สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 742

[16.7557014, 98.4335232, สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)]

          สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสนามกีฬาของอาเซียนที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนตาก จากการเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ และรองรับโรงเรียนกีฬาของเทศบาลนครแม่สอด สำหรับสนามกีฬา 5 อำเภอชายแดนเป็นสนามกีฬามาตรฐาน มีลู่วิ่งยางสังเคราะห์ หรือยางตาตั้น จะดูดซับแรงสะท้อนที่ให้ความรู้สึกแตกต่างจากการวิ่งบนถนน และสามารถใช้แข่งขั้นกีฬา ในระดับภูมิภาคจนไปสู่ระดับชาติได้ สถานที่จัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครแม่สอดอย่างเป็นทางการ ประกอบกับเทศบาลนครแม่สอด เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งด้านศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญตามนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลอีกโสตหนึ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยิ่ง และใช้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างจังหวัดตากและจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ 

ประวัติความเป็นมา
          ด้วยความห่างไกลและเส้นทางการเดินทางของประชาชน เยาวชน นักเรียน เป็นไปด้วย ความลำบาก ในสมัยก่อนการเดินทางระหว่าง 5 อำเภอแดนในจังหวัดตาก มีเส้นทางคดเคี้ยวเขาสูงชันต้องใช้เวลาในการเดินทางไปจังหวัดตาก ไป-กลับ 1 วัน ประชาชนอำเภออุ้มผางต้องใช้เวลานานกว่า 6 ชั่วโมง ในการไปติดต่อราชการและการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาจึงไม่มีความสะดวกมากนัก องค์กรปกครองท้องถิ่นและพี่น้องประชาชน 5 อำเภอชายแดนมีความเห็นว่าน่าจะมีการก่อสร้างสนามกีฬา 5 อำเภอชายแดนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อให้มีสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานและเดินทางได้สะดวก ปลอดภัย โดยให้เทศบาลนครแม่สอดดำเนินการก่อสร้างสนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน แห่งนี้ ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบันได้รับการอนุญาตการใช้พื้นที่กว่า 50 ไร่เศษ จากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2552 (ทุ่งเลี้ยงสัตว์เดิม)
          หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
          1. จังหวัดตาก
          2. อำเภอแม่สอด
          3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
          4. คณะรัฐมนตรี
          5. กรมพลศึกษา
          6. เทศบาลนครแม่สอดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 อำเภอชายแดน
          มติคณะรัฐมนตรีและมติ คสช. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ได้เห็นชอบในหลักการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (SISTER CITY) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการค้าขายชายแดนไทย-พม่าในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากตามนโยบายของรัฐบาล จะช่วยเสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างสองเมืองเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นส่วนสำคัญในการขยายตัวทางการค้าชายแดนและลงทุนระหว่างกัน และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศในภาพรวม รวมทั้งจะสนับสนุนสอดคล้องกับการจัดตั้งนครแม่สอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .... เช่นเดียวกับเมืองพัทยา
          สถานที่ดำเนินการก่อสร้างสนามกีฬา จังหวัดตากได้อนุญาตให้เทศบาลนครแม่สอดใช้ที่ดิน ตามใบอนุญาตตามความในมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ) เลขที่ 1/2559 ลงวันที่ 27 มกราคม 2559 จากกรณีที่ 5 อำเภอชายแดนฝั่งตะวันตก จังหวัดตาก ซึ่งมีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเมียนมา บนระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) โดยเทศบาลนครแม่สอดเป็นศูนย์กลางของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ที่ผ่านมามีหน่วยงานภาคราชการและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ระหว่างแม่สอดและเมียวดี ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ให้ทุกจังหวัดที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องแล้ว พิจารณาดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างเหมาะสม และมีความต่อเนื่อง เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ที่ผ่านมาได้มีการจัดแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ หลายประเภทกีฬา มีการให้บริการแก่กลุ่มมวลชน ชมรมกีฬาต่าง ๆ ใช้พื้นที่ทำกิจกรรม เช่น ชมรมแอโรบิคชมรมเทนนิส ชมรมแบดมินตันชมรมตะกร้อ ชมรมเดิน-วิ่ง ชมรมตะกร้อ ชมรมบาสเกตบอล และชมรมฟุตบอล และมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีสำคัญของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับการแข่งขันกีฬาขณะนี้ยังไม่สามารถยกระดับการแข่งขันกีฬาในระดับชาติหรือนานาชาติได้เนื่องจากยังขาดสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งขณะยังอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการอยู่ในส่วนที่ยังขาดอยู่ขณะนี้ โดยเทศบาลมีแผนจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทยระดับภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจในแม่สอดและพื้นที่จังหวัดตากเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สนามกีฬาอย่างคุ้มค่า เทศบาลได้มีแผนในการบริหารจัดการดูแลรักษาโดยใช้บุคลากรและงบประมาณของเทศบาลในการดำเนินการต่อไป     

