ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 2,385

[16.4336195, 99.4094765, ระบำร้องแก้]

ที่มา
        มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม 

วิธีการเล่น
        หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่ 

การแต่งกาย
        หญิงนุ่งผ้าซิ่น เสื้อสีสวยงาม
        ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมลายดอก 

เครื่องดนตรี
        กลอง  ฉิ่ง  กรับ  ฉาบ 

เนื้อเพลง
        ชาย  - นักจะเล่นให้น้องเต้นออกมา อย่ามัวระอาแกมอาย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยื่นหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - พ่อสูงระหงโปร่งฟ้า มาแลดูหล่อกว่าใครเอ๋ยใคร
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - พี่รักน้องจริงๆ เหมือนกับปลิงเกาะขา ยืดไปยาวมาเหมือนกับปลิงเกาะควาย
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง - อย่ามารักร้องเลย นะพ่อเตยต้นต่ำ รักน้องไปทำเอ๋ยไม่
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        ชาย  - พี่รักน้องแท้ๆ เหมือนผ้าแถบ พี่รักน้องเอาเสียแทบขาดเอ๋ยใจ
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
        หญิง  - พี่รักน้องจริง หรือพี่รักน้องเล่น น้องยังไม่เห็นน้ำเอ๋ยใจ
        ลูกคู่  - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป 

ผู้ร้องระบำร้องแก้
        นางแฉล้ม  บุญสุข   ร้องเป็นชาย
        นางทองย้อย  คำอินทร์   ร้องเป็นหญิง
        นางทองปอน  ว่องธัญญการ  ร้องเป็นชาย
        นางพวงเพ็ญ  จิ๋วปัญญา  ร้องเป็นหญิง
        นางสนวน  ประสาทพร   ร้องเป็นชาย
        นางทองหล่อ  วงษ์จ่า   ร้องเป็นหญิง 

ร้องลูกคู่
        นางลั่นทม  โรจน์พัฒนกุล
        นางสุภาพ  สุขสำราญ
        นางเนียม  เกตุน้อย
        นางบุญมา  เงินอาจ
        นางมณี  กาวีสูง
        ด.ญ.นันทิกาญจน์ เงินอาจ
        นางมาลี  คำอินทร์
        นางสุวรรณ  สังจ์สุวรรณ

ลักษณะคำประพันธ์
        เป็นคำประพันธ์ที่มีรูปแบบถูกต้องเป็นมาตรฐานของเพลงไทยโบราณ คือลงท้ายด้วยสระเดียวกันตลอด เช่น  หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยืนหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย   ชาย  - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล  แต่ละวรรคยังไม่สามารถกำหนดจำนวนคำลงไม่ได้ชัดเจน หรือเท่ากันแต่ขึ้นอยู่กับจังหวะ และเสียงมากกว่าเน้นที่จังหวะคำ

คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ระบำร้องแก้. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=123&code_db=DB0003&code_type=P003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=123&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,039

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,446

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,714

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 554

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,453

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,917

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,290

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,414

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,283

พิธีพลียา

พิธีพลียา

เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,761