ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 8,502

[16.7570101, 98.6296652, ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน]

      ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนนั้น มีที่มาจากตำนานเจ้าพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด โดยตำนานคร่าวๆ มีดังต่อไปนี้ พ่อขุนสามชน เป็นราชบุตรของ พ่อขุนจันคำเหลือง เจ้าเมืองฉอด และ เจ้าแตงอ่อน (เจ้ามุกขวดี) มีพระอนุชาชื่อ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงส์ เมื่อพ่อขุนจันคำเหลืองสวรรคตแล้ว พ่อขุนสามชนราชบุตรองค์ใหญ่ได้สืบราชสมบัติในเมืองฉอดแทนพระราชบิดา
      ต่อมามี เจ้าแม่มโนราห์ เป็นชายา เมืองฉอดปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ระมาดซึ่งอยู่เหนืออำเภอแม่สอดขึ้นไป พ่อขุนสามชนสืบราชสมบัติต่อมาไม่นาน ก็ทรงเริ่มทำสงครามแผ่ขยายอาณาเขต และด้วยเป็นขุนศึกที่เชี่ยวชาญเชิงยุทธ์ ประกอบกับมีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีย์รักไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน สาเหตุที่ขุนสามชน ทำศึกกับสุโขทัยนั้น เป็นเพราะความเข้าใจผิดกัน เพราะก่อนหน้านี้ ขอมสมาดโขลญลำพง ยึดอำนาจเป็นใหญ่ที่เมืองสุโขทัยและข่มเหงรังแกคนไทยมาก พ่อขุนสามชนจึงดำริว่า จะต้องยกกองทัพไปตีเมืองสุโขทัยก่อน เพื่อล้มอำนาจ ขอมสมาดโขลญลำพง และจะรวมไทยเข้าเป็นปึกแผ่นเข้าด้วยกัน โดยมีสุโขทัยเป็นเมืองแม่แต่ขณะที่ยกทัพไปนั้น
      พ่อขุนบางกลางท่าว กับ พ่อขุนผาเมืองได้ ปราบขอมสำเร็จแล้วและพ่อขุนบางกลางท่าว ก็ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรง พระนามว่าพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์ ขุนสามชนได้ข่าวก็รู้สึกยินดีเป็นล้นพ้น แต่ก็เดินทัพต่อเพื่อต้องการเกลี้ยกล่อมคนไทยด้วยกันให้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกรุงสุโขทัย หาได้ต้องการเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ แต่ทางสุโขทัยไม่ทราบเรื่อง เพราะขุนสามชนไม่ได้แจ้งให้ทราบจึงเกิดความเข้าใจผิด เมื่อกองทัพปะทะกันยังไม่ทันได้พูดจา จึงเกิดการต่อสู้กัน พ่อขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อ่อนล้าและกำลังจะถอยร่นไปนั้น พ่อขุนรามราชบุตรก็เข้ามาช่วยจนขุนสามชนเสียหลักและบาดเจ็บหลายแห่ง จึงถอยทัพกลับเมืองฉอด
      ฝ่ายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ก็มิได้ติดตามไปซ้ำอีกเพราะเห็นเป็นไทยด้วยกัน ขุนสามชนรู้สึกเสียพระทัยมากที่ลูกหลานไทยตายไปจำนวนมาก เมื่อทรงหายจากประชวรแล้ว ก็ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติให้พระอนุชา คือ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงษ์ และตรัสสอนว่าให้ดูแลทุกข์สุขของราษฎรทุกคนเหมือนลูกหลาน จงรวมคนไทยที่แตกแยกเข้าด้วยกัน หากเกิดศัตรูที่เป็นคนต่างชาติจะมาเอาแผ่นดิน จงรวมพลังต่อสู้
      ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน ตั้งอยู่ทางขวามือ ทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 70-71 ศาลนี้เพิ่งสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อปลายปี 2523 เหตุที่สร้างศาลนี้เล่ากันว่ามีคหบดีผู้หนึ่งเจ็บปวดด้วยโรคอัมพาตมาช้านานแล้วได้ฝันว่ามีผุ้มาบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้นตรงบริเวณที่เป็นศาลปัจจุบัน คหบดีผู้นี้จึงสร้างศาลขึ้นถวายเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อขุนสามชมนับแต่นั้นมาอาการของคหบดีผู้นั้น ก็เป็นปกติ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือศาลนี้มาก

