เหมือดโลด

เหมือดโลด

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 2,079

[16.4534229, 99.4908215, เหมือดโลด]

ลักษณะทั่วไป       
       ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร ร่วงง่าย ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน แยกเพศ ออกเป็นช่อ แบบช่อหางกระรอก กระจุกตามซอกใบและกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้ออกเป็นแท่งยาว มีหลายช่ออยู่ด้วยกัน ไม่มีก้านช่อดอก ไม่มีกลีบดอก เป็นช่อเชิงลด 2-6 ช่อ ยาว 1-5 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม เกสรเพศผู้มี 2 อัน ไม่มีกลีบดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ แบบช่อเชิงลด สั้นกว่าช่อดอกเพศผู้ ออกที่ซอกใบหรือที่กิ่ง ติดลำต้น อยู่เป็นกระจุก 2-8 ดอก แต่ละดอกไม่มีก้าน และมีสีเหลืองอ่อน ดอกเพศเมียยาว 2.5-4.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 3-6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ผลรูปไข่ แห้งแตกตามตะเข็บ 1-2 ด้าน มีขนสีน้ำตาลปนเหลืองปกคลุม กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉก ผลแก่สีน้ำตาลอมเหลือง ไม่มีก้านผล มีขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแตกเห็นภายในมีเนื้อสีส้มแดง มี 1 เมล็ด เมล็ดมีเยื่อสีเหลืองหุ้ม เมล็ดรูปขอบขนาน กว้าง 6-7 มิลลิเมตร ยาว 7-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบ พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าสน ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม เปลือกต้นมียางสีแดงใช้ทำสีย้อม

 ประโยชน์ด้านสมุนไพร  
        ลำต้น เข้ายากับ ดูกข้าว ดูกไส ดูกหิน ดูกผี แตงแซง ส้มกบ ส้มมอดิน และพากส้มมอ แก้ตัวเหลือง ตาเหลือง เข้ายาโรคกระเพาะอาหารเปลือกและเนื้อไม้สด เคี้ยวแก้ไข้ เปลือกต้น มียางสีแดงใช้เป็นสีย้อม ปรุงเป็นยาขับลำไส้ และขับระดู แก้แน่นจุกเสียด

ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เหมือดโลด. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=45

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=45&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,637

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,610

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Liquorice, Licorice) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวสเปนเรียก ชะเอมเทศ, Sweet Root, Glycyrrhiza, Liquorice ส่วนชาวจีนเรียก กำเช่า หรือชะเอมจีน และชาวรัสเซียเรียก ชะเอมรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งชะเอมเทศนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับชะเอมไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนเลยทีเดียว และเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้กันเป็นอย่างมาก ด้วยสรรพคุณทางยาในการแก้โรคหรืออาการต่างๆ มากมาย และเด่นในด้านการขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายของเราได้ดี โดยต้นชะเอมเทศนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 11,112

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,403

สมุนไพรแช่เท้า

สมุนไพรแช่เท้า

ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้า เมื่อคนเราใช้มือและเท้าในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้า ก็จะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบายพิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกายจึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 13,199

ชะคราม

ชะคราม

ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,216

ผักชีดอย

ผักชีดอย

ต้นผักชีดอย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 8-25 นิ้ว แตกกิ่งก้านสาขาใกล้กับโคนต้น มีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามดินหิน ทุ่งหญ้า หรือที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,553

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,749

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,994

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,775