อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,120

[16.5239306, 97.6014547, อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก]

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง

คำสำคัญ : อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า

ที่มา : http://www.holidaythai.com/thailand-attractions-370.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=656&code_db=610009&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=656&code_db=610009&code_type=TK001

Google search

Mic

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าตาก

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,120

วัดสวนกลางดอกไม้

วัดสวนกลางดอกไม้

วัดกลางสวนดอกไม้ ตั้งอยู่ บ้านปากห้วยแม่ท้อ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พศ. 2459 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดกลางสวนดอก” บ้างก็เรียกว่า “วัดสวนดอกไม้” พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบต่ำจึงมักถูกน้ำท่วมประจำ สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาหมู่บ้านและภูเขา อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 ชั้น กุฎีสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ หอฉัน วิหาร และมีหอระฆัง สำหรับ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปปางสมาธิจำนวน 7 องค์ อยู่ในวิหาร เจดีย์ 2 องค์

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,101

วัดบ้านเด่น

วัดบ้านเด่น

วัดบ้านเด่น ตั้งอยู่ที่บ้านเด่น ถนนยุทธหัตถี หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบัวเหนือ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 25 ตาราวาง อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของนายเคลื่อน ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของนายจันทร์ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนยุทธหัตถี ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนางย่น แก้วมหาวงษ์

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,258

วัดส้มเกลี้ยง

วัดส้มเกลี้ยง

วัดส้มเกลี้ยง ตั้งอยู่ที่บ้านป่ามะม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลป่ามะม่วง อำเอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 96.10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับบ้านของนายมี และนายล้วน ทิศใต้ติดต่อกับบ้านของ น.ส. แต้ม นายสมพร นายมี ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับที่สวนของนายจ๊อด โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 7964 เป็นหลักฐาน

 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,364

วัดมะเขือแจ้

วัดมะเขือแจ้

วัดมะเขือแจ้ ตั้งอยู่เลขที่ 451 บ้านเสาสูง ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับถนนท่าเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนเทศบาลไปเกาะลอย ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 1865 เป็นหลักฐาน

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,502

วัดโป่งแดง

วัดโป่งแดง

วัดโป่งแดง ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งแดง หมู่ที่ 2 ตำบลโป่งแดง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 72 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินนายจวน ทิศใต้ติดต่อกับถนนไปยังบ้านน้ำดิบ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนายแอ๊ว

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,072

วัดโพธาราม

วัดโพธาราม

วัดโพธาราม ตั้งอยู่เลขที่ 112 บ้านปากคลองน้อย ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 39.50 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 649 เป็นหลักฐาน และมีที่ ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 38 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2171

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,257

วัดเชียงทอง

วัดเชียงทอง

วัดเชียงทอง ตั้งอยู่เลขที่ 185 บ้านเชียงทอง ถนนไทยชนะ ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 41 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินเลขที่ 3-4 ทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินเลขที่ 4 และถนนไทยชนะ โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 1862 เป็นหลักฐาน และมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 3 งาน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1864

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,184

 วัดท่าไม้แดง

วัดท่าไม้แดง

วัดท่าไม้แดง ตั้งอยู่เลขที่ 163 บ้านท่าไม้แดง หมู่ที่ 3 ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 96.80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินนายคง คุ้มมี ทิศตะวันออกติดต่อกับคลองส่งน้ำชลประทาน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนบ้านวังหิน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ 3814 เป็นหลักฐาน และมีธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 12.50 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 6471

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,602

วัดดอยข่อยเขาแก้ว

วัดดอยข่อยเขาแก้ว

วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือวัดพระเจ้าตาก นับว่าเป็นมงคลธรรมแก่สถานที่อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว ในปีพุทธศักราช 2534 - 2547 มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากฯ และจังหวัดตาก พร้อมด้วยกรมศิลปากร ได้ร่วมกันขุดค้นและบูรณะโบราณสถานภายในบริเวณวัดแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าบริเวณดังกล่าว มีการตั้งรกรากถิ่นฐาน และสร้างอาคารศาสนสถาน สมัยที่ 1 ในระหว่าง 1,500-2,000 ปีมาแล้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยที่ 2 กลุ่มชนสมัยอยุธยา เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จากหลักฐานในพระราชพงศวดาร กล่าวว่าในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช 2091-2111) พระเจ้าหงสาวดีได้ให้พระเจ้าเชียงใหม่ต่อเรือรบไว้ที่ตำบลระแหง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตาก) จึงเป็นชุมชนตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเข้าตีหัวเมืองเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,099