ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้ชม 2,041

[16.483188, 99.4917312, ฉู่ฉี่แมงอีนูน]

         ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง 
         "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เครื่องปรุงส่วนผสม
         1. แมงอีนูนต้มใส่เกลือ (นำหัวและปีกออก) 1 ถ้วยตวง
         2. พริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
         3. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
         4. พริกชี้ฟ้าแดง
         5. น้ำปลา
         6. น้ำตาลปิ้บ
         7. ใบมะกรูด (ซอยละเอียด)

วิธีทำ
         1. นำน้ำมันพืชผัดในกระทะเปิดไฟระดับกลาง นำพริกแกงเผ็ดลงผัดกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม
         2. ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ ผัดให้เข้ากัน จนมีกลิ่นหอม จะได้พริกแกงเผ็ดที่มีรสชาติหวานเล็กน้อย
         3. ใส่แมงอีนูนคั่วในพริกแกงคั่วเผ็ด คั่วให้แห้ง
         4. โรยใบมะกรูด พริกชี้ฟ้าแดง พร้อมเสิร์ฟ

 

คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=i6vwVUD1KAg

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ฉู่ฉี่แมงอีนูน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1107&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1107&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,100

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,648

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,729

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า "ทอง" จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 11,025

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

แกงขี้เหล็กปลาย่าง

“แกงขี้เหล็กปลาย่าง” อาหารไทยโบราณ ที่มีสรรพคุณตอบสนองปัญหาสุขภาพในสังคมยุคใหม่ ด้วยขี้เหล็กเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้คนท้องผูกถ่ายคล่องขึ้น และมีสารช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้นอนหลับสบายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารเบต้า-แคโรทีนเป็นสารที่ร่างกายจะนำไปใช้สร้างเป็นวิตามินเอซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสายตา โดยการดูดซึมวิตามินเอจะมีประสิทธิภาพเมื่อทานร่วมกับไขมันที่อยู่ในกะทินั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,557

ผลิตภัณฑ์จากกล้วย

ผลิตภัณฑ์จากกล้วย

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กล้วยไข่” กล้วยไข่จึงกลายเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จังหวัดกำแพงเพชร ไม่เฉพาะกล้วยไข่เท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกำแพงเพชร แต่ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มาจากกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ยังเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกที่ทำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 496

ขนมข้าวเกรียบอ่อน

ขนมข้าวเกรียบอ่อน

นอกจาก "ขนมไทย" จะเป็นที่ถูกใจของชาวจังหวัดพกำแพงเพชร และหลายๆจังหวัดแล้ว "ขนมข้าวเกรียบอ่อน" ที่มีสีสันสดใส แถมยังมีรสชาติถูกปากก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ติดใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่เช่นกัน และหากใครได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรต้องไม่พลาดที่จะไปลองชิม "ขนมข้าวเกรียบอ่อน" ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสมกับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงาทำให้มีรสชาติที่หอมหวานและอร่อยติดปาก

เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 6,869

แกงหน่อไม้

แกงหน่อไม้

แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก “แกงลาว” หรือ “แกงเปรอะ” มีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด จังหวัดกำแพงเพชรมีประชาชนย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และได้นำเอาอาหารท้องถิ่นอย่างแกงหน่อหรือแกงลาว มายังพื้นที่กำแพงเพชรด้วย นอกจากนั้นแล้วแกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้าน มีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 2,153

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,041

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,867