เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,506

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา]

        มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน ท้าวไชยศิริจึงสร้างราชธานีใหม่ เรียกนามว่านครไตรตรึงษ์ ท้าวไชยศิริครอง นครไตรตรึงษ์จนทิวงคตเชื้อพระวงศ์ได้ครองราชสมบัติสืบมาอีก 4 ชั่วคนท้าวไตรตรึงษ์ชั่วที่ 4 มีราชธิดาอยู่องค์หนึ่ง มีรูปโฉมงดงามมาก กิตติศัพท์เล่าลือระบือไปในเมืองต่าง ๆ ทราบถึงพระเจ้านครศรีวิชัย จึงใช้ทูตไปทาบทามเพื่อขอนางนั้นเป็นมเหสีแห่งพระชินเสนราชโอรสผู้เป็นยุพราช แต่ท้าวไตรตรึงษ์ไม่มีราชโอรสก็ปรารถนาจะได้เขยมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป จึงตอบว่าถ้าท้าวศรีวิชัยยอมเป็นเมืองขึ้นจึงจะยกพระธิดาให้ท้าวศรีวิชัยก็ไม่ยอมจึงงดกันไป ครั้นเมื่อราวปีฉลู จุลศักราช 675 พ.ศ.1857 พระชินเสนมีความปรารถนาจะใคร่เห็นตัวนางธิดาไตรตรึงษ์ จึงลาพระราชบิดาไปยังเมืองไตรตรึงษ์ แต่ครั้นจะตรงเข้าไปก็เห็นไม่สะดวกด้วย พระบิดากับท้าวไตรตรึงษ์ผิดใจกันอยู่ จึงใช้อุบายแปลงตัวเป็นยาจกเอาฝุ่นและเขม่าทาให้เปื้อนเปรอะ เอารงค์แต้มตัวให้ดู ประหนึ่งว่าเป็นปมปุ่มทั่วไปทั้งตัว นุ่งห่มให้ปอนแล้วก็เข้าไปในเมืองไตรตรึงษ์ ไปอาสารับใช้ผู้เฝ้าสวนหลวงอยู่ เพื่อหาช่องดูตัวนาง อยู่มาวันหนึ่งนางธิดาไตรตรึงษ์ออกไปประพาสสวนหลวง พระชินเสนไปเที่ยวเดินเก็บผลหมาก รากไม้และผักหญ้าอยู่ ได้เห็นตัวนางก็มีความรัก จึงเข้าไปหาและนำผักไปถวาย นางสังเกตดูพระชินเสนเห็นได้ ว่าไม่ใช่คนไพร่จริงจึงให้นางข้าหลวงซักดู พระชินเสนก็ให้การแต่เพียงว่าชื่อนายแสนปม นางสั่งว่าให้หมั่นเก็บผัก ส่งเข้าไปในวัง แล้วก็กลับเข้าวัง  ฝ่ายพระชินเสนกลับไปถึงที่พักแล้ว ไตร่ตรองดูเห็นว่าท่าทางนางจะมีความรักใคร่บ้างแต่ยังไม่แน่ใจ จึง ใช้อุบายเอาเหล็กแหลมจารเป็นหนังสือบนมะเขือเป็นถ้อยค้าเกี้ยวเลียบเคียงเป็นนัย ๆ แล้วน้ามะเขือกับผักอื่น ๆ ส่งไปให้นางฝ่ายนางได้เห็นหนังสือนั้นแล้วก็เขียนตอบใส่ห่อหมากฝากไปให้นายแสนปม พระชินเสนได้รับหนังสือตอบ เข้าใจได้ว่านางสมัครรักใคร่ในตนเป็นแน่แล้ว จึงเข้าไปหานางที่ในวัง และพบปะกันหลายครั้ง จนนางตั้งครรภ์ต่อมาพระบิดาของพระชินเสนประชวร พระชินเสนต้องรีบกลับไปนครศรีวิไชย เมื่อไปถึงพระบิดาโปรดให้เป็นผู้ช่วยว่าราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปรับนาง ครั้น ณ วันที่ 2 เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 676 พ.ศ. 1857 พระราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์ประสูติพระโอรสโหรท้านายว่าจะได้เป็นพระยามหากษัตริย์ทรงเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ท้าวไตรตรึงษ์ผู้เป็นตา อยากทราบว่าใครเป็นบิดาแห่งหลาน ถามพระธิดาก็ไม่ให้การอย่างไรทั้งสิ้น ถามพวกข้าหลวงก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไร คงเป็นแต่โจษกันว่าตั้งแต่ได้เสวยมะเขือซึ่งนายแสนปม ถวายแล้วก็ทรงครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์ทรงไตร่ตรองดูก็คิดว่าผู้ชายถ้าไม่เป็นคนดี ที่ไหนจะบังอาจลอบลักสมัครสังวาสกับพระธิดาเช่นนั้นได้ จึงคิดหาวิธีที่จะหาบิดาแห่งกุมาร โดยปรึกษากับมหาราชครูเป็นที่ตกลงพร้อมกันว่าให้ป่าวประกาศให้บรรดาทวยลูกเจ้าลูกขุน และทวยราษฎรมาพร้อมกันยังหน้าพระลานให้ถือขนมนมเนย ติดมือมาแล้วอธิษฐานว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาพระกุมาร ขอให้พระกุมารรับของจากมือผู้นั้น กิตติศัพท์คำประกาศทราบไปถึงพระชินเสน จึงให้เตรียมรี้พลสกลโยธาเป็นทัพใหญ่ ตั้งพระทัยว่าอย่างไร ๆ ก็ต้องรับพระธิดามาให้ได้
        พอใกล้ถึงนครไตรตรึงษ์ก็สั่งให้ทัพหยุดพักอยู่แล้ว สั่งอุบายแก่ขุนพลไว้เสร็จแล้วพระชินเสนจึงแปลงเป็นนายแสนปมถือข้าวเย็นก้อนหนึ่งเข้าไปยังพระลาน ครั้นถึงเวลากำหนด ท้าวไตรตรึงษ์ก็ออกยังหน้าพระลานให้เชิญพระนัดดาออกมาและพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้วก็ให้อุ้มพระนัดดาไปเที่ยวดูคน พระกุมารก็ไม่รับของ ๆ ใครสักคนเดียว จนกระทั่งนายแสนปมชูก้อนข้าวเย็นให้จึงได้รับ ท้าวไตรตรึงษ์เห็นหลานรับก้อนข้าวเย็นของนายแสนปมเป็นการผิดคาดคะเนทั้งรู้สึกอับอายแก่ธารกำนัลว่าพระธิดาเล่นชู้กับคนเลวเช่นนั้น ขับพระธิดาออกจากพระนครโดยทันที และด่าว่านายแสนปมต่าง ๆ นายแสนปมจึงกล่าวว่าถึงขับไล่ก็ไม่วิตกเมืองจะสร้างอยู่เองใหม่ สักเท่านี้ก็ได้ ทั้งไม่มีความเกรงกลัวใครเลยเพราะพอตีอินทเภรีขึ้นรี้พลก็จะมีมาเหมือนน้ำมหาสมุทร ท้าวไตรตรึงษ์สำคัญว่านายแสนปมพูดอวดดีจึงท้าให้ตีกลอง แสนปมก็ตีกลองอินทเภรีขึ้น 3 ลำ ขณะนั้นขุนพลแห่งนครศรีวิไชยได้ยินเสียงกลองก็ให้พลโห่ร้องขึ้นตามที่พระชินเสนได้ตรัสสั่งไว้ ไตรตรึงษ์ตกใจตะลึงหมดท่ามิรู้ที่จะท้าประการใดต่อไป แลเห็นถนัดว่าเสียท่าเขาแล้วก็ได้แต่จ้ายอมท้าวเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะวิงวอนงอนง้อพระชินเสนให้เขาอยู่เขาก็คงไม่อยู่ พระชินเสนก็คงเป็นอันได้รับนางและบุตรกลับไปนครศรีวิไชย 
        นิทานเรื่องนายแสนปม ถือเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ท้าให้ผู้คนทั้งหลายเชื่อกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นราชบุตรของนายแสนปมและเป็นรัชทายาทครองเมืองเทพนคร ต่อมาได้ 6 ปี พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานี ใหม่ซึ่งมีความบริบูรณ์พูนสุขกว่าเมืองเทพนคร โดยทรงเห็นว่าตำบลหนองโสน มีชัยภูมิเหมาะสมดี พระเจ้าอู่ทองจงสั่งเคลื่อนย้ายไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

คำสำคัญ : นิยายปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ปงป กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,193

ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 15,220

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

"พระร่วง" เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม มีนิสัยคะนองชอบเล่นเบี้ยเล่นว่าว เล่นไก่ เจ้าชู้ โดยไม่ถือ พระองค์ชอบเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารและเมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็มักจะเกิดเป็นตำนาน ขึ้นมากมาย กล่าวกันว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญญาธิการรู้ทั้ง บังเหลื่อมรู้จบไตรเทพวิทยาคม อีก ทั้งมีวาจาสิทธิ์ จากตำนานโบราณกล่าวว่า พระร่วงได้เดินทางมาถึงบริเวณเขาไก่เขี่ย พระองค์ ได้ไก่ป่าวตัวหนึ่งเมื่อเดินมาถึงบริเวณสถานที่ร่มรื่นพระองค์เกิดหิวจึงตั้งใจจะกินไก่ตัวนี้เสีย จึงได้สาป บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำพุร้อนเพื่อที่จะได้นำน้ำร้อนมาลวดไก่และถอนขนเมื่อถอนขน เสร็จไม่มี น้ำเย็น จึงสาปน้ำเย็นขึ้น จึงเกิดมีบ่อน้ำร้อน และน้ำเย็นขึ้นบริเวณใจ กลางบึงสาปนั้น หรือจากข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระองค์คงสาปน้ำร้อนน้ำเย็นเพื่อทำความสะอาดไก่หรือที่เรียกว่าให้น้ำไก่ แล้วพระองค์ก็ได้เดินทางต่อไปกลายเป็น "บ่อน้ำร้อนบึงสาป" เขาไก่เขี่ย ดังได้กล่าวแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 6,576

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 11,059

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,621

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

พํอกับลูกสาวถ่อเรือไปด้วยกัน พ่อเป็นคนถ่อ ลูกเป็นคนถือท้ายเรือ กลับถึงบ้านบ่นให้แม่ฟังวำ “แม่มึงเอ๊ย ใช้แต่พ่อถ่อเรือคนเดียว มันไม่ช่วยมั่งเลย ” แม่ก็ถามลูกสาวว่า “มึงไมํช่วยพ่อถ่อเรือมั่งเรอะ ” ลูกสาวตอบวำ “ทำไมจะไมํชํวยละแม่ พ่อถ่อฉันก็ถือท้าย พอฉันถือท้ายพ่อก็ถ่อแล้วจะเอายังไงอีกล่ะ”

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 4,918

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง แม่เป็นคนชอบทำบุญ จะใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง แมํไม่ว่างออกมาใส่บาตร จึงบอกให้ลูกสาวไปใส่บาตรแทนลูกสาวยังเด็กตื่นมาไมํทันล้างหน้าล้างตาก็รีบไปใสํบาตร ขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง พอพระเห็นเข้าก็รังเกียจเอาฝาบาตรเคาะหัวจนเป็นรอยแผลเป็นที่หน้าผาก ผ่านมาหลายปีพระก็สึก สํวนเด็กคนนั้นก็โตเป็นสาวสวย เลยมาชอบกันอดีตพระเห็นแฟนสาวมีแผลเป็น ที่หน้าผากก็ถามวำหน้าผาก น้องเป็นอะไร แฟนสาวบอกวำไมํรู้ไอ้พระบ้าที่ไหนเอาฝาบาตรมาเคาะหัว อดีตพระก็เลยจำได้ ขำกันทั้งคูํ อยำงนี้แหละเขาเรียกวำจุดไต้ตำตอ

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,309

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,877

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบ้านอยู่กลางทุ่งนาของฉัน วันหนึ่งเกิดมีหมาเข้ามาลักขโมยข้าวขอในบ้านชาวนากิน ชาวนากลับจากทำนาพอดี พบหมากำลังจะกินอาหารที่อยู่ในครัว จึงวิ่งไล่จับหมาตัวนั้นได้ ด้วยความโมโห ชาวนาจึงจุดไฟที่หางหมาตัวนั้น เจ้าหมาก็ตกใจมาก วิ่งหนีเข้าไปในทุ่งนาของชาวนาที่กำลังเหลืองใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ไฟที่หางหมาจึงไหม้ต้นข้าวและลุกลามไหม้ไปทั้งทุ่งนาของชาวนาจนไม่เหลือสักต้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,870

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

“ศรีวันนี้ก็วันลาภวันดี ศรีวันพระยาวัน ฉันจะเรียกมิ่งขวัญ ขวัญมาเกิดมาแม่มา ขวัญอย่าไปเป็นตะเข็บอยู่ใต้ขอน ขวัญอย่าไปเป็นแมงชอนอยู่ใต้ไม้ ขวัญอย่าไปอยู่ในน้ำเป็นเพื่อนปลา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ในนาเป็นเพื่อนข้าว ขวัญแม่อย่าไปเอาพุ่มไม้ต่างเรือน ขวัญแม่อย่าไปเอาแสงเดือนต่างไต้  ขวัญแม่อย่าไปเอาเรไรต่างมโหรี มาเถิดมาแม่มาขวัญเอยขวัญแม่อย่าไปเที่ยวชมเขาลำเนาไพร ให้แม่กลับมา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ที่เชิงตะกอน ขวัญแม่อย่าไปนอนอยู่ป่าช้า มาเถิดแม่มา

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 5,034