วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้ชม 1,209

[16.4569421, 99.3907181, วัดท่าหมัน]

ชื่อวัด : 
   
    วัดท่าหมัน

สถานที่ตั้ง :
     
  บ้านปากคลอง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
         
        วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิด มาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็ เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี
        วัดท่าหมัน ไม่มีโบสถ์ มีแต่ศาลาขนาดใหญ่ หลังจากวัดท่าหมันร้าง ปัจจุบันรื้อไปไว้ที่วัดสว่างอารมณ์ ดัดแปลงแก้ไขให้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างศาลาอเนกประสงค์ วัดท่าหมันเคยมีโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านประจำตำบลปากคลองเรียกกันว่า โรงเรียนวัดท่าหมันเมื่อวัดร้างจึงย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านนครชุมในปัจจุบัน วัดท่าหมันมีเจ้าอาวาสหลายรูป ที่รู้จักกันดีคือพระอาจารย์เณร (บุญมี ยศปัญญา) พระอาจารย์ปลั่ง วังลึก พระอาจารย์สวย อินจันทร์ พระอาจารย์ช่วย พระอาจารย์เขียนพระอาจารย์แก้ว ต่อมาวัดกลายเป็นวัดร้าง ด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาวัดท่าหมันได้ให้เช่าที่ดินสร้างเป็นอาคาร ร้านค้า บ้านเรือน ตลาดนครชุมบางส่วน ในขณะนี้ 
        ร่องรอยของวัดท่าหมัน เคยมีภาพถ่ายในอดีตซึ่งผู้เขียนเคยเห็นจากหีบโบราณของอาจารย์สนิม บุญหนัก ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยภาพแรกเป็นศาลาท่าน้ำของวัดท่าหมัน มีเด็กนักเรียนหญิง 8 คน อยู่ที่ท่าน้ำ เป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนประชาบาลวัดท่าหมัน สภาพของศาลาคงทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นงานศพของนายส่างหม่อง ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาทำกิจการค้าไม้ที่คลองสวนหมาก เมื่อเสียชีวิตประมาณ ปี พ.ศ. 2473 ทางญาติได้ตั้งบำเพ็ญการกุศลไว้ที่ศาลาวัดท่าหมัน ดูจากภาพถ่ายแล้วต้องเป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของชุมชนคลองสวนหมาก
        ประวัติของวัดท่าหมันเท่าที่พอสืบค้นได้ เกิดจากชาวคลองสวนหมากที่ผ่านการต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาตินานาประการ เมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้กลับเข้ามาสู้ชีวิตด้วยความเสียสละและความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อท้องถิ่นจนสามารถสร้างบ้านเมืองสืบทอดต่อมา เมื่อชุมชนเจริญขึ้น และเห็นว่าวัดพระบรมธาตุอยู่ไกลไม่สะดวกในการไปทำบุญ จึงได้มีการรวบรวมทุนทรัพย์แล้วจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นบริเวณกลางหมู่บ้าน ใช้เนื้อที่ประมาณ 4-5 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างวัด
        บริเวณของวัดมีท่าน้ำ เป็นทางขึ้นลงของล้อเกวียนและอยู่ใกล้กับต้นหมันใหญ่ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าหมัน” โดยมีพระอาจารย์ช่วยได้ดูแลวัดจนมรณภาพ ด้วยคุณงามความดีของพระอาจารย์ช่วย ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของท่านเอาไว้เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี บริเวณที่เป็นสถูปอยู่แถวกลางตลาดนครชุมซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ช่วย ได้มีพระอาจารย์แก้ว เข้ามาดำเนินการต่อโดยพัฒนาและขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านเลยเรียกว่าวัดเป็น “วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” และมีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นหลังแรกของตำบลคลองสวนหมาก โดยใช้ศาลาของวัดเป็นอาคารเรียน
        พระเครื่องที่ได้จากกรุวัดท่าหมันนั้น มีจำนวนไม่มากนักจากที่พบเห็นจึงเป็นที่หวงแหนสำหรับผู้ที่ครอบครองเป็นอย่างยิ่งส่วนมากจะอยู่กับผู้มีฐานะที่ดี และเท่าที่รู้บางองค์บางพิมพ์โด่งดังแต่ลงเป็นกรุอื่นที่ดังและเป็นที่รู้จัก ไม่ได้ลงว่ากรุท่าหมัน ในเมื่อพระองค์นั้นๆ ขึ้นมาจากเจดีย์เก่าที่อยู่ที่บริเวณวัด ซึ่งพระที่ลงกรุนั้นจะมีผสมทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคแรกๆืเป็นต้นมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีพระเครื่องของเมืองนี้ ที่อยู่กรุเดียวกัน อาจเป็นเพราะว่าเมื่อสร้างเจดีย์ที่วัดท่าหมันผู้คนได้นำพระกรุนานาชนิดมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์วัดท่าหมัน จึงทำให้กรุวัดท่าหมันจึงมีพระที่หลากหลายมาก กรุแตกคนรุ่นนั้นเรียกว่ากรุวัดท่าหมัน คนรุ่นหลังไม่ทราบ จึงสันนิษฐานตามพระพุทธลักษณะเป็นกรุอื่นๆ ไป จะมีทั้งถึงยุคและไม่ถึงยุค 
        มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ามาสัมภาษณ์ผู้เขียนบ่อยๆว่า วัดท่าหมันอยู่ตรงไหน หาไม่พบ วันนี้จึงถือโอกาสเล่าสู่กันฟัง ว่าวัดท่าหมันมีอยู่จริง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว แม้แต่ต้นหมันที่ท่าน้ำ ก็อาจน้ำกัดเซาะโค่นไปแล้วเช่นกัน จึงเหลือเพียงตำนานวัดท่าหมันมาจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : วัดท่าหมัน

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดท่าหมัน. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=1427

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1427&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,194

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,886

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,044

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,874

วัดเขาลูกรัง

วัดเขาลูกรัง

ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,492

วัดพระบรมธาตุ

วัดพระบรมธาตุ

เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกาพญาลิไททรงประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุและมีความเชื่อดังจารึกที่ว่า "ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า" เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี "นบพระเล่นเพลง" ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร พระบรมธาตุนครชุม มหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ จวบจนปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,971

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,597

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,863

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,513

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,554