ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 5,348

[16.4999154, 99.6318519, ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         งานประเพณีบุญบั้งไฟถือเป็นประเพณีของชาวอีสานได้จัดสืบทอดกันมาแต่โบราณเพื่อเป็นการขอฝนให้ตกตามฤดูกาลและให้การเกษตรได้ผลอุดมสมบูรณ์ โดยทั่วไปชาวอีสานนิยมทำบุญตามความคติคำสั่งสอนของโบราณที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ ประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ซึ่งเป็นแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้คนอีสานยึดมั่นในการทำบุญตามจารีตประเพณี ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ มาเป็นเวลานาน คือทำบุญทุกเดือนในรอบ 1 ปี สำหรับเดือนหก (พฤษภาคม) ฤดูฝนก็จะเริ่มและวันเพ็ญเดือนหก ก็เป็นวันวิสาขบูชา ชาวบ้านจึงทำบุญระลึกถึงพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็มี ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ 2) ประเภทของบั้งไฟ 3) ความสำคัญของประเพณีบุญบั้งไฟ 4) การทำบั้งไฟ

ประวัติความเป็นมา
         ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมีหมู่บ้านจำนวน 16 หมู่บ้านมีจำนวนประชากรประมาณ 4,384 คน ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา ทำสวน ทอผ้า จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีบุญบั้งไฟตามแบบของภาคอีสานติดตามมาด้วย โดยมีความเชื่อว่า ประเพณีบุญบั้งไฟนี้จะทำให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลพอเริ่มเข้าเดือนหกต่อเดือนเจ็ดซึ่งอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ชาวบ้านจะมีการเตรียมงานใหญ่ คือ ประเพณีบุญบั้งไฟคำว่า “บุญ” ของชาวอีสานหมายถึงการจัดงานต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัดพระสงฆ์และชาวบ้านมาจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟจึงมักเริ่มขึ้นที่วัดก่อนโดยมีชาวบ้านมาประชุมเพื่อหาวันจัดงาน เมื่อได้กำหนดวันแล้วมีการบอกบุญไปยังหมู่บ้าน ต่าง ๆ เพื่อให้มาร่วมงาน โดยนำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกันและมีกิจกรรมการประกวดขบวนแห่สวยงาม
         สรุปได้ว่า ชาวบ้านตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา ทำสวน ทอผ้า จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีบุญบั้งไฟ โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล
         บุญบั้งไฟของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มจัดงานตั้งแต่ปี 2513 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมในการจัดงานเทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลจะเชิญประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มแกนนำประชาชน คณะครูอาจารย์และหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานในตำบล เข้าร่วมประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดวันดำเนินการประธานจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟให้ชาวบ้านได้รับรู้ โดยผู้นำและชาวบ้านได้มีการประชุมเพื่อจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ และกิจกรรมต่างๆในงานบุญบั้งไฟ และมีการประกวดบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก (6) ของทุกปี การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ จะแบ่งออกเป็น 2 วันดังนี้
         วันแรกของงาน ณ สนามกีฬาเทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล หมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พิธีเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟจะมีการแสดงสาธิตขบวนแห่บั้งไฟจากเครือข่ายต้นตำหรับจากภาคอีสาน มีการรำถวายพญาแถน โดยใช้เพลง ลายเซิ้งบั้งไฟ เป็นดนตรีอีสานให้แต่ละหมู่บ้านคัดนางรำมารำถวายโดยในขบวนจะมีนางรำและขบวนรถบั้งไฟเอ้จากเครือข่ายและที่ชาวบ้านช่วยกันทำในแต่ละหมู่บ้านส่งเข้าประกวดเพื่อชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัล

ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วย
         1. ตัวพระนาง เป็นรูปลักษณ์สื่อถึงผาแดงนางไอ่ หรือตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษณ์ พระราม เป็นต้น
         2. กระรอกเผือก (กระรอกด่อน) ท้าวพังคี แปลงร่างมาเพื่อให้นางไอ่หลงใหล
         3. ปล้องคาด ลายรักร้อย ลายลูกพัดใบเทศ ลายลูกพัดขอสร้อย เป็นต้น
         4. เกริน เป็นส่วนที่ยื่นออกสองข้างของบุษบก เป็นรูปรอนเบ็ดลายกนก สำหรับตั้งฉัตรท้ายเกริน ราชรถประดับส่วนท้ายของหางบั้งไฟ
         5. บุษบก เป็นองค์ประกอบไว้บนราชรถ เพื่อสมมุติให้เป็นปราสาทผาแดงนางไอ่
         6. ต้างบั้งไฟ ลายกระจังปฏิญาณ ลายก้านขด ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
         7. ลายประกอบตกแต่งอื่น ๆ ลายกระจังตั้ง กระจังรวน กระจังตาอ้อย ลายน่องสิงห์ บัวร่วน กลีบขนุน (รัตนพร สุขประดิษฐ์ และ ภัททิยา ทองไทย, 2561)
         วันที่สองของงาน ณ ฐานจุดบั้งไฟหมู่ที่ 5 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ภายในงานจะมีร้านค้าต่างๆ มีการแสดงมหรสพสมโภชน์ (หมอลำพื้นบ้านอีสาน) และการแข่งขันบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านเพื่อชิงรางวัลพิธีปิดจะมีการจุดบั้งไฟแสนจำนวน 5 บั้ง การจุดบั้งไฟล้านจำนวน 1 บั้ง  การจุดตะไลแสนจำนวน 3 บั้ง เพื่อเป็นสัญญาณในการปิดการแข่งขันที่มา (สะอาด หลักชัย, การสัมภาษณ์, 6 กันยายน 2564)
         จากหลักการข้างต้นเทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลจึงจัดทำโครงการงานประเพณีบุญบั้งไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2513 ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนาน มาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพญาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี (อนุวัฒน์ จันเทพา, 2556) 

ประเภทบั้งไฟ
         บั้งไฟล้าน
         บั้งไฟล้านใหญ่กว่าบั้งไฟแสน ใช้ท่อขนาด 8 นิ้ว ใช้ดินปืน 1,200 กิโล เรียกอีกชื่อว่า บั้งไฟ 10 แสน เพราะใช้ดินปืน มากกว่ากัน 10 เท่า

         บั้งไฟแสน
         บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ

         ตะไลแสน
         ตะไลแสน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร มี 4 รู บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง (พิภพ สอนพลงาน, การสัมภาษณ์, 2564)

เกณฑ์การตัดสินการประกวดรำบั้งไฟ
         1. จำนวนคนที่ต้องรำมีจำนวน 20 คนขึ้นไป ต่อ 1 ทีม
         2. ความพร้อมเพียงในการรำและขบวน
         3. ความสวยงามของรถเอ้บั้งไฟ

เกณฑ์การตัดสินการแข่งขันจุดบั้งไฟ
         ใช้เวลาเป็นการตัดสิน จับเวลาตั้งแต่เริ่มจุดจนบั้งไฟจะล่วงลงพื้น จึงจะหยุดเวลา บั้งไฟทีมหรือหมู่บ้านไหนขึ้นได้นานที่สุดจะเป็นผู้ชนะ (นายสะอาด หลักชัย, การสัมภาษณ์, 2564) 

ความสำคัญ
         จุดมุ่งหมายสำคัญในการขอฝน ชาวบ้านในภาคอีสานถือว่าบุญบั้งไฟ เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะเชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบั้งไฟก็อาจเกิดภัยพิบัติ โรคภัย ไข้เจ็บ ทุพภิกขภัย แก่ชุมชนได้
         การจัดงานบุญบั้งไฟจัดขึ้นเพื่อบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านของคนอีสาน (มหรสพสมโภชน์หมอลำพื้นบ้านอีสาน) อันดีของท้องถิ่นและ  ของคนอีสาน และส่งเสริมและจัดการแข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นสูงซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชนในท้องถิ่นก่อให้เกิดความรักความหวงแหนและความสมัครสมานสามัคคีของวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น สุดท้ายเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงสืบไป
         ประชาชนได้บำรุงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีของท้องถิ่นให้ประชาชนมีความเข้าใจเห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมของท้องถิ่นซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรักความหวงแหนและความสมัครสมานสามัคคีของวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้นและได้เผยแพร่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้คงสืบไป
         การจัดการละเล่นในประเพณี บุญบั้งไฟ ในวันสุกดิบชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟ ไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน ทำพิธีเซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟในการเสี่ยงทาย เพื่อเสี่ยงทาย ดูความอุดมสมบูรณ์ และความสำเร็จในการทำนาในปีนั้น จากนั้นก็จะดื่มเหล้ากัน ฟ้อนรำรอบศาลปู่ตา อย่างสนุกสนาน จากนั้นก็พากันแห่บั้งไฟ เพื่อจุดแข่งกัน ประกวดประชันกัน มีขบวนเซิ้งบั้งไฟนำขวนแห่บั้งไฟอย่างตระการตา

