ผักปลาบ

ผักปลาบ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 9,440

[16.4258401, 99.2157273, ผักปลาบ]

ผักปลาบ ชื่อสามัญ Benghal dayflower, Dayflower, Tropical spiderwort, Wondering jew

ผักปลาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Commelina benghalensis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Commelina prostrata Regel) จัดอยู่ในวงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE)

สมุนไพรผักปลาบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกาบปลี (คนเมือง), ผักงอง (ขมุ), สะพาน (เมี่ยน), ผักขาบ (ไทลื้อ), ผักปลาบใบกว้าง, ผักปราบ เป็นต้น

ลักษณะของผักปลาบ

  • ต้นผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร
  • ใบผักปลาบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มนหรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบมีขนครุย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7-8 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว มีขนขึ้นปกคลุมทั่วทั้งใบทั้งสองด้านและหลังใบประดับจะมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมอย่างหนาแน่น โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มละต้นยาวประมาณ 0.9-1.6 เซนติเมตร
  • ดอกผักปลาบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือออกตามปลายกิ่ง ดอกจะอยู่ภายในกาบรองดอก ดอกเป็นสีฟ้าอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ แต่ละกลีบดอกจะมีขนาดไม่เท่ากัน โดยกลีบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อนใส มี 3 กลีบ อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน มี 4 อันที่เป็นหมันมีสีเหลืองสด ส่วนอีก 2 อันที่เหลือไม่เป็นหมัน แต่จะเป็นสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูเป็นสีม่วงอ่อน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
  • ผลผักปลาบ ลักษณะของผลเป็นรูปรี ปลายตัด มีขนาดยาวประมาณ 5.5 มิลลิเมตร ผลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ช่องหนึ่งถ้าแก่แล้วจะไม่แตก แต่อีก 2 ช่องนั้นจะแตก มองเห็นเมล็ดภายใน 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน ผิวขรุขระ สีเทาเข้ม

สรรพคุณของผักปลาบ

  1. ทั้งต้นมีสรพคุณเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
  3. ช่วยแก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง (ทั้งต้น)
  4. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด (ทั้งต้น)
  5. ชาวเมี่ยนจะใช้ใบผักปลาบนำมาต้มกับน้ำอาบสำหรับรักษาคนที่ป่วยกระเสาะกระแสะ เป็น ๆ หาย ๆ ช่วยทำให้หายป่วย (ใบ)
  6. บางข้อมูลระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาว่า ทั้งต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้ปวดขัดปัสสาวะ ช่วยในการย่อย และแก้ผื่นคัน (ข้อมูลต้นฉบับไม่มีแหล่งอ้างอิง)

ประโยชน์ของผักปลาบ

  • ยอดอ่อนนำมานึ่งหรือลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาใช้ใส่ในแกงส้ม
  • ใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกโค กระบือ โดยคุณค่าทางอาหารของผักปลาบ จะประกอบไปด้วย โปรตีน 20%, แคลเซียม 1.1%, ธาตุเหล็ก 573 ppm, ฟอสฟอรัส 0.3%, โพแทสเซียม 3.9%, ADF 41%, NDF 50%, ไนเตรท 645 ppm และไม่พบไนไตรท์และออกซาลิกแอซิด[3] หรือจะใช้ยอดและใบนำมาสับแบบหยาบ ๆ ผสมกับรำใช้เป็นอาหารหมู

 

คำสำคัญ : ผักปลาบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักปลาบ. สืบค้น 17 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1708

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1708&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,488

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,554

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,945

กกดอกขาว

กกดอกขาว

ลักษณะทั่วไป  เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม   ลำต้น  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ  5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,138

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,331

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,830

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,450

กะทกรก

กะทกรก

ต้นกะทกรกจัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 12,326

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,576

พุทรา

พุทรา

ลักษณะทั่วไป   ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม  ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน  ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,559