งานอาคารสถานที่และบริการ
         มีหน้าที่ รับผิดชอบการดำเนินการให้บริการสถานที่และอุปกรณ์กีฬา เพื่อการฝึกซ้อม/แข่งขัน และการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการแก่หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเก็บรักษา ซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัยของอาคารสถานกีฬาและอุปกรณ์กีฬา ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ ของสนามกีฬา มีหัวหน้างานอาคารสถานที่และบริการเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
         - จัดทำแผนการดูแล บำรุงรักษา หรือซ่อมแซมอาคารสถานที่ที่รับผิดชอบเพื่อของบประมาณ
         - จัดจ้างลูกจ้างประจำสนามกีฬา เพื่อดูแลบริเวณอาคารสถานที่และดูแลความปลอดภัย
         - ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการอาคารสถานที่ เพื่อการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการต่าง ๆ โดยจัดทำเป็นปฏิทินการใช้บริการสนามกีฬาและอุปกรณ์กีฬา
         - ดำเนินการให้บริการอาคารสถานที่และอุปกรณ์กีฬา พร้อมทั้งรวบรวมสถิติการใช้สนามกีฬา และจัดทำบัญชีควบคุมการยืม-คืน อุปกรณ์กีฬา
         - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
         - จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน การติดตามและประเมินผลรายงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกเดือน
         - สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 

งานบริหารจัดการทั่วไป
        มีหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล การประชุมการลงทะเบียนรับ-ส่ง โต้ตอบหนังสือ รวมทั้งจัดทำแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาจังหวัด และนโยบายต่างๆ ตลอดจนจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  การเบิกจ่ายเงิน จัดทำบัญชี งบดุล และควบคุมพัสดุครุภัณฑ์ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับ มีหัวหน้างานบริหารจัดการทั่วไปเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีวิธีดำเนินการ ดังนี้
        - จัดทำแผนการบริหารจัดการทั่วไป และรวบรวมแผนงานของงานส่งเสริมกีฬาและนันทนาการและงานอาคารสถานที่และบริการ เพื่อจัดทำเป็นแผนงาน/โครงการในภาพรวมของกองส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ เพื่อของบประมาณประจำปี
        - ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ทั้งในส่วนของวัสดุสิ่งพิมพ์ ครุภัณฑ์ และการเช่าใช้อุปกรณ์ต่างๆ
        - จัดทำบัญชี เบิกจ่ายงบประมาณ และบัญชีควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ
        - ดำเนินการด้านงานสารบรรณและธุรการเกี่ยวกับการรับ-ส่ง โต้ตอบหนังสือต่างๆ และการจัดประชุม/สัมมนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        - ดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับค่าตอบแทนสวัสดิการ และรวบรวมสถิติการมาทำงาน การลาป่วย ลากิจ ฯลฯ
        - สรุปผลการดำเนินงาน รายงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกเดือน
        - สรุปผลการปฏิบัติงานปลายปี
        - ลูกจ้างประจำสนาม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลบริเวณสนามกีฬา และอาคารสถานที่ต่างๆ ทำความสะอาด ตกแต่งสวนและต้นไม้ ดูแลระบบสาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินต่างๆ ของสนามกีฬา รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นๆ

ระเบียบการใช้สนามกีฬา
        1. สนามกีฬา เปิดลู่วิ่งให้บริการทุกวัน เวลา 05.00 – 08.00 น. และเวลา 15.00 – 19.00 น.
        2. ห้ามใช้สนามฟุตบอลก่อนได้รับอนุญาต
        3. ผู้ที่มาใช้บริการต้องแต่งกายให้เรียบร้อยและสวมรองเท้าพื้นยาง สำหรับเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเท่านั้น
        4. ผู้ที่นำเด็กเล็กมาบริเวณสนามกีฬา ต้องดูแลเด็กเล็กของท่าน ไม่ให้รบกวนผู้มาใช้บริการท่านอื่น
        5. ผู้ที่มาใช้บริการลู่วิ่ง ต้องวิ่งในทิศทวนเข็มนาฬิกา (วิ่งเร็วอยู่ลู่ใน-วิ่งช้าอยู่ลู่นอก)
        6. ห้ามนำยานพาหนะทุกประเภท และเครื่องเล่นทุกประเภท เข้ามาในบริเวณสนาม
        7. ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามนำขนม/อาหาร/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เข้ามารับประทานภายในบริเวณสนาม
        8. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาภายในสนามกีฬา
        9. หากพบปัญหาในการใช้สนามกีฬา โปรดแจ้งผู้ดูแลสนาม

