ประเพณีทอดเทียนโฮม

ประเพณีทอดเทียนโฮม

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้ชม 3,546

[16.5406654, 99.9697608, ประเพณีทอดเทียนโฮม]

         ประชาชนส่วนใหญ่ของตําบลประชาสุขสันต์ เป็นชนอีสาน อพยพมาจากจังหวัดในภาคอีสานมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ จึงได้นําประเพณีที่เคยทํากันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาเป็นประเพณีท้องถิ่นของที่นี่ด้วยเช่นกันประเพณีทอดเทียนโฮมเป็นประเพณีหนึ่งที่ผู้นําหมู่บ้านและผู้อาวุโสที่ชาวบ้านนับถือ ช่วยกันก่อตั้งขึ้นมานําโดยนายสมดี เพ็ญริยะ กํานันสุดใจ หล้าหาญ และนายสมพงษ์ คลังสมบัติ          
         ประเพณีทอดเทียนโฮม โฮม หมายถึง การรวมกัน การทอดเทียนเหมือนกับการแห่เทียนจํานําพรรษาของคนภาคกลาง จะแตกต่างบ้างเล็กน้อย ท่านกํานันสุดใจ เล่าให้ฟังว่า “ การทอดเทียนโฮม ชาวบ้านจะมาแต่งต้นเทียนช่วยกัน โดยเฉพาะแม่บ้านจะมาช่วยกันพับแมงดา ทําบายศรี เพื่อตกแต่งต้นเทียนให้สวยงามจะทําประมาณ 1–2 วัน นอกจากต้นเทียนแล้วจะมีต้นเงิน คล้ายกับการตั้งกองผ้าป่า จะมีต้นกล้วยและให้ชาวบ้านช่วยกันบริจาคนําเงินไปติดที่ต้นกล้วย จํานวน 1 ต้น ”         
          นอกจากมีการจัดแต่งต้นเทียนและต้นเงินแล้ว จะมีการประกวดขบวนแห่ และสวดสรภัญญะ การประกวดขบวนแห่ต้องมีการรําหน้าขบวน เยาวชนกระทั่งผู้สูงอายุจะซ้อมรํา และรําหน้าขบวน ส่วนฝ่ายชายเล่นดนตรี เป่าแคน การซ้อมรําประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อพร้อมกันทั้งหมดแล้วจะนําขบวนแห่ไปที่วัด ปัจจุบันหมู่บ้านที่มาร่วมทอดเทียนโฮมไปวัดมี 9 วัด คือ บ้านประชาสุขสันต์ บ้านหนองกรด บ้านก้าวเจริญพร บ้านลานตาบัว บ้านเกศกาสร บ้านปรือพันไถ บ้านช่องลม บ้านคลองเจริญ และบ้านแม่ยื้อ โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการทอดเทียนสัปดาห์ละ 1 วัด โดยเริ่มตั้งแต่เข้าพรรษา เมื่อครบ 9 วัดก็ออกพรรษาพอดีนอกจากนี้กิจกรมที่จัดกลางแจ้งจะมีการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน การแข่งขันเปตอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน จุดโคมไฟลอดบ่วง โดยใช้สนามที่วัด
         จากกิจกรรมที่หลากหลายมิได้เน้นในเรื่องฟังธรรมเพียงอย่างเดียว เป็นการชักจูงลูกหลานให้เข้าวัดอย่างไม่น่าเบื่อ การเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างหมูบ้าน ความสามัคคีที่เกิดกับชุมชน การส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีกิจกรรมร่วมกัน จึงเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีต่อไป          
         คนในชุมชนมีความเสียสละ มีความสามัคคีเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างหมู่บ้านให้เป็นหนึ่งเดียว โดยมิได้มีการแยกเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเยาวชนเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น

คำสำคัญ : ทอดเทียนโฮม

ที่มา : http://kwamhansa.blogspot.com/2017/02/blog-post.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประเพณีทอดเทียนโฮม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1266&code_db=610004&code_type=11

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1266&code_db=610004&code_type=11

Google search

Mic

การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์

การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์

ประเพณีการแห่พระลานกระบือ ที่เรียกว่า “แห่พระ” เนื่องมาจากการประชาชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นล้อเกวียนแห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ ประเพณีการแห่พระลานกระบือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลลานกระบือดั่งเดิมได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้หายไปจนกระทั่งมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง สำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือจึงได้ฟื้นฟูประเพณีการแห่พระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2545 การจัดงานจะจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน โดยจัดในพิธีแห่พระในวันที่ 16 เมษายน เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 797

ประเพณีทอดเทียนโฮม

ประเพณีทอดเทียนโฮม

ประเพณีทอดเทียนโฮม โฮม หมายถึง การรวมกัน การทอดเทียนเหมือนกับการแห่เทียนจํานําพรรษาของคนภาคกลาง จะแตกต่างบ้างเล็กน้อย ท่านกํานันสุดใจ เล่าให้ฟังว่า “ การทอดเทียนโฮม ชาวบ้านจะมาแต่งต้นเทียนช่วยกัน โดยเฉพาะแม่บ้านจะมาช่วยกันพับแมงดา ทําบายศรี เพื่อตกแต่งต้นเทียนให้สวยงามจะทําประมาณ 1–2 วัน นอกจากต้นเทียนแล้วจะมีต้นเงิน คล้ายกับการตั้งกองผ้าป่า จะมีต้นกล้วยและให้ชาวบ้านช่วยกันบริจาคนําเงินไปติดที่ต้นกล้วย จํานวน 1 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 3,546

ภาษาถิ่นลานกระบือ

ภาษาถิ่นลานกระบือ

ลานกระบือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มี น้ำมันอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน มีหัตถกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่มีความเหมือนและคล้ายกับภาษาถิ่นทั้งของพรานกระต่ายและสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,177

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน เป็นภูมิปัญญาของชาวอำเภอลานกระบือ ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เนื่องจากในอดีตถนนหนทางในเขตอำเภอลานกระบือ ซึ่งเป็นชนบท การเดินทางไม่สะดวกเหมือนเช่นในปัจจุบัน ชาวบ้านต้องอาศัยเกวียนในการเดินทางติดต่อกันระหว่างอำเภอ และหมู่บ้าน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการแห่พระด้วยเกวียน ดังนั้นจึงจัดการแห่พระด้วยเกวียนขึ้นในช่วงสงกรานต์ขึ้น ซึ่งแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนโดยใช้ประเพณีเป็นตัวประสาน ให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขรักษาความเป็นไทย และประเพณีท้องถิ่นไว้สืบชั่วลูกชั่วหลาน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,020

หนังตะลุง

หนังตะลุง

กำแพงเพชร จะมีวงหนังตะลุงระดับมืออาชีพ ….เหลือเชื่อเหลือเกิน ที่หมู่บ้านช่องลม..ตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชร มีสุดยอดฝีมือในการจัดการ เรื่องหนังตะลุง ตั้งแต่ ผลิต เล่น เชิด ร้อง อยู่ในคนๆเดียวกัน น่าชื่นชมยิ่งนัก ในการรักษาวัฒนธรรมไว้แม้มิใช่วัฒนธรรมกำแพงเพชรก็ตาม 

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 6,240