ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 8,835

[16.4258401, 99.2157273, ตีนเป็ดน้ำ]

ตีนเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Pong pong
ตีนเป็ดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn. (คาร์เบอรา โอดอลลาม) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
สมุนไพรตีนเป็ดน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตุม ตูม พะเนียงน้ำ (กาญจนบุรี), สั่งลา (กระบี่), ตีนเป็ด ตีนเป็ดทะเล (ภาคกลาง), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ลักษณะของตีนเป็ดน้ำ
         ต้นตีนเป็ดน้ำ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและนิวแคลิโดเนีย ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบได้เฉพาะทางภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ (เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด) ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด
          ใบตีนเป็ดน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งหรือหางใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8.9-30 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบประมาณ 12-25 เส้น เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
          ดอกตีนเป็ดน้ำ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-35 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ประมาณ 10-14 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านซ้ายในตาดอก ปลายกลีบดอกแหลม ดอกบานมีแต้มเหลืองรอบปากหลอดกลีบดอก หลอดกลีบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แฉกกลีบยาวประมาณ 1.2-3.8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้านติดกลางหลอดกลีบดอก ส่วนกลีบรองดอกหรือกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอก กลีบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร
           ผลตีนเป็นน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม หรือค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้น ๆ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดกว้างประมาณ 6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเนียนเป็นมันและมีจุดเล็ก ๆ สีขาวกระจายทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มถึงสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง เบา และลอยน้ำได้

สรรพคุณของตีนเป็ดน้ำ
1. เมล็ดมีฤทธิ์ต่อหัว ช่วยบำรุงหัวใจ (เมล็ด)
2. รากช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย (ราก)
3. แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยกระจายลม กระจายเลือด กระจายลมอันฑพฤกษ์ แก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ลมที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้) (แก่น)
4. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
5. ใบมีรสเฝื่อน ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ) ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก) เปลือกต้นและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้หวัด (เปลือกต้น, ทั้งต้น) ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด (น้ำมันจากเมล็ด)
6. รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับเสมหะ (ราก)
7. รากช่วยแก้อาเจียน (ราก) ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ผล, เมล็ด, ใบ, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
8. ใบและทั้งต้นแก้อาเจียนเป็นเลือด (ใบ, ทั้งต้น)
9. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
10. ช่วยขับผายลม (ราก)
11. ช่วยแก้อาการบิด (เปลือกต้น)
12. ช่วยสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
13. ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (ผล, เมล็ด, ใบ, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
14. ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ ส่วนเปลือกต้นใช้ขับพยาธิไส้เดือน (ใบ, เปลือกต้น)
15. เปลือกต้นช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว (เปลือกต้น)
16. ดอกมีรสเฝื่อน ใช้แก้ริดสีดวงทวาร (ดอก)
17. ยางสดจากต้น เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันต้นไม้ยางนา ผสมเคี่ยวให้สุก ใช้เป็นยาแก้แผลเน่าเรื้อรัง (ยางสดจากต้น)
18. ใบใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง (ใบ) ส่วนกระพี้มีสรรพคุณแก้เกลื้อน (กระพี้)
19. น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาทาถูนวดทำให้ร้อนแดง ช่วยแก้อาการคันได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
20. เมล็ดและน้ำมันจากเมล็ดช่วยแก้หิด (เมล็ด, น้ำมันจากเมล็ด)
21. ผลแห้งนำมาเผาไฟตำผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแก้ตาปลา รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (ผล)
22. ช่วยรักษาโรคกลัวน้ำ (ผล)
23. ช่วยระงับอาการปวด (ผล)
24. ผลสดนำมาขยี้ใช้ทาแก้อาการปวด ปวดตามข้อ และแก้อาการปวดตามกล้ามเนื้อ (ผล)
25. แก่นช่วยแก้อัมพาต (แก่น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นตีนเป็ดน้ำ
1. มีฤทธิ์ในการกระตุ้นหัวใจ สามารถนำไปใช้กระตุ้นหัวใจ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง ลดปฏิกิริยาตอบสนอง แก้อาการปวด ต้านการชัก เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ
2. จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากใบตีนเป็ดน้ำเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 20.8 กรัมต่อกิโลกรัม

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรตีนเป็ดน้ำ
1. ผล เนื้อในผล ใบ และน้ำยางจากต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย ยาระบาย หากรับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. ยางจากต้น ใบ ผล และเนื้อในผลมีพิษเป็นอันตราย (ยางจากต้นและผลมีสาร Cerberoside และ Thevobioside ที่เป็นพิษต่อหัวใจ) ไม่ควรสัมผัสโดยตรงเพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง โดยควรระมัดระวังในการเด็ดใบและทำให้ต้นเกิดแผล[3],[6],[7],[8] น้ำยางของตีนเป็ดน้ำหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3. เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายและเป็นยาทำให้แท้งบุตรได้
4. เนื้อในเมล็ด (kernel) มีสารที่เป็นพิษ ได้แก่ thevetin B, thevobioside โดยออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน แล้วค่อยตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและมีอาการปวดท้อง หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากและล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของไกลโคไซด์ โดยวิธีการรักษาเบื้องต้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อทำการล้างท้องและรักษาไปตามอาการ
5. เมล็ดตีนเป็ดน้ำมีรสขม มีสารที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจที่เรียกว่าสาร "คาร์เบอริน" (Cerberin) ซึ่งเป็นตัวยาที่มีโครงสร้างเดียวกันกับที่ใช้ในยากระตุ้นหัวใจ โดยมีการนำมาใช้ในการวางยาพิษโดยผสมกับอาหารที่มีรสจัด หากได้รับในปริมาณมากก็สามารถฆ่าคนได้เลย เพราะสารดังกล่าวจะไปสกัดกั้นช่องทางเดินของแคลเซียมไอออนในกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ไปรบกวนกระบวนการเต้นของหัวใจ และแม้จะเสียชีวิตด้วยตีนเป็ดน้ำ แต่อายุรแพทย์ก็ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าผู้ตายเสียชีวิตด้วยตีนเป็ดน้ำจริงหรือไม่ จนกว่าจะมีหลักฐานว่าผู้ตายรับประทานเข้าไปจริง ๆ ดังนั้นมันจึงถูกนำมาใช้ในการฆาตกรรมที่ดูแนบเนียน

ประโยชน์ของตีนเป็ดน้ำ
1. เมล็ดมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาเบื่อปลา ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง
2. ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก รักษาขน
3. น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา โดยใช้ส่วนผสมของเมล็ดตีนเป็ดน้ำกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำไปฆ่าเหาให้ใช้ชโลมผมทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เหาทั้งหมดตายและไข่ฝ่อทั้งหมด โดยเมล็ดจากลูกตีนเป็ดน้ำจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีกว่ายาฆ่าเหาที่ใช้สารเคมีที่มีวางขายตามท้องตลาด และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ใบน้อยหน่า เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการชโลมผมน้อยกว่า อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย
4. เมล็ดใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง
5. ต้นตีนเป็ดน้ำมีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ยางจากต้นเป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่

คำสำคัญ : ตีนเป็ดน้ำ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตีนเป็ดน้ำ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1630

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1630&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,601

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,529

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,040

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 27,508

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,880

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,796

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,454

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,976

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,749

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,176