อุทยานแห่งชาติลานสาง

อุทยานแห่งชาติลานสาง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 1,290

[16.7824591, 99.0131061, อุทยานแห่งชาติลานสาง ]

        อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร 
        ในปี 2498 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ ป่าไม้เขตตาก ได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ริเริ่มจัดบริเวณน้ำตกลานสางเป็นวนอุทยานเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าลานสาง จังหวัดตาก และป่าอื่นๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ 
        ปี 2504 กรมป่าไม้ได้ริเริ่มดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าลานสาง และในปี พ.ศ. 2505 ในโครงการแผนพัฒนาภาคเหนือได้ให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้ประกาศป่าลานสางเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2511 ทั้งได้ดำเนินการจัดตั้งป่าสงวนแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติลานสางโดย นายสุรินทร์ อร่ามกุล ได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติลานสางที่ กส 0708(ลส.)/พิเศษ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 และโดยนายสมยศ สุขะพิบูลย์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ตามหนังสือ ที่ กษ 0808(ลว.)/115 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2519 ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งมีน้ำตกหลายแห่ง และสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 
        กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าลานสางเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าลานสาง ในท้องที่ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของขนาดพื้นที่ 65000.00 ไร่

 
ลักษณะภูมิประเทศ 
        สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขาเรียงตัวเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่แบบเทือกเขามีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชันทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain – shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่งหรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าวทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิดหรือหักตัวของชั้นหินที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา 
        ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่ามีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปี 

ลักษณะภูมิอากาศ
        อุทยานแห่งชาติลานสางแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส 

พืชพรรณและสัตว์ป่า
        อุทยานแห่งชาติลานสางเป็นจุดนัดพบของป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและบริเวณริมห้วยมีไม้สมพง กะบก ตะเคียนหิน เป็นพรรณไม้เด่น ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ก่อ และทะโล้ ป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกสนสองใบ อาจจะขึ้นปนอยู่กับเต็ง รัง เหียง พลวง และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ไม่รกทึบ พบ แดง ประดู่ มะค่าโมง สัก เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ตะคร้อ สมอ และไผ่หลายชนิด และ ป่าเต็งรัง พบบนเนินเขาสภาพพื้นที่มีหินโผล่ มีไม้เต็ง รัง และมะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้เด่น 
        สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวางป่า เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่ายป่า บ่าง และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง

การเดินทาง
        - รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ให้เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) ก่อนถึงจังหวัดตากประมาณ 7 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (สายเอเชีย 2 ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้ายตรงป้ายอุทยานแห่งชาติลานสาง ไปตามถนนอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 430 กิโลเมตร 
        - รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ - ตาก ลงที่สถานนีขนส่งจังหวัดตาก หรือสายอื่นๆ แต่ต้องแจ้งพนักงานขับรถโดยสารหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารว่าต้องการลงที่สถานีขนส่งจังหวัดตาก จากนั้นเดินทางต่อโดยรถตู้หรือรถบัส สายตาก - แม่สอด ให้แจ้งพนักงานขับรถโดยสารว่าต้องการไปที่อุทยานแห่งชาติลานสาง (ประมาณกิโลเมตรที่ 12) เมื่อถึงปากทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และร้านอาหาร และเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ค่ายพักแรม และร้านอาหาร การเดินเท้าเข้าอุทยานแห่งชาติ เส้นทางสบายๆ ถนนลาดยาง ไม่ลาดชัน ระหว่างทางมีน้ำตกให้ลงเล่นน้ำได้ 

 

คำสำคัญ : อุทยานแห่งชาติลานสาง

ที่มา : https://www.ท่องทั่วไทย.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). อุทยานแห่งชาติลานสาง . สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=691&code_db=610002&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=691&code_db=610002&code_type=TK001

