อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,604

[16.4258401, 99.2157273, อัคคีทวาร]

อัคคีทวาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum serratum (L.) Moon, Clerodendrum serratum var. wallichii C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

สมุนไพรอัคคีทวาร มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หลัวสามเกียน (เชียงใหม่), แข้งม้า (เชียงราย), พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา), หมากดูกแฮ้ง (สกลนคร), มักแค้งข่า (ปราจีนบุรี), อัคคี (สุราษฎร์ธานี), ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ), ตรีชวา อัคคี (ภาคกลาง), พายสะเมา (วาริชภูมิ), ควีโดเยาะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักห้าส้วย (ไทใหญ่), ลำกร้อล (ลั้วะ), ซานไถหงฮวา ซานตุ้ยเจี่ย (จีนกลาง), ชะรักป่า, แคว้งค่า, ผ้าห้ายห่อคำ, มักก้านต่อ, หมอกนางต๊ะ, หูแวง, ฮังตอ เป็นต้น

ลักษณะของอัคคีทวาร

  • ต้นอัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น ที่ระดับความสูงจาดระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,000 เมตร
  • ใบอัคคีทวาร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันหรือเรียงซ้อนกันเป็นวง ใบแตกตามข้อ ไม่มีก้านใบ ในแต่ละข้อส่วนมากจะออกเป็น 3 ใบวงเป็นรอบกัน บางข้อมีใบประมาณ 3-4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบสอบหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-28 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า บ้างว่าทั้งใบมีขนปกคลุม เส้นกลางใบเป็นสีเขียวเข้มหรือสีม่วง ก้านใบสั้น
  • ดอกอัคคีทวาร ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงอ่อนเข้ม สีม่วงอ่อนอมสีฟ้า หรือสีชมพูอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปทรงกระบอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลีบดอกแต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม มีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่กลับ 2 ใบหุ้มอยู่ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน ใจกลางของดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก และใต้เกสรมีขนปกคลุม ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม บ้างว่าออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ผลอัคคีทวาร ลักษณะของผลเป็นรูปค่อนข้างกลมหรือกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดอัคคีทวารเป็นรูปกลมรี 

