กรุวัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้ชม 5,194
[16.5023394, 99.5057151, กรุวัดช้างรอบ]
ที่ตั้งกรุพระวัดช้างรอบ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่
1. พระซุ้มกอ เนื้อชิน-ดิน
2. พระท่ามะปราง เนื้อสำริด-ชิน
3. พระนางพญากำแพง เนื้อชิน
4. พระเม็ดมะเคล็ด เนื้อผงดำ
5. พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น เนื้อชิน
6. พระท่ามะปราง เนื้อสนิมแดง
7. พระลีลากำแพง เนื้อชิน-ดิน
8. พระอู่ทองกำแพง เนื้อชิน
9. พระกลีบบัว เนื้อดิน
10. พระงบน้ำอ้อยพิมพ์สิบพระองค์ เนื้อดิน
และพิมพ์อื่นๆ
คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ
ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุวัดช้างรอบ. สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1203&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระเชตุพนหน้าโหนก กรุบรมธาตุ กำแพงเพชร เนื้อชินเงิน ขนาดกว้าง 1.5 สูง 2.0 เซนติเมตร สภาพสวยสมบูรณ์มาก พร้อมตลับทองปิดหลังอย่างดี หนัก 7.82 กรัมพุทธศิลป์นั้นเป็นพระศิลปะสุโขทัยผสมผสานฝีมือช่างสกุลกำแพงเพชร เท่าที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อว่าน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเมืองกำแพงเพชร มีวัดต่างๆ มากมาย ร่วม ๒๐ วัด จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดที่มีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์ ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 15,146
เหรียญพระวิเชียรธรรมคณี หลวงพ่อทองพาน วัดคูยาง จ กำแพงเพชร รุ่นรอดมรณะ พ.ศ.๒๕๒๑ ตอกโค้ดเลข ๑ สวย
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 2,872
จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 11,875
ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 6,681
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,175
ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,926
พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,987
ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,384
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,739
ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 6,422