พระกำแพงขาว
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 6,980
[16.4746251, 99.5079925, พระกำแพงขาว]
พระกำแพงขาว จัดว่าเป็นพระประเภทลีลาเนื้อชินที่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าเป็นเลิศในด้านศิลปะกว่าทุก ๆ เมือง พระกำแพงขาว ครั้งแรกพบที่กรุวัดบรมธาตุ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว ซึ่งเรียกว่ากรุเก่า ต่อมาขุดพบที่กรุวัดอาวาสน้อย วัดกะโลทัย วัดอาวาสใหญ่ วัดพระแก้ว ที่พบทีหลังจะมีผิวปรอทจับตามซอก บางองค์ผิวปรอทจับทั้งองค์ก็มี พระกำแพงขาวแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ข้างแตก ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 4 ซ.ม. กว้างประมาณ 2 ซ.ม.พระกำแพงขาวพิมพ์ข้างแตก หรือนักสะสมรุ่นเก่าจะเรียกว่า พระกำแพงขาวพิมพ์กลางนั้น จัดเป็นพิมพ์ที่นิยมและหาได้ยาก พุทธลักษณะของพระกำแพงขาวพิมพ์ที่พิเศษก็คือบริเวณแขนด้านขวาขององค์พระที่วางทอดลงมานั้นจะมีรอยนูนของเนื้อจนถึงบริเวณปลายมือขององค์พระ สาเหตุที่มีรายแตกก็เพราะเกิดจากแม่พิมพ์พระได้เกิดแตก ทำให้เวลาเทเนื้อชินลงที่แม่พิมพ์เลยทำให้พระนั้นมีตำหนิตามแม่พิมพ์ที่แตก สาเหตุที่พระพิมพ์นี้มีความนิยมก็เพราะ พระพิมพ์ข้างแตก(พิมพ์กลาง) เป็นพระที่มีความชัดกว่าทุกพิมพ์ ลวดลายต่าง ๆ ขององค์พระไม่ว่าบริเวณใบหน้า, เม็ดพระศก, บริเวณชายผ้า ตลอดจนบัวที่เป็นฐานรองรับองค์พระมีความชัดเจนเป็นที่สุดพระกำแพงขาวพิมพ์ข้างแตกจะมีขนาดส่วนสูงสั้นกว่าพระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่เล็กน้อยองค์พระจะดูต้อกว่า แต่ก็ไม่มากนัก พระพิมพ์นี้ของเทียมเลียนแบบมีมาก ให้สังเกตรอยแตกที่อยู่ด้านข้างแขนให้ดีเพราะเกิดจากแม่พิมพ์แตก แต่ถ้าเป็นของปลอมจะแลดูไม่ธรรมชาติเพราะทำรอยแตก โดยจงใจทำข้อสังเกตพระพิมพ์นี้ทุกองค์บริเวณปลายชายผ้าที่ทอดมาด้านซ้ายขององค์พระจะมีติ่งเนื้อเกินอยู่ทุกองค์ และพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุด คือ พิมพ์กลาง
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=121&code_db=DB0003&code_type=P003
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระกำแพงขาว. สืบค้น 12 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=188&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,297
พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,586
ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,625
ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้สันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมาก คงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้นพระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆ กันมาว่า ก้นครก
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,744
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,468
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 20,175
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,990
ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,075
จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร นักสะสมพระหลายท่านอยากจะเล่นพระซุ้มกอ แต่ก็ไม่กล้า เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าพระซุ้มกอที่มีอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรนั้นมีกี่กรุกันแน่ หนังสือหลายเล่มก็ไม่ได้กล่าวถึง จากการได้ลงภาคสนามของ อ.แป๊ะ สายไหม ที่เคยขับรถไปจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อศึกษาสถานที่จริงพร้อมๆ กับการไปหาเช่าพระจากคนในท้องถิ่น ก็พบว่าจำนวนกรุทั้งหมดที่มีการกล่าวถึงแต่ไม่มีใครรวบรวมไว้ อ.แป๊ะรวบรวมได้ 53 กรุ ถ้าถามว่าทุกกรุมีพระซุ้มกออยู่ด้วยหรือไม่ คำถามนี้ต้องหาคำตอบต่อไป ในจำนวน 53 กรุนี้จะมีกรุทุ่งเศรษฐีรวมอยู่ด้วยมีจำนวน 9 กรุ และไม่มีใครกล้ายืนยันว่าในจำนวนทั้ง 9 กรุนั้นจะมีพระซุ้มกอรวมอยู่ด้วยทุกกรุ ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่มีการยืนยันจากผู้ขุดพบพระซุ้มกอ มาถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านก็คงอยากทราบแล้วซิว่ากรุทุ่งเศรษฐีทั้ง 9 กรุนั้นมีอะไรบ้าง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 19,597
ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,565