พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 3,039

[16.4264988, 99.2157188, พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร]

            ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา ท่านจึงมาเมืองกำแพงเพชรกราบทูลพระมารดาให้พระมารดากราบทูลพระราชบิดาขอเอาพระแก้วมรกตไปเมืองละโว้ จึงอ้อนวอนพระราชมารดาอยู่หลายพักหลายหน ฝ่ายพระมารดาทนคำอ้อนวอนขององค์ราชบุตรก็มิอาจขัดขืนได้ จึงขึ้นไปกราบทูลเจ้าเมืองกำแพงเพชรถึงพระราชโอรสมีความปรารถนาจะขอพระราชทานพระแก้วมรกตขึ้นไปปฏิบัติรักษาในเมืองละโว้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดตามความปรารถนาเถิด เมื่อเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้รับฟังถ้อยคำของพระมเหสี ก็ทรงเมตตาในพระราชโอรสเป็นหนักหนา จึงตรัสให้ตามความปรารถนาทุกประการ แต่พระแก้วเจ้าที่อยุ่ในพระอารามนั้นมีอยู่มากนักหลายองค์อยู่ ถ้าพระราชโอรสรู้จักพระแก้วมรกตเป็นองค์ใดแน่แท้ก็จงเอาไปเถิด ฝ่ายพระอัครมเหสีและพระราชทานทองคำสองตำลึงแก่นายประตูให้แสดงว่าองค์ใดเป็นพระแก้วมรกตเป็นสำคัญ ครั้นตกกลางคืนนายประตูก็เอาดอกไม้แดงทอดไว้บนพระหัตถ์ของพระแก้วมรกตให้รู้ในสำคัญ ฝ่ายพระอัครมเหสีและพระราชบุตรก็เข้าไปในปราสาทเห็นดอกไม้แดงวางบนพระหัตถ์ของพระแก้วมรกตก็อัญเชิญพระแก้วเจ้ามายังเมืองละโว้ พระองค์ก็ปฏิบัติบูชาพระแก้วมรกตได้ปีเก้าเดือนก็เอากลับมาคืนพระราชบิดาที่เมืองกำแพงเพชร   
            พระแก้วมรกต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน ตามตำนานกล่าวว่า ผู้สร้างคือพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์เจ้าแห่งประเทศอินเดีย ท่านต้องการบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป จึงดำริที่สร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมณี เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเจ็ดพระองค์เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต พระแก้วมรกตเดิมประดิษฐานที่นครปาตลีบุตร แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาเกิดสงครามประชาชนจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังลังกาทวีป จากนั้นหลังปีพุทธศักราช 1000 พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่พระมหานครเอกราช แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนตายทั้งพระนครต่อพระเจ้าอาทิตยราชแห่งอโยชยา ยกกองทัพมาตีชายแดนมหานครเอกราชจึงอัญเชิญมาไว้ที่นครอโยชยา พระยาวิเชียรปราการแห่งเมืองกำแพงเพชร ได้มาอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร       
            จากตำนานพระแก้วมรกต ฉบับเจ้านันทเสน กล่าวถึงการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศเขมรพระเถระรูปหนึ่งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานทางเหนือของนครอินทปัตถ์ พระเจ้าอติราชแห่งแค้วนสยามฝ่ายเหนือ คือนครศรีอยุธยา เกรงว่าพระแก้วมรกตจะเป็นอันตราย จึงยกกองทัพไปสืบหาพระแก้วมรกตแล้วอัญเชิญไปไว้ในพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่หลายชั่วกษัตริย์ ภายหลังเจ้าเมืองกำแพงเพชร เป็นพระญาติกับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่กำแพงเพชรและถ้ามาอยู่ที่กำแพงเพชร พระพุทธเจ้าหลวงได้ตั้งข้อสังเกตในจดหมายเหตุประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้ว่า ซึ่งยอมรับจะเรียกวัดพระแก้วได้นั้น เพราะเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่ที่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้แน่ ซึ่งหมายถึงวัดพระแก้วกลางเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน และได้ถูกอัญเชิญไปไว้ที่เชียงรายและเชียงใหม่ตามลำดับ       
             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเห็นว่า พระแก้วมรกตมีหลักฐานชัดเจนเมื่อคราวพบในเจดีย์ ณ วัดพระแก้วเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นวัดคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล ในปีพุทธศักราช 1977 ฟ้าได้ผ่าอยู่ด้านหลังของวัดป่าเยี้ยะ (วัดป่าไผ่) พบพระพุทธรูปทำด้วยพระแก้วมรกต ลักษณะงดงามมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเปลี่ยนชื่อวัดป่าเยี้ยะว่าวัดพระแก้วตั้งแต่นั้นมา พระแก้วมรกตได้ไปอยู่ที่เขลางคน์คร (เมืองลำปาง) 32 ปี แล้วนำไปไว้เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชจนมาถึงปลายราชวงศ์มังราย พระไชยเชษฐาได้เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ไม่นานพระเจ้าโพธิสารพระราชบิดาที่เมืองหลวงพระบางสวรรคต พระไชยเชษฐาเสด็จกลับแล้วนำพระแก้วมรกตไปด้วย ไปไว้ที่หลวงพระบางแต่เมื่อพระองค์เสด็จมาครองเมืองเวียงจันทน์ พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ด้วย จนกระทั่งได้อัญเชิญมาไว้ที่กรุงธนบุรี และกรุงเทพในปัจจุบัน
             มีคำถามกันมากมายว่าพระแก้วมรกตเคยมาอยู่กำแพงเพชรจริงหรือจากหลักฐานอาจยืนยันได้ว่ามาอยู่ที่กำแพงเพชรจริง และเมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น ต้องประดิษฐาน ณ วัดในกำแพงเมือง วัดประจำเมืองกำแพงเพชรคือวัดที่เรียกกันว่าวัดพระแก้ว เพราะเชื่อกันว่าถ้ามาอยู่กำแพงเพชร ต้องอยู่ที่วัดนี้อย่างแน่นอน และประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออกทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้องที่สันนิษฐานว่าน่าจะประดิษฐานพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรระยะหนึ่ง ทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นเมืองสำคัญ ในทางพระพุทธศาสนาทำให้หัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไปแต่ทำไม่สำเร็จ เพราะความแข็งแกร่งของเมืองกำแพงเพชร
             เจ้านครเชียงราย ยกกองทัพใหญ่มีไพร่พลนับแสนมากำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกต ไปเป็นขวัญพระนครเชียงราย ด้วยแสนยานุภาพที่เกรียงไกร กำแพงเพชรจึงให้พระแก้วมรกตไปด้วยความโศกเศร้าเสียดายของอาณาประชาราษฎร คงมีการแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งทำให้เจ้าผู้ครองนครเชียงราย นำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไป จนกระทั่งเกิดฟ้าผ่าพระเจดีย์ ทำให้พบพระแก้วมรกตอีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งใจจะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดินแต่กลับมาที่เขลางค์นคร จึงมาประดิษฐานที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์เชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่นครหลวงพระบาง และไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด อยู่ใน ประเทศลาว เป็นเวลาประมาณ 200 ปี พระแก้วมรกต ได้รับการอาราธนาอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจากเมืองเวียงจันทน์ มายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ได้อาราธนาจากเมืองเวียงจันทน์ข้ามมายังเมืองพานพร้าว (น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงเดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่าเป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากที่อัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืน จึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวง มาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี (วัดตำหนักใต้บ้างกระสอ นนทบุรี) และในที่สุดพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน จากหลักฐานทั้งหมดยืนยันได้ว่า พระแก้วมรกตเคยมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรจริง และเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองใหญ่มาก ๆ ที่สามารถนำกองทัพเรือไปรับพระแก้วมรกตจากอโยธยามาไว้ที่กำแพงเพชรได้ น่าภูมิใจกับเมืองกำแพงเพชรของเรา

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, พระแก้วมรกต

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1302&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1302&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,421

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,447

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,119

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,869

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,416

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,858

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,019

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,874

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,388

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 259