านิยมตะวันตก 
              4. ความทันสมัยของเทคโนโลยี
              5. ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
              6. ล้าสมัย

              การกำเนิดการแต่งกายในปัจจุบัน มีการกำเนิด ลักษณะและสาเหตุดังนี้ 
              1. แต่งกายในสมัยเก่าล้าสมัยไม่เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน เช่น การคมนาคม สมัยโบราณไปมาหาสู่กันด้วยการเดินเท้า ใช้สัตว์เป็นพาหนะ การแต่งกายไม่ต้องรัดกุมมากนัก 
              2. ความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้การติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว การลอกเลียนแบบการแต่งกายของตะวันตกทำได้ง่ายมากขึ้น 
              3. ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป 
              4. การประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้น 
              5. ความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญ ทำให้ทุกคนมีสิทธิในการแต่งกาย ไม่แยกชนชั้น แต่งตามฐานะทางเศรษฐกิจ

ภาพโดย : http://www.kamphaengphet.go.th/kp/images/stories/flexicontent/item_273_field_19/l_25590411-1.jpg

คำสำคัญ : การแต่งกาย

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NH.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=152&code_db=DB0011&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=152&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 766

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,477

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,304

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 20,209

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,280

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,113

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,775

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 20,958

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 2,000

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,711