เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 1,816

[16.3756831, 99.5572803, เจดีย์เจ็ดยอด]

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ ส่วนยอดหักพังลงมาหมดฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกทำเป็นซุ้มพระยื่นออกมาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐอยู่หลายองค์

 

 

คำสำคัญ : เจดีย์เจ็ดยอด

ที่มา : http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=510241&random=1488095195836

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เจดีย์เจ็ดยอด. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=250&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=250&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,421

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,249

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,816

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,524

ริมน้ำปิง

ริมน้ำปิง

บรรยากาศริมน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกำแพงเพชร อีกหนึ่งสถานที่ ช่วงเวลายามเย็นจะมีประชาชนมาวิ่งออกกำลังกาย นั่งชมบรรยากาศริมปิง เดินทางมาเป็นครอบครัว เป็นคู่ และบริเวณแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับสวนสิริจิตอุทยาน ยังมีบริการนวดผ่าเท้า เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามยามเย็นอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,817

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,323

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,396

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 813

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,541

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,487