โหราบอน

โหราบอน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,398

[16.4258401, 99.2157273, โหราบอน]

โหราบอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Typhonium giganteum Engl.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรโหราบอน มีชื่อเรียกอื่นว่า ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโหราบอน

  • ต้นโหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
  • ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
  • ดอกโหราบอน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวแทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีลักษณะกลมยาวคล้ายรูปทรงกระบอก มีเนื้อนิ่ม ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่ ภายในดอกจะพบผล
  • ผลโหราบอน ผลจะอยู่ภายในดอก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง 

สรรพคุณของโหราบอน

  1. หัวใต้ดินมีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้น (หัว)
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง (หัว)
  3. ใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรค (แผลที่ยังไม่แตก) โดยใช้หัวสด นำมาปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำให้แตก ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 ครั้ง (หัว)
  4. ใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอ (หัว)
  5. หัวใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก (หัว)
  6. หัวใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อ (หัว)
  7. หัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (หัว)
  8. ใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยว ให้ใช้หัวโหราบอนแห้งที่กำจัดพิษออกแล้ว 60 กรัม, แมงป่องตากแห้ง 30 กรัม และหนอนใบหม่อน 30 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ด เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)

ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
  • ไม่ควรนำหัวโหราบอนสด ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา

กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน

  • ให้นำหัวโหราบอนมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ โดยให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อแช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวโหราบอนมาแช่กับน้ำสารส้ม (ในอัตราส่วนหัวโหราบอน 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม) เป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง (ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12) หรือในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วนำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา

ขนาดและวิธีใช้โหราบอน

  • ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือหากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน

  • หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin เป็นต้น

คำสำคัญ : โหราบอน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). โหราบอน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1775

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1775&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,101

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,342

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,494

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,485

กระโดงแดง

กระโดงแดง

ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,429

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,173

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,038

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,447

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด  ใบเป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,949

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,743