ขนมเทียนไส้เค็ม
เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้ชม 6,027
[16.4704906, 99.5314415, ขนมเทียนไส้เค็ม]

1. แป้งข้าวเหนียว
3. กะทิ
4. ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือก
6. เกลือป่น
7. พริกไทยป่น
8. หอมแดงสับละเอียด
9. น้ำมันถั่วเหลือง
10. ใบตองตัดทรงกลม
11. ใบตองตัดทรงกลม
วิธีทำ
1. เริ่มจากทำตัวแป้งก่อนโดย นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวจนเหนียวแล้วจึงนำไปนวดกับแป้งข้าวเหนียวจนเข้ากันดี
2. เตรียมทำไส้หวาน โดยนำน้ำตาลโตนดเคี่ยวกับมะพร้าวจนแห้งจึงปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ สำหรับไส้เค็ม ให้นำน้ำมันใส่กระทะไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นใส่ถั่วนึ่ง, พริกไทย, เกลือและน้ำตาลทราย ผัดจนหอมและส่วนผสมเข้ากันทั่วจึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น
3. ห่อขนมโดยตัดใบตองเป็นแผ่นๆ เช็ดให้สะอาดและทาด้วยน้ำมันนิดหน่อย ตักแป้งใส่แล้วห่อไส้เค็มหรือไส้หวานตามชอบ จากนั้นนำแป้งอีก ก้อนวางลงบนไส้ ห่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยม นำไปนึ่งประมาณ 30 นาทีจนสุกดี
4. จัดใส่่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบาย ๆ
คำสำคัญ : ขนมไทย ขนมเทียนไส้เค็ม
ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_Tian_th.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมเทียนไส้เค็ม. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=589&code_db=610008&code_type=01
Google search
ขนมเทียนไส้เค็ม ขนมเทียนนอกจากนิยมทำในพิธีงานมงคลต่างๆแล้ว ยังเป็นขนมที่ใครๆหลายคนขื่นชอบ เพราะรสชาติที่หวาน เค็ม และเผ็ดจากพริกไทย ซึ่งพอรวมกันแล้วจะได้ความเหนียวนุ่มน่ารับประทาน และเป็นขนมอีกอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมรับประทานกันแต่ส่วนมากจะนิยมทำกันแค่ในช่วงเทศกาล
เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 6,027
ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,050
แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,091
ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย
เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 1,953
กล้วยเชื่อม ขนมพื้นบ้านนครชุม ทำจากกล้วยไข่ตัดหัวและท้ายผลกล้วย จากนั้นก็ปอกเปลือกและผ่าครึ่งแช่น้ำไว้ เทน้ำเปล่าลงไปในกระทะ ใส่เกลือและใบเตยมัดปม แล้วตามด้วยกล้วย เทใส่ลงไป ต้ม 15 นาที ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตาลมะพร้าว ต้มจนน้ำตาลละลาย บีบมะนาวลงไป ต้มจนน้ำแห้งลดลงครึ่งนึง เสร็จแล้วปิดไฟแล้ววางพักไว้ พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,102
มันรังนก เป็นขนมท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนผสมประกอบด้วย มันเทศ ๒ หัว น้ำมันสำหรับทอด ๓ ถ้วยตวง น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วยตวง แบะแซ ๑ ช้อนโต๊ะ งาคั่ว ๓ ช้อนโต๊ะ เกลือป่น ½ ช้อนชา สำหรับวิธีการทำ เริ่มจากการปอกเปลือกมันเทศแล้วรีบแช่ลง ในน้ำผสมน้ำมะนาว (น้ำ ๑ ถ้วย : น้ำมะนาว ๑ ช้อนโต๊ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดำ) แล้วจึงหั่นมันเป็นเส้นสี่เหลี่ยมขนาดก้านไม้ขีด ให้ได้ ๕–๖ ถ้วยตวง ล้างน้ำผสมน้ำมะนาวแล้วสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่กระด้งผึ่งจนหมาด ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันร้อนแบ่งมันลงทอดทีละน้อย จนกรอบเหลืองแล้วช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งกระทะทองใส่น้ำ ๒/๓ ถ้วยตวง ใส่น้ำตาลแบะแซและเกลือเคี่ยวไปจนเหนียวเหมือน “ยางมะตูม” จึงใส่มันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วโดยเร็ว โรยงาคั่ว ให้ติดประปรายทั่วไป แล้วจึงยกกระทะลง ใช้ช้อนตักให้เป็นก้อนกลมๆ บางบ้านหยอดลงในถ้วยกระดาษเล็กๆ หรือบางบ้านเพียงแต่ตะล่อมเป็นก้อนกลมๆ โดยไม่ใส่ถ้วยก็ได้ ผึ่งไว้ให้เย็นจึงเก็บเข้าขวดแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,609
ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า “ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า “ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า “ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า “เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,873
แกงก้านคูน หรือแกงคูน เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนรู้จักกันเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้และเครื่องปรุงส่วนใหญ่ เป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก ในชุมชน ส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย คูนก้านอ่อน ๑๐๐ กรัม เนื้อปลาช่อนสด หรือปลาช่อนย่าง หรือกุ้งฝอย ๑๐๐ กรัม มะเขือเทศลูกเล็ก ๔ ลูก มะนาว ๑ ผล ใบแมงลัก ๓ ต้นใช้แต่ใบ เครื่องแกงประกอบด้วย พริกหนุ่ม ๓ เม็ด หอมแดง ๓ หัว กระเทียม ๒๐ กลีบ ขมิ้นซอย ๑ ช้อนโต๊ะ คะไคร้ซอย ๒ ช้อนโต๊ะ เกลือ ๑ ช้อนชา กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ วิธีปรุง ให้เริ่มจากการแกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน คลุกกับเกลือและน้ำ แล้วจึงบีบน้ำออกเพื่อให้ก้านคูนนิ่ม โขลกเครื่องแกงรวมกันจนละเอียด ต้มน้ำสะอาดจนเดือด ละลายเครื่องแกงลงในน้ำเดือด ใส่ก้านคูนที่เตรียมไว้ลงในหม้อ หลังจากนั้น จึงใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือดใส่เนื้อปลาช่อน พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนจนเข้ากัน ปิดไฟ เป็นอันเสร็จ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,816
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 523
เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน รวมทั้ง “ทองม้วน” เมื่อรับเอามาแล้วจึงนำมาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง และคนสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำขนมชนิดนี้ใส่โหลแก้วหรือปี๊บเก็บไว้ในบ้านสำหรับต้อนรับลูกหลาน ญาติรวมทั้งผู้ที่ไปมาหาสู่ การก่อตั้งกลุ่มรวมกลุ่มแม่บ้านที่ว่างงาน รวมกลุ่มกันทำขนมทองม้วน ได้จัดตั้งชื่อกลุ่มว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้านโนนใน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าเอื้องนาค
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 8,698