จอก

จอก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 10,912

[16.4258401, 99.2157273, จอก]

จอก ชื่อสามัญ Water lettuec
จอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Pistia stratiotes L. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สมุนไพรจอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกอก (เชียงใหม่), กากอก (ภาคเหนือ), ไต่ผู้เฟี้ย (จีน-แต้จิ๋ว), ต้าฝูผิง (จีนกลาง), จอกใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นจอก
       ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน
       ใบจอก ใบเป็นเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับ เกิดบริเวณส่วนโคนของลำต้นเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รูปร่างของใบมีลักษณะที่ไม่แน่นอน บางครั้งเป็นรูปรี รูปไข่กลับ รูปใบพัด แต่โดยมากเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบมนหยักลอนเป็นคลื่น ๆ ฐานใบมนสอบแคบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นสีแดง มีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณฐานใบพองออกและมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ ทำให้สามารถลอยน้ำได้ ใบมีความยาวและความกว้างประมาณ 10-25 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบไม่มีก้านใบ
       ดอกจอก ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้น ตรงโคนใบระหว่างกลาง หรือออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกสั้นขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร ดอกจะมีกาบห่อหุ้มดอกอยู่ประมาณ 2-3 ใบ เป็นแผ่นสีเขียวอ่อนหุ้มไว้ ด้านในเรียบ ส่วนด้านนอกมีขนละเอียดปกคลุม ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียที่แยกกันอยู่ แต่อยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะอยู่ด้านบนดอกส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ด้านล่าง ดอกจอกเป็นดอกที่ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ที่โคนดอกเพศผู้จะมีรยางค์แผ่นสีเขียวเชื่อมