วัดวังม่วง
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 1,055
[16.949605, 99.0996773, วัดวังม่วง]
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมน้ำฝั่งแม่น้ำปิง และมีถนนผ่านการคมนาคทมสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี ศาลากรเปรียญกว้าง ๑๘.๘๐ เมตร ยาว ๒๕.๕๐ เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ วัดวังม่วง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๕ มีนามตามชื่อบ้าน ประชาชนร่วมใจกันจัดสร้างวัดนี้เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศลประจำหมู่บ้านของตน ก่อนหน้านี้วัดมีสภาพทรุดโทรมขากการทะนุบำรุง ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นมา สมัยที่พระอธิการไพฑูรย์ มนฺตาคโม มารักษาการเจ้าอาวาส ได้ทำการบูรณะพัฒนาเป็นอันมาก และจะเป็นวัดเจริญรุ่งเรืองต่อไป สำหรับพระภิกษุอยู่จำพรรษาประจำมี ๒ รูป สามเณร ๓ รูป
คำสำคัญ : วัดวังม่วง
ที่มา : http://tak.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=253:2012-05-11-06-28-51&catid=59:2012-04-26-03-31-07&Itemid=120
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). วัดวังม่วง. สืบค้น 11 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=805&code_db=610009&code_type=TK001
Google search
วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ใจกลางเมือง ติดกับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเสกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,267
เป็นอารามหลวงประจำจังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2390 เดิมชื่อ " วัดเขาแก้ว"เนื่องจากพื้นที่ที่ตั้งวัดมีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งลึกลงไปประกอบด้วยหินแก้วน้ำค้าง หรือที่เรียกกันว่า "เขี้ยวหนุมาน" สิงที่น่าสนใจมีพระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.2435 โดยท่านเผือกเจ้าของตลาดในจังหวัดสุโขทัย พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระแสนทอง" พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตัก 30 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองตาก ผู้ที่ต้องการสักการะพรแสนทอง ควรมาวันพระ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,278
วัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่ที่บ้านแพะ ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 6 ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 82 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 304 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนางอมรา และนายธรรม ทิศใต้ยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันออกยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันตกยาว 505เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายชัยไชย์ โคติบุลโล
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 502
วัดท่าไม้แดง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๓ บ้านท่าไม้แดง หมู่ที่ ๓ ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๙๖.๘๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินนายคง คุ้มมี ทิศตะวันออกติดต่อกับคลองส่งน้ำชลประทาน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนบ้านวังหิน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๘๑๔ เป็นหลักฐาน และมีธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๑๒.๕๐ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๗๑
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,411
วัดโป่งแดง ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งแดง หมู่ที่ ๒ ตำบลโป่งแดง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗๒ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินนายจวน ทิศใต้ติดต่อกับถนนไปยังบ้านน้ำดิบ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนายแอ๊ว
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 918
วัดท่านา ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านหนองบัวใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๖๐ วา ติดต่อกับที่ธรณีสงฆ์ ทิศใต้ยาว ๖๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัดสายตาก – บ้านตาก ทิศตะวันออกยาว ๒๔๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด ทิศตะวันตกยาว ๒๔๐ วา ติดต่อกับทางหลวงจังหวัด โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๖๓๙,๒๔๔๓
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,240
วัดคลองสัก ตั้งอยู่ที่บ้านคลองสัก หมู่ที่ ๑ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๓๗ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๒ เส้น ๑๗ วา ๒ ศอก ติดต่อกับที่ดินของดาบตำรวจประสาท ทิศใต้ยาว ๒ เส้น ๑๐ วา ติดต่อกับทางสาธารณะและลำคลอง ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๑๐ วา ติดต่อกับลำคลองและป่าไม้ ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้น ๑๗ วา ๒ ศอก ติดต่อกับที่ดินกำนันอยู่ ด้วงนา โยมี น.ส. ๓ เลขที่ ๔๕๓๔ เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,304
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองตากเก่า ดินแดนล้านนาตะวันตก อายุกว่า 2,000 ปี ที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเป็นที่หมายปองของ 2 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีด คือ ล้านนา และสุโขทัยตั้งอยู่บริเวณตำบลเกาะตะเภา ลักษณะเดิมของเมืองตากเก่าตั้งอยู่บนเนินดินสูงราว 20 เมตร มีกำแพงเมืองและคูน้ำล้อมรอบด้านละ 2-3 ชั้น ร่องรอยของแนวกำแพงเมืองซึ่งสร้างเป็นดินเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 172 ไร่ ปัจจุบันเป็นป่าไผ่ และเนินเขาสภาพทั่วไป ตัวเมืองเป็นรูปวงรีไปตามลักษณะของเนินเขาที่ตั้งตัวเองอยู่ห่างจากแม่น้ำ ปิงประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์ยุทธหัตถี วัดสันย่าผ้าขาว วัดโขงพระโหมด วัดโองโมงค์ วันหนองช้างเผือก ด้านทิศใต้มีห้วยล้องลี่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการดัดแปลงของมนุษย์ ด้านทิศเหนือมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเล่ม ด้านทิศตะวันออกมีแนวแม่น้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,923
วัดบ้านเด่น ตั้งอยู่ที่บ้านเด่น ถนนยุทธหัตถี หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบัวเหนือ อ.เมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๙ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตาราวาง อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของนายเคลื่อน ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของนายจันทร์ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนยุทธหัตถี ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินนางย่น แก้วมหาวงษ์
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,064
วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือ วัดพระเจ้าตาก ตั้งอยู่บนเนินเขา ขนาด 100 x 600 สูง 20 เมตร ทางทิศใต้ของห้วยแม่ท้อและอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง วัดนี้ตั้งห่างจากแม่น้ำปิง ประมาณ 250 เมตร อยู่ในเขต ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปัจจุบันไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่มีพระธุดงค์แวะพักปักกรด ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ไม่ขาด ซึ่งนับว่าเป็นมงคลธรรมแก่สถานที่อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว ในปีพุทธศักราช 2534 - 2547 มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากฯ และ จังหวัดตาก พร้อมด้วย กรมศิลปากร ได้ร่วมกันขุดค้น และบูรณะโบราณสถานภายในบริเวณวัดแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าบริเวณดังกล่าว มีการตั้งรกรากถิ่นฐาน และสร้างอาคารศาสนสถาน สมัยที่ 1 ในระหว่าง 1,500 – 2,000 ปีมาแล้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยที่ 2 กลุ่มชนสมัยอยุธยา เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จากหลักฐานในพระราชพงศวดาร กล่าวว่าในสมัยของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช 2091-2111) พระเจ้าหงสาวดี ได้ให้ พระเจ้าเชียงใหม่ ต่อเรือรบไว้ที่ ตำบลระแหง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตาก) จึงเป็นชุมชนตั้งแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยา เข้าตี หัวเมืองเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 919