คำสำคัญ : ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน

ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/tak/maesot/1014

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=810&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=810&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,218

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสนามกีฬาของอาเซียน ที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนตาก จากการเชื่อมโยง ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศได้ และรองรับโรงเรียนกีฬาของเทศบาลนครแม่สอด สำหรับสนามกีฬา 5 อำเภอชายแดนเป็นสนามกีฬามาตรฐาน มีลู่วิ่งยางสังเคราะห์ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างจากการวิ่งบนถนน และสามารถใช้แข่งขั้นกีฬาในระดับภูมิภาคจนไปสู่ระดับชาติได้ สถานที่จัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครแม่สอดอย่างเป็นทางการ

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 879

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ

ตลาดดอยมูเซอ จัดว่าเป็นตลาดสดของชาวไทยภูเขาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะจำนวนร้านค้าแผงลอยและจำนวนความหลากหลายของสินค้าเกษตรภายในตลาด เรียกว่ามีเยอะแยะละลานตาไปหมด ตลาดดอยมูเซอในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ตลาด แบ่งเป็นตลาดเก่าและตลาดใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น ลักษณะของตลาดดอยมูเซอเก่าจะเป็นตลาดในแนวยาวเรียงรายขนานไปตามถนนสายหลัก ซึ่งบรรยากาศจะคึกคักตลอดทั้งวัน ทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยภูเขา ชาวบ้านในแถบนั้น รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างก็แวะเวียนมาจับจ่ายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,431

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา

น้ำพุร้อนแม่ภาษา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก การเดินทางไปน้ำพุร้อนสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางเพียงประมาณยี่สิบกว่านาทีจากเมืองแม่สอด บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงตกแต่งสนามหญ้าและสวนหย่อม มีน้ำพุร้อนให้สำหรับต้มไข่ มีบ่อน้ำแร่ให้แช่เท้า และมีห้องอาบน้ำแร่

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,269

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกผาชัน อยู่ในเขตบ้านเจดีย์โคะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติเป็นน้ำตกขนาดเล็กมีชั้นเดียว มีลักษณะเป็นน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาหินปูนสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือมีเจดีย์อยู่ข้างตัวน้ำตก ในบริเวณนั้นเป็นเทือกเขาไม่สูงนัก ด้านหน้ามีหนองน้ำซึ่งเด็กในพื้นที่จะไปเล่นน้ำกันที่นี่ เนื่องจากเป็นที่ค่อนข้างโล่งกว้าง และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ใต้น้ำตกจึงมีลมเย็นๆ พัดตลอดน่าเป็นที่พักผ่อน นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปดูเจดีย์บนยอดเขาได้ โดยการขับรถไปตามทางหลวงห่างจากน้ำตกประมาณ 700 เมตรจะมีทางเข้าไปตามถนนผ่านหมู่บ้านเจดีย์โค๊ะ ลัดเลาะไปตามไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน แล้วเลี้ยซ้ายเข้าไปตามป้ายจะมีบอก หรือไม่ก็ถามชาวบ้านละแวกนั้นดู ไปได้ไม่ยาก เมื่อมาถึงบนยอดเขาแล้วจะเห็นเจดีย์ตั้งตระหง่าน พร้อมด้วยเส้นทางไปดูต้นทางของน้ำตกได้

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 3,805

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,131

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,100

วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนาราม

วัดไทยวัฒนาราม เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบไทยใหญ่ของพม่า จึงมีความงดงาม และวิจิตรบรรจง ในส่วนภายในวัดไทยวัฒนารามนั้นมีวิหาร ศาลา และพระพุทธรูปที่น่าสนใจดังที่ทีมงาน ท่องเที่ยว.com (ท่องเที่ยวดอทคอม) จะพาไปชมกัน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,135

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นครแม่สอด ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายและรองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจเกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเองเกิดจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองรวมไปถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 559

วัดโพธิคุณ

วัดโพธิคุณ

สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า  เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก   

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,776