Google search

Mic

วัดเขาถ้ำ

วัดเขาถ้ำ

วัดที่ตั้งอยู่ในถ้ำแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2437 โดยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2529 และปัจจุบันทางวัดได้เปิดสอน พระปริยัติธรรมแก่ประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาศึกษาพระธรรม หรือนั่งเจริญสติภาวนาเพื่อชำระจิตใจไปสู่ความสงบ นอกเหนือไปจากการชมและสักการะรอยพระพุทธบาท จำลองที่ประดิษฐานอยู่ในวัดแห่งนี้

 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,171

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี หรือที่เรียกว่า "สะพานแขวน" สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยาว 700 เมตร ฐานรากและเสาเป็นคอนกรีต จำนวน 5 จุด พื้นทำด้วยไม้โยง ยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ซึ่งในอดีตสามารถใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์สัญจรไปมาได้แต่ปัจจุบันเป็นสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์แม่น้ำปิง และมีการประดับไฟสวยงามในยามค่ำคืน

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,493

สะพานหินธรรมชาติ

สะพานหินธรรมชาติ

สะพานหินธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่เชื่อมติดกับหน้าผาสองข้างเข้าด้วยกัน คล้ายสะพาน มีความกว้างและความสูงประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร เบื้องล่างมีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเขียวชะอุ่มร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ใกล้กับสะพานหินมีถ้ำหินงอกหินย้อยงดงาม สะพานหินธรรมชาติอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนเข้าไปเที่ยวชมทุกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,280

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้งอยู่บนถนนจรดวิถีถ่อง ศาลนี้แต่เดิมอยู่ที่วัดดอยเขาแก้วฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง ต่อมาใน พ.ศ. 2490 ชาวเมืองเห็นว่าศาลนั้นไม่สมพระเกียรติ จึงช่วยกันสร้างศาลขึ้นใหม่พร้อมกับให้กรมศิลปากรหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า “พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2277 สวรรคต พ.ศ. 2325 รวม 48 พรรษา” ศาลนี้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,649

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง

ถ้ำธารลอดผาขาว–ผาแดง เกิดจากลำห้วยผาขาว – ผาแดง ไหลเลาะลงถ้ำด้านล่าง ความลึกที่สำรวจได้ 100 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 32 กิโลเมตร ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนทุกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,337

ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ตั้งอยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตาก และชาวอำเภอแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบ จึงชอบเสียงปืน ทำให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะมักยิงปืนถวาย จุดประทัด หรือบีบแตรถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,109

ต้นกระบากใหญ่

ต้นกระบากใหญ่

ต้นกระบากใหญ่ ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ มีขนาดความโตวัดโดยรอบได้ 16.10 เมตร ความสูง 50 เมตร ต้องใช้คนประมาณ 12 คน จึงจะโอบได้รอบลำต้น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งเป็นทางเดินลงเขาชันมาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้สนใจจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรเตรียมน้ำดื่มให้พร้อมสำหรับการเดินลงไปเที่ยวชมและเดินกลับขึ้นมา ระหว่างทางมีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติอยู่เป็นระยะ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,169

น้ำตกปางอ้าน้อย

น้ำตกปางอ้าน้อย

น้ำตกปางอ้าน้อย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ กว้างประมาณ 8 เมตร สูง 20 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เดินต่อจากต้นกระบากใหญ่เลียบลำน้ำไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,332

น้ำตกปางอ้าใหญ่

น้ำตกปางอ้าใหญ่

น้ำตกปางอ้าใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ความสูงประมาณ 80 เมตร จำนวน 4 ชั้น อยู่ห่างจากจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 24 กิโลเมตร ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 952

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช นอกจากเป็นจุดพักรถที่ดีเยี่ยมระหว่างการเดินทางแล้ว ศาลหลักเมืองสี่มหาราชยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะพาเรา ย้อนกลับไปสู่ความรุ่งเรืองแห่งตำนานมหาราชทั้งสี่ของดินแดนไทย อันสืบเนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เมืองตากเป็นเมืองที่มีพระมหาราชเข้าในอดีตเสด็จมาชุมนุมกองทัพถึง 4 พระองค์ด้วยกัน กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชในคราวศึกชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,533