แกงเห็ดเผาะปลาย่าง
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้ชม 3,193
[16.483188, 99.4917312, แกงเห็ดเผาะปลาย่าง]
แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ
เครื่องปรุงส่วนผสม
1. เห็ดเผาะ (ล้างสะอาด) 1.5 ลิตร
2. หมูสามชั้น (หั่นชิ้น) 200 กรัม
3. ชะอม 1 ถ้วยตวง
4. ปลาย่าง (แกะย่างออก)
5. พริกแกงเผ้ด 2 ช้อนโต๊ะ
6. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
7. หางกะทิ 1 ถ้วยตวง
8. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
9. น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม
2. ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ
3. เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด
4. ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที
5. ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ
คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน
ที่มา : http://www.xn--42cfic6dbo4daghhh7c4e9f8b4h8ff.com/Food5.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). แกงเห็ดเผาะปลาย่าง. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1105&code_db=610008&code_type=01
Google search
มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,889
เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ 3/4 ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว 1/2 ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด 1/3 ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก 1/4 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 6,411
ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,733
ขนมดอกดิน ขนมพื้นบ้านของคนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วิธีทำล้างดอกดินให้สะอาด และปั่นกับกะทิเล็กน้อยจะละเอียด ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ เกลือ แป้งข้าวเหนียว ละลายให้เข้ากัน และใส่ดอกดิน คนให้เข้ากัน ตั้งลังถึงบนไฟแรงวางกระทงลงในลังถึง รอน้ำเดือด หยดส่วนผสมลงในกระทงจนเกือบเต็ม ใช้เวลาการนึ่ง 15 นาที หยอดกะทินึ่งต่ออีก 5 นาที จนสุก พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 12,320
ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,909
เป็นขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งพบทำขายในตลาดสดและเพิงอาหารริมทาง ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งสาลี ไข่ไก่ งาดำ งาขาว น้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำมันพืช น้ำปูนใส เริ่มจากผสมแป้งทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งที่เตรียมไว้ ให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงไปจุ่มในน้ำมันทอด พอแป้งอยู่ตัวแล้วสะบัดให้แป้งหลุดจากพิมพ์ หากแป้งไม่หลุดให้หาไม้หรือมีดปลายแหลมค่อยๆ เขี่ยออก อย่าให้แป้งแตกออกจะไม่สวย ทอดจนเหลือง แล้วจึงตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงเก็บขนมใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,632
เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,070
เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน รวมทั้ง “ทองม้วน” เมื่อรับเอามาแล้วจึงนำมาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง และคนสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำขนมชนิดนี้ใส่โหลแก้วหรือปี๊บเก็บไว้ในบ้านสำหรับต้อนรับลูกหลาน ญาติรวมทั้งผู้ที่ไปมาหาสู่ การก่อตั้งกลุ่มรวมกลุ่มแม่บ้านที่ว่างงาน รวมกลุ่มกันทำขนมทองม้วน ได้จัดตั้งชื่อกลุ่มว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้านโนนใน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าเอื้องนาค
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,746
กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้ การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 5,548
ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า “ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า “ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า “ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า “เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,548