สรรพคุณของอัคคีทวาร

  1. ใบสดมีรสขื่นร้อน ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง (ใบ)
  2. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคเยื่อตาอักเสบ ด้วยการใช้ผลสุกหรือดิบนำมาเคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำกิน (ผล)
  3. ชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดความดันโลหิต (ต้น)
  4. ทั้งต้นมีรสขมเผ็ด มีพิษเล็กน้อย เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น (ทั้งต้น) ใช้เป็นยาแก้ไข้ป่า ด้วยการฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้ง ใช้ต้มกับน้ำกิน (ต้น)
  5. ตำรับยาแก้ไข้จับสั่น ระบุให้ใช้ต้นอัคคีทวารสด 35 กรัม, เมล็ดพริกไทย 5 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 5 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินก่อนเกิดอาการไข้ประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการรักษาด้วยวิธีนี้พบว่าได้ผลดี แต่ในขณะที่ทำการรักษาไม่ควรรับประทานส้มหรือของที่มีรสเปรี้ยว รวมไปถึงของที่มีกลิ่นคาว และห้ามรับประทานถั่ว (ต้น)
  6. ผลมีรสเปรี้ยวขื่นร้อน ใช้ทั้งผลสุกและดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆ กลืนเอาน้ำเป็นยาแก้ไอ (ผล)
  7. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้ทอนซิลอักเสบ (ทั้งต้น)
  8. รากของอัคคีทวารมีรสขมร้อน จึงมีสรรพคุณช่วยทำให้เสมหะแห้ง ช่วยในระบบทางเดินหายใจได้ดี เช่น แก้หอบหืด อาการไอ แก้ไข้ แพ้อากาศ รวมไปถึงริดสีดวงจมูกหรืออาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก (ราก)
  9. รากอัคคีทวารนำมาต้มผสมกับขิงและลูกผักชี ใช้กินเป็นยาแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ราก)
  10. ใบนิยมนำมาต้มกับขิงกินเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)
  11. ใบนำมาลนไฟแล้วนำมาประคบบริเวณหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอกได้ (ใบ)
  12. รากใช้เป็นยารักษาสุขภาพของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งท้อง (ราก)
  13. ใบอัคคีทวารมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการจุกเสียด จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องท้องอืด (ใบ)
  14. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดท้อง ด้วยการนำลำต้นมาฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้น)
  15. ช่วยแก้อาการเสียดท้อง ด้วยการใช้ใบอัคคีทวารนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
  16. ต้นอัคคีทวารมีรสขื่นร้อน ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)ส่วนแก่นหรือเนื้อไม้ก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน โดยชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้งใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (แก่น,เนื้อไม้)
  17. ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้รากหรือต้นยาวประมาณ 1-2 องคุลี นำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้ทาริดสีดวง เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร หรือจะใช้ใบอัคคีทวารประมาณ 10-20 ใบ นำมาตากแห้ง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็ดเม็ดขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน ส่วนอีกวิธีนั้นให้ใช้ใบแห้งนำมาบดหรือป่นให้เป็นผง โรคในถ่ายไฟ เผาเอาควันใช้รมหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก ก็จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารยุบฝ่อได้ (ราก,ต้น,ใบ)
  18. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ (ทั้งต้น)
  19. ใบสดหรือต้นสดใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน โรคเรื้อนได้ (ต้น,ใบ)ส่วนต้นสดใช้ตำพอกแก้ฝีหนอง และโรคผิวหนัง (ทั้งต้น) ส่วนใบและต้นมีสรรพคุณช่วยดูดหนอง (ใบ,ต้น)
  20. ใบสดนำมาอังไฟแล้วขยี้ใส่แผลฝีหนองเรื้อรัง หรือรอยแผลจากการถูกแมลงกัดและปากนกกระจอก (ใบ)
  21. รากแห้งหรือต้นแห้งนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้เป็นยาเกลื่อนฝี ทารักษาแผลบวมได้ดี (ราก,ต้น)
  22. ต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม (ทั้งต้น)
  23. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากลมชื้นเข้าข้อ (ทั้งต้น)
  24. ใบสดและต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการขัดตามข้อ (ต้น,ใบ)
  25. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้กระดูกร้าว กระดูกแตก ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
  26. ทั้งต้นใช้ต้มให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรดื่ม หรือนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)[5]
  27. ใบสดนำมาโขลกเอาน้ำกินสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูก เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ (ใบ)

หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [2] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนยาสดให้นำมาตำพอกแผลภายนอกตามความเหมาะสม[2] ส่วนการใช้ตาม [7] ส่วนของรากให้นำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน

ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวาร

  • สารที่พบ ได้แก่ Glucorin, Oleanolic acid, Queretaroic, Serratagenic acid เป็นต้น
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากทั้งต้นอัคคีทวารมาฉีดให้หนูทดลอง ในปริมาณ 20 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม โดยฉีดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่าสามารถช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้ที่เกิดจากโปรตีนไข่ขาวได้
  • เมื่อนำน้ำที่สกัดได้นำมาให้หนูทดลองหรือสุนัขทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งฮีสตามีนที่ทำให้ลำไส้ของสัตว์ทดลองบีบตัวได้
  • สมุนไพรอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮีสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ขับลม ฆ่าเชื้อโรค ส่วนเปลือกรากนั้นมีสาร campesterol และ sitosterol สารสกัดเปลือกรากอัคคีทวารมีฤทธิ์ฆ่าอสุจิ ต้านการแพ้ ต้านการบีบตัวของลำไส้และลดความดันโลหิต

ประโยชน์ของอัคคีทวาร

  • ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนและดอกนำมารับประทานสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปลวกแล้วนำไปยำ หรือใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือผัด เป็นต้น ส่วนคนอีสานจะนำช่อดอกของต้นอัคคีทวารมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุปหน่อไม้ แกงหน่อไม้ หมกหน่อไม้
  • นอกจากนี้จะใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ของคนแล้ว อัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยนำผลสุกหรือดิบของอัคคีทวารมากรอกให้สัตว์เลี้ยงกิน
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีด้วย

คำสำคัญ : อัคคีทวาร

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อัคคีทวาร. สืบค้น 29 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1777

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1777&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,877

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,775

งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน

ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,236

ตำลึง

ตำลึง

ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน  ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,404

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,528

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,521

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,887

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,273

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,084

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,442