การส่งมอบสนามกีฬา
        ตามที่เทศบาลนครแม่สอด ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งขณะนี้สนามฟุตบอลและลู่วิ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ให้บริการแก่ประชาชน เยาวชนในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ) การจัดการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดงานส่งมอบสนามฟุตบอลและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระหว่าง กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับเทศบาลนครแม่สอด ในวันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ สนามกีฬาอำเภอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซี่งใช้ชื่อในปัจจุบัน “สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)” โดยนายสันติ ป่าหวาย อธิบดีกรมพลศึกษา พร้อมด้วยคณะ เช่น นายชาญวิทย์ ผลชีวิน สมาชิกวุฒิสภา อดีตโค้ชฟุตบอลทีมชาติไทย ที่ได้เดินทางมาทำพิธีมอบสนามกีฬานานาชาติ 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก ให้กับนายเทอดเกียรติ์ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด อำเภอแม่สอด เพื่อให้เทศบาลนครแม่สอด ดูแลรักษา เพื่อประโยชน์แก่นักเรียน โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครแม่สอด เยาวชน ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ได้มาใช้บริการต่อไป โดยมีการทำพิธีส่งมอบ และรับมอบ ทำการบันทึกข้อตกลงร่วมกัน(MOU.) ระหว่างกรมพละศึกษา กับ เทศบาลนครแม่สอด โดยมีนายธนยศ ปานขาว ปลัดจังหวัดตาก นายอูตาน ส่วย นายกเทศมนตรีเมืองเมียวดี ของเมียนมาตรงข้าม อ.แม่สอด, ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดน พร้อมด้วยประชาชน เยาวชน นักเรียน กว่า 5,000 คน เดินทางไปร่วมงาน และเป็นสักขีพยาน

คำสำคัญ : สนามกีฬา

ที่มา : https://www.nakhonmaesotcity.go.th/web/mm/agencies/8/page/stadium1.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ). สืบค้น 16 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?code_db=610002&code_type=TK007&nu=pages&page_id=2148

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2148&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,930

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 442

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,729

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 612

อ่างเก็บน้ำห้วยลึก

อ่างเก็บน้ำห้วยลึก

เป็นอ่างเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และผลิดกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีของชาวแม่สอดเพราะว่าถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่พักผ่อนได้เลยทีเดียว เนื่องจากมีบรรยากาศดี ด้านทิศตะวันออกจะมองเห็นหุบเขาพะวอ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน พอตกตอนเย็นก็จะมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อน มาออกกำลังกาย และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็นบรรยากาศดีมาก ชาวแม่สอดของยืนยันกับอีกหนึ่งความประทับใจนี้ จึงอยากให้มาเยี่ยมชมกันด้วย

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,576

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

ชมความมหัศจรรย์แห่งองค์พระธาตุที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง โดยมีหินก้อนใหญ่ซึ่งมีฐานคอดกิ่วราวกับจะแยกขาด จากกันวางตัวอยู่บนหน้าผานั้น ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน” อีกทั้งหินที่อยู่บนดอยนี้ยังมีสีดำหรือน้ำตาลไหม้ บางคนจึงเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุดอยดินจี่” ซึ่งหมายถึงดินที่ถูกไฟไหม้นั่นเอง ทั้งนี้ภายในเจดีย์มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ที่เรียกกันว่า “พญาล่อง” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง และในบริเวณวัดพระธาตุฯ ยังมีเรือโบราณที่มีอายุประมาณ 200 ปี พบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียนได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินจี่เรือลำนี้เป็นเรือขุดจากไม้ซุงทั้งต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,216

 ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน อยู่ทางขวามือริมเส้นทางสายตาก-แม่สอด ตรงกิโลเมตรที่ 71-72 เป็นศาลเจ้าริมทางลักษณะเดียวกับศาลเจ้าพ่อพะวอ ศาลนี้ทำพิธีเปิดเมือ่ปลายปี 2523 สาเหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่า มีคหบดีท่านหนึ่งเจ็บป่วยอัมพาตมาช้านาน ได้ฝันว่ามีผู้มาบอกให้สร้างศาลเจ้าพ่อขุนสามชนขึ้นที่บริเวณที่เป็นศาลเจ้าปัจจุบัน คหบดีผู้นั้นจึงสร้างศาลขึ้นถวาย เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีนั้นก็เป็นปกติ ชาวบ้านเคารพนับถือมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 7,834

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง นอกจากความพิศวงของเนินแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 3,321

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 463

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

อำเภอแม่สอด ได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข็มแข็ง 2555 ของจังหวัดตาก โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก งบประมาณ 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าบาทถ้วน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อำเภอแม่สอด ได้ขอให้จังหวัดตากส่งมอบศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตากให้กับเทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้งาน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบำรุงรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 661