         บั้งไฟที่มาตรฐาน มีอยู่ 3 ขนาด คือ
         1. บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินดำไม่เกิน 12 กิโลกรัม
         2. บั้งไฟหมื่น บรรจุดินดำ 12 กิโลกรัมขึ้นไป
         3. บั้งไฟแสน บรรจุดิน 120 กิโลกรัมขึ้นไป
         การจัดงานบุญบั้งไฟจัดขึ้นเพื่อบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านของคนอีสานอันดีของท้องถิ่นและของคนอีสาน และส่งเสริมและจัดการแข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นสูง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชนในท้องถิ่นก่อให้เกิดความรักความหวงแหนและความสมัครสมานสามัคคีของวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น การจุดบั้งไฟนั้นเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ทำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ประเพณีบุญบั้งไฟ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีอยู่หลายหมู่บ้าน เพราะมีชาวอีสานอพยพมาอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงมากคือ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ที่จัดเป็นงานใหญ่ เพื่อประสานสามัคคี ประชาชนให้รักกัน ทำงานร่วมกัน งานบุญบั้งไฟจึงกลายเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวกำแพงเพชรอีกงานหนึ่ง (สันติ  อภัยราช, ม.ป.ป.)

ส่วนประกอบของบั้งไฟ
         1. เลาบั้งไฟ เลาบั้งไฟคือส่วนประกอบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5-7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่เเล้วใช้รั้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟ อีกครั้งหนึ่งให้แน่น และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า "หมื่อ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัยต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลา บั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
         2. หางบั้งไฟ หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร ทำหน้าที่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
         3. ลูกบั้งไฟ เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ
         4. ลายบั้งไฟ ใช้ลายศิลป์ไทย คือ ลายกนก อันเป็นลายพื้นฐานในการลับลายบั้งไฟ โดยช่างจะนิยมใช้กระดาษดังโกทองด้านเป็นพื้นและสีเม็ดมะขามเป็นตัวสับลาย เพื่อให้ลายเด่นชัดในการตกแต่งเพื่อให้ความสวยงาม
         5. ตัวบั้งไฟ มีลูกโอ้จะใช้ลายประจำยาม ลายหน้าเทพพนม ลายหน้ากาล ลูกเอ้ใช้ลายประจำยาม ก้ามปูเปลว และลายหน้ากระดาน
         6. กรวยเชิง เป็นลวดลายไทยที่เขียนอยู่เชิงยาบที่ประดับพริ้วลงมาจากช่วงตัวบั้งไฟ
         7. ยาบ เป็นผ้าประดับใต้เลาบั้งไฟ จะสับลายใดขึ้นอยู่กับช่างบั้งไฟนั้น เช่น ลายก้านขูดลายก้านดอกใบเทศ (dmc.tv, 2556)

การทำบั้งไฟ
         จากการสัมภาษณ์ บุญช่วย เนตรโสภา (สัมภาษณ์, 15 กันยายน 2564) ได้พูดถึงการทำบั้งไฟในส่วนต่าง ๆ ให้ออกมามีลักษณะที่ถูกต้องตรงความต้องการ ดังนี้

อุปกรณ์
         1. ดินปะสิวตากให้แห้ง
         2. ถ่านตากให้แห้ง
         3. ท่อ PVC 2.5" ยาว 130 เซนติเมตร
         4. หางไม้ไผ่

วิธีทำดินลำตัว
         1. เอาดินปะสิวไปบดแต่ไม่ให้ละเอียดใช้กับตะแกรงเบอร์ 9 ประมาณ 8 กิโลกรัม
         2. เอาถ่านไปบดให้ละเอียดละเอียดเท่าไรยิ่งดีตามอัตราส่วนดินปะสิว 1 กิโลกรัม ใช้ถ่าน 2.3 ขีด แต่ถ้าใช้ดินปะสิว 8 กิโลกรัม ก็ให้คำนวณเอาเอง
         3. แล้วเอาดินปะสิวกับถ่านที่เตรียมไว้มาผสมกันใส่น้ำเปล่าพอชุ่มๆผสมให้เข้ากันที่สุด

วิธีการทำบั้งไฟดินคอ
         ให้เอาดินลำตัวที่ผสมไว้มาให้พอดีผสมกับดินเหยียบน้ำ 1:1 ดินเหยียบน้ำคือดินที่อัดเข้าบั้งแล้วผ่าหรือเจาะออกจากรูนำมาผสมให้เข้ากันการอัด ต้องอัดให้เกิน 300 ขึ้นไปถึง 400 ให้ดูที่เข็มไฮดอลิคลำดับแรกใส่ดินหัวก่อนแล้วอัดต่อไปเป็นดินคอใช้แค่ 4 สัดสัดละ 2 ขีดมิล พอหมดคอแล้วอัดลำตัวยาวตลอดจนเต็ม

การเจาะรู
         อัดแล้วทิ้งไว้ 1 คืนแล้วเจาะใช้ 4 เหล็กคอยาว 20 เซนติเมตรไฟกิน 25 เซนติเมตร ที่เหลือแบ่งครึ่ง

การทำหาง
         ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตรยาว ขอเปลี่ยนจาก 300 เป็น 290 เซนติเมตรหนัก 8 ขีดห้ามเกิน 8 ขีดครึ่งวัดกึ่งกลางเลื่อนหน้า 27 เซนติเมตร ถ่วงเสมอแล้วมัดเข้าบั้ง 37 เซนติเมตร (บุญช่วย เนตรโสภา, การสัมภาษณ์, 2564)

บทสรุป
         งานประเพณีบุญบั้งไฟถือเป็นประเพณีของชาวอีสานได้จัดสืบทอดกันมาแต่โบราณเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลและให้การเกษตรได้ผลอุดมสมบูรณ์ โดยทั่วไปชาวอีสานนิยมทำบุญตามความคติคำสั่งสอนของโบราณที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ซึ่งเป็นแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้คนอีสานยึดมั่นในการทำบุญตามจารีตประเพณี ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ มาเป็นเวลานาน คือทำบุญทุกเดือนในรอบ 1 ปี สำหรับเดือนหก (พฤษภาคม) ฤดูฝนก็จะเริ่มในวันเพ็ญเดือนหก ก็เป็นวันวิสาขบูชา ชาวบ้านจึงทำบุญระลึกถึงพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็มีประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว พบว่า การจัดงานบุญบั้งไฟจัดขึ้นเพื่อบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านของคนอีสาน อันดีของท้องถิ่นและของคนอีสาน และส่งเสริมและจัดการแข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นสูงซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชนในท้องถิ่นก่อให้เกิดความรักความหวงแหนและความสมัครสมานสามัคคีของวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น การจุดบั้งไฟนั้นเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ประเพณีบุญบั้งไฟในจังหวัดกำแพงเพชร มีอยู่หลายหมู่บ้าน เพราะมีชาวอีสานอพยพมาอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงมากคือ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ที่จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อประสานความสามัคคีประชาชนให้รักกัน ทำงานร่วมกัน งานบุญบั้งไฟจึงกลายเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวกำแพงเพชรอีกงานหนึ่ง

 

คำสำคัญ : บุญบั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ ทุ่งโพธิ์ทะเล บั้งไฟล้าน ตะไลยักษ์

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ประเพณีบุญบั้งไฟ_เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=135&code_db=DB0011&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=135&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 21,829

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,234

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,604

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,718

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,075

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,728

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 2,906

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัด

ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัดขึ้นทุกวันที่ 21-23 สิงหาคมของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเลือกซื้ออาหารพื้นเมือง และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ดังนี้ การแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละจังหวัดในภาคเหนือรวม 16 จังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,129

ระบำคล้องช้าง

ระบำคล้องช้าง

เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 8,972

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,233