เข็มป่า

เข็มป่า

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 3,117

[16.5055083, 99.509574, เข็มป่า]

ชื่อวิทยาศาสตร์     Ixora  Cibdela  Craib
ชื่อวงศ์                        RUBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ                       เข็มตาไก่  เข็มดอย  เข็มโพดสะมา  เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป
       ต้น            เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร
      ใบ             ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว
       ดอก         ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว
       ผล            มีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว
      นิเวศวิทยา   เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป
      ออกดอก       ตลอดปี
      ขยายพันธุ์    โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง
      ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap2/local//contents/kanchana_c/Hurb/62.jpg

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เข็มป่า. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=74&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=74&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พญาดง

พญาดง

พญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,586

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,358

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ  ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ  ประกอบด้วยใบย่อย    3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง  ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก  4  กลีบ  สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว  ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,738

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,176

ผักโขมสวน

ผักโขมสวน

ต้นผักโขมสวน จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 1.30 เมตร ส่วนยอดมีขนสั้นปกคลุม เจริญเติบโตได้เร็ว ต้องการความชื้นสูง มีแสงแดดตลอดวัน และชอบดินร่วน สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาค ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง ช่อดอกมีขนาดประมาณ 4-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,626

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,659

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,692

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,036

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,420

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,385