จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 18,829
[16.4478634, 99.5029888, จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร]
การแบ่งชนิดของกรุ
กรุทุ่งเศรษฐี ( 9 กรุ)
1) วัดพระบรมธาตุ
2) วัดหนองพิกุล (นิยมเรียกสั้นๆว่า วัดพิกุล)
3) วัดซุ้มกอ หรือ นาตาคำ
4) บ้านเศรษฐี
5) วัดฤาษี
6) วัดน้อย หรือ ซุ้มกอดำ
7) วัดหนองลังกา
8) วัดเจดีย์กลางทุ่ง
9) วัดหัวยาง
กรุเมือง ( 20 กรุ)
ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วย รวมเรียกว่า กรุเมือง มีจำนวนทั้งสิ้น 20 กรุตัวอย่างชื่อกรุในกรุเมืองที่มีชื่อเสียง เช่น กรุวัดพระแก้ว, กรุวัดพระธาตุ, กรุวัดป่ามืด, กรุวัดช้างล้อม, กรุวัดอาวาสน้อย, กรุวัดอาวาสใหญ่, กรุวัดตะแบกลาย, กรุวัดกะโลทัย, กรุวัดป่าแลง, กรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น
กรุนอกทุ่ง (24 กรุ)
ก็จะหมายถึงกรุอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากกรุทุ่งเศรษฐีและกรุเมือง ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 24 กรุ ตัวอย่างกรุนอกเมือง กรุวัดวังพระธาตุ, กรุลานดอกไม้, กรุหน้าศูนย์, กรุผู้ใหญ่เชื้อ, กรุเทคนิค, กรุสปจ, กรุวัดหัวเขา, กรุตาพุ่ม, กรุวัดเซิงหวาย เป็นต้น
จากการได้เดินทางไปหาเช่าพระซุ้มกอที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเวลานับสิบปี เซียนพระที่นั่นรวมทั้งผู้ที่ขุดพระได้มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า กรุลานดอกไม้จัดเป็นกรุทุ่งเศรษฐี เพราะอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ตอนที่ยังไม่รู้ชัดว่ากรุลานดอกไม้อยู่ที่ไหนก็จำต้องเชื่อไว้ก่อน หลังจากได้เดินทางไปที่กรุลานดอกไม้จริงๆ ซึ่งต้องขับรถขึ้นไปทางจ.ตากเป็นระยะทางราว 26 กม. ด้วยทางรถยนต์ ทำให้อ.แป๊ะ สา่ยไหม ไม่ยอมจัดให้กรุลานดอกไม้อยู่ในทุ่งเศรษฐี ด้วยเหตุผลสองประการ:
1) กรุลานดอกไม้ถึงแม้ว่าจะอยู่ฝั่งเดียวทุ่งเศรษฐี แต่ระยะทางนั้นห่างออกไปถึง 26 กม. ถ้าเป็นสมัยกรุงสุโขทัยต้องใช้เวลาเดินทางไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน และทางก็จะเป็นป่ารกชัฏ ซึ่งตรงข้ามกับบริเวณทุ่งเศรษฐีที่มีอาณาบริเวณเดียว แต่ละที่จะห่างกันเพียง 200-300 เมตร สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้
2) พระซุ้มกอที่พบในกรุลานดอกไม้นั้นมีความแตกต่างจากของทุ่งเศรษฐีอย่างชัดเจน ทั้งพิมพ์และมวลสาร เรื่องของพิมพ์พระนั้นพอจะอนุโลมกันได้ เพราะต่างหมู่บ้านก็คิดพิมพ์ที่เป็นของตัวเอง ส่วนวิธีการสร้างโดยเฉพาะการใช้มวลสารนั้นมักจะมีการลอกเลียนแบบกัน ดังจะเห็นได้จากพระซุ้มกอในทุ่งส่วนใหญ่จะมีเนื้อคล้ายกัน พูดง่ายๆว่าการคัดเลือกมวลสารนั้นจะมีการลอกเลียนแบบกัน เมื่อกรุลานดอกไม้มีพระที่แตกต่างออกไป ก็ไม่สมควรจะจัดอยู่ในกรุทุ่งเศรษฐี นอกเสียจากหวังผลประโยชน์ในราคาพระจนลืมความเป็นจริง
ทำไมพิมพ์พระซุ้มกอกับชื่อกรุในหนังสือหลายเล่มจึงไม่เหมือนกัน :
นักสะสมรุ่นปัจจุบันหลายท่านได้พระซุ้มกอจากหลายแนวทาง ส่วนใหญ่แล้วได้จากการที่มีคนนำมาให้เช่า หรือมาขายให้ คนที่ขุดพบแล้วนำมาปล่อยให้เซียนพระ ส่วนใหญ่ก็จะไม่พูดความจริง ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและไม่ต้องการให้ใครไปแย่งขุด บ้างก็แต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อให้พระตัวเองมีราคา สรุปแล้วการหาความจริงจากหนังสือเป็นเรื่องที่ยากมาก หากท่านได้มีโอกาสไปพบกับคนขุดจริงๆ ซึ่งได้พระมาเป็นมือแรก ข้อมูลเรื่องกรุก็น่าจะเชื่อถือได้มากกว่าครึ่ง
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระกรุทุ่งเศรษฐีได้รับความนิยมมากกว่ากรุอื่นๆก็คือเรื่องประวัติการสร้างพระ คนส่วนใหญ่เคยได้ยินเรื่องราวของแผ่นลานเงินที่จารึกประวัติการสร้างพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ ที่มีบทความตอนหนึ่งว่า " ใครมีกูไว้ไม่จน "
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : http://www.dopratae.com//บทความ/จำนวนกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชร/109/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1149&code_db=610005&code_type=01
Google search
ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี 11 ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก 3 ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,994
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 28,511
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,779
จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,217
พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,694
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,259
พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 7,960
พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,932
พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,327
พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 13,999