ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 9,295
[16.3771227, 99.4885613, ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี]
ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี ๑๑ ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก ๓ ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด เพราะพระฤๅษีแต่ละตนที่มาร่วมกันสร้างพระนั้น บางตนมีถิ่นพำนักอาศัพอยู่ที่หิมาลัยในดินแดนชมพูทวีปเลยทีเดียว พระฤๅษีแต่ละตนล้วนมีฤทธานุภาพเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างสบาย และการที่รวบรวมว่านยาอันวิเศษมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างพระนั้นก็ต้องอาศัยการเหาะเหินเดินอากาศไปเก็บเอาว่านยานั้นๆ มานะครับ มิใช่เรื่องง่ายๆ เลย สำหรับคนธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ทีนี้เรามาดูกันว่า ว่านยาอันศักดิ์สิทธิ์นั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้างครับ อันว่ามวลสารที่ใช้ในการประกอบในการสร้างพระกำแพงทุ่งเศรษฐีนั้นประกอบไปด้วยพฤกษาชาติอันวิเศษศักดิ์สิทธิ์ที่หาได้ยากยิ่งในแผ่นดินโลกมนุษย์อันได้แก่ พญาว่านอันมีตระกูลเป็นราชาแห่งว่านทั้งหลาย จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด เกษรดอกไม้อันเป็นมงคลนามและเป็นของวิเศษ จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด กฤษณาอันมีอิทธิฤทธิ์ จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด รากแห่งพญาไม้อันเป็นมงคลและเป็นต้นตระกูลแห่งยาวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์ จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด แร่ธาตุอันวิเศษที่หาได้ยากยิ่งในสามโลกธาตุ จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด ดินใจกลางสถานที่อาถรรพณ์อันวิเศษ จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด หมากมณีโคตรมหายาอันทรงมหาฤทธานุภาพที่พระฤๅษีกระไลโกฏิสรา้งไว้ที่เชิงเขาหิมาลัย จำนวน ๑,๐๐๐ ชนิด น้ำทิพย์อันวเศษจากมหานทีอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามโลกธาตุ ซึ่งการที่จะรวบรวมมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์และหาได้ยกยิ่งมาให้ครบทุกชนิดนั้น คนธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงต้องอาศัยพระฤๅษีที่ทรงญาณสมาบัติและมีฤทธานุภาพเหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นผู้ไปทำการรวบรวมเอาของวิเศษเหล่านั้นมา หลังจากนั้นจึงทำการบดรวมผสมให้เป็นผงวิเศษและทำการอธิษฐานจิตปลุกเสก ซึ่งต้องกระทำพิธีกรรมอันเป็นแรมเดือน จึงจะสำเร็จเป็นพระพิมพ์ต่างๆ ของเมืองกำแพงทุ่งเศรษฐี ในการนี้จะต้องทำพิธีกรรมบวงสรวงอันเชิญ พระพิฆเณศวร พระศิวะเทพ พระนารายณ์ พระพรหมเทพ พระอินทร์ พระแม่ธรณี พระพิรุณเทพ พระพายเทวา พระเพลิง ตลอดจนปวงเทพพระเทวาทุกพระองค์ ทุกชั้นฟ้าและพสุธาอย่างครบถ้วนแล้ว ประกอบพิธีการบรรจุพระเวทย์และพระพุทธมนต์ ตลอดจนพระคาถาทั้งปวงอันประสิทธิในองค์พระพิมพ์ทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีการอธิษฐานจิตเพิ่มพลังเป็นการเฉพาะของพระฤๅษีแต่ละตนอีกด้วย พระกำแพงทุ่งเศรษฐีทุกพิมพ์ล้วนแล้วแต่มีคุณวิเศษยิ่งนักสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่เคารพศรัทธาและได้ครอบครองบูชา มั่งมีเงินทองได้เป็นเศรษฐีได้อย่างน่าพิศวง สมกับที่จารึกไว้ในแผ่นทองคำที่บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์ว่า ใครมีกูไว้ไม่จน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันเสนียดจัญไรต่างๆ ได้อย่างวิเศษและมาอานุภาพทางด้านมหาอุต แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มหาเสน่ห์ เมตตามหานิยมเป็นเยี่ยมอีกด้วย พระพิมพ์ทุ่งเศรษฐีนี้ในปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่งนัก เพราะแตกกรุออกมาตั้งแต่ยุคต์โบราณแล้ว เพราะเชื่อว่ามีอานุภาพมากในลาภสักการะและอุดมไปด้วยโภคทรัพย์ จึงเป็นที่นิยมแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมทั้งหลาย และราคาในการเช่าบูชาก็แพงลิบลิ่วด้วยครับ พระกำแพงงบน้ำอ้อย เป็นปางมหาปาฏิหารย์ พิมพ์นี้เป็นเอกลักษร์ของพระกรุกำแพงเพชร หรือกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษร์ปางปาฏิหารย์ของพุทธศิลป์สุโขทัยก็ว่าได้ โดยเรียงประกอบกันเป็นวงกลม แบบพระธรรมจักรตามอิทธิพลจากยุคทวารวดี พระกำแพงงบน้ำอ้อย กรุพิกุล จ.กำแพงเพชร องค์นี้พระดูง่ายมากๆ เป็นองค์ครูพระกรุกำแพงเพชรได้เลย หรือใช่แทนพระซุ้มกอได้ พุทธคุณเท่ากันครับ สำหรับพระคาถาอาราธณาพระกำแพงทุ่งเศรษฐีทุกพิมพ์นั้นมีดังนี้ครับ อิติปิโส ญาคูระติ นะมะอะอุ
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : ห้องพระบ้านปลัดฯ. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=643891815623090&id=207161479296128&substory_index=0
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1182&code_db=610005&code_type=01
ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 1,834
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 1,310
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 2,853
พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่าง ๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 9,487
ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 1,962
พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,573
ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 1,676
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง ๕ กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 14,927
เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่า ได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ ( อ้างว่า ) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้น ไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ( ข้อมูลจาก พระเครื่องเรื่องของขลัง โดย ประชุม กาญจนวัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ) พระซุ้มกอกรุฤาษี เป็นที่นิยมมากตั้งแต่มีการพบ เพราะมีความลึก ชัด และมีลายละเอียดสวยงามมากกว่ากรุอื่นๆที่พบก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นที่กรุฤาษีนี้ยังพบพิมพ์ที่มีกำไลเท้าสามปล้อง มีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ( ข้อมูล อ้างแล้ว ) พระซุ้มกอกรุฤาษีพิมพ์กำไลเท้าสามปล้องนี้เนื่องจากมีจำนวนน้อยมากปัจจุบันจึงไม่ได้พบเห็นเลย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,260
ที่ตั้งกรุพระวัดคูยาง อยู่ตำบลในเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดถนนวิจิตร ทิศใต้ติดถนนซอย 3 ราชดำเนิน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระซุ้มยอ พระนารายณ์สีกร พระร่วงนั่งฐานสำเภา พระขุนไกร พระปิดตา พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลาตักแตน พระสี่ทิศ พระนางพญากำแพง พระขุนแผน พระคง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 1,901