สวนสาธารณะบึงวังดำน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 1,331
[16.5586235, 99.432693, สวนสาธารณะบึงวังดำน้ำ]
ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีบึงขนาดใหญ่กว้างราวร้อยเมตรยาวกว่าพันเมตรขนานไปกับแม่น้ำปิงอยู่ใกล้กับตัวเมืองนครชุม ติดต่อกับตำบลทรงธรรมอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ชาวบ้านบอกเล่าต่อกันมาว่าในอดีตราวสมัยสุโขทัยเคยใช้เป็นสถานที่พิจารณาคดีของผู้ต้องหา ชาวบ้านเรียกกันว่าบึงดำน้ำบ้างวังดำน้ำบ้าง
ที่บึงวังดำน้ำมีศาลหรือจุดสำคัญในการบวงสรวงสักการบูชาก่อนจะตัดสินความด้วยการดำน้ำ มีท่าน้ำสำหรับลงดำเพื่อพิจารณาคดีความหลังจากที่ไม่มีพยานหลักฐานและข้อมูลพอในการตัดสินความแก่คู่คดีได้จึงใช้วิธีสุดท้ายคือวิธีการตัดสินคดีด้วยการดำน้ำ ขั้นตอนแรกเริ่มด้วยการการบวงสรวงสักการบูชา จากนั้นให้ผู้ต้องหาลงไปในน้ำ และให้ศรีษะดำน้ำลงไป ใครที่ขึ้นมาก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้คดีและจะถูกลงโทษ ส่วนใครขึ้นจากน้ำทีหลังจะเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ใช่ผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นวิธีการใช้อำนาจเหนือธรรมชาติของมนุษย์มาตัดสิน ซึ่งมีความเชื่อถือในเรื่องการใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาตัดสินความกัน นับว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของการพิจารณาคดีของประเทศไทยในอดีต
ปัจจุบันบึงวังดำน้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและทางกฎหมายที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแหล่งหนึ่ง เพราะมีประวัติศาสตร์และมีที่มาที่ชัดเจน อันแสดงถึงเมืองกำแพงเพชรมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ท่านที่สนใจจะไปท่องเที่ยวบึงวังดำน้ำ ติดต่อที่นางสินบดีรัฐผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ท่านจะประทับใจอย่างยิ่ง
คำสำคัญ : สวนสาธารณะ
ที่มา : http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=515222&random=1488095194236
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). สวนสาธารณะบึงวังดำน้ำ. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=247&code_db=610002&code_type=01
Google search
วัดหนองปลิง จัดพื้นที่วัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน โดยท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท เน้นจัดพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพักชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา และยังมีโบสถ์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจากหินธรรมชาติ แห่งเดียวใน
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,226
“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,960
ลำน้ำที่ใสสะอาด มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือแม่น้ำปิง หรือแม่พิงค์ ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงที่งดงามที่สุดคือบริเวณหน้าเมืองกำแพงเพชร หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตต์อุทยาน แม่น้ำปิงมีปลาหลากหลายชนิดที่ไม่เหมือนลำน้ำแห่งใด คือในลำน้ำปิงมีกรวดที่งดงามมากมาย หลากสีสันหลากรูปแบบ เป็นสินค้าสำคัญของกำแพงเพชร ในการนำมาจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างลงตัว
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,346
บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,577
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร มีบริการการนำเที่ยวโดยการใช้รถรางขับวนรอบเมือง โดยจะมีเส้นทางท่องเที่ยวรอบๆเมืองกำแพงเพชร โดยเริ่มกันจากที่ชุมชนพาไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆอย่างศาลหลักเมือง - รูปจำลองพระอิศวร - วัดเทพโมฬี - วัดเสด็จ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกำแพงเพชรและเป็นที่เคารพของคนกำแพงเพชรเป็นอย่างมากที่สุด และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,230
เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,082
สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,396
บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 2,065
บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,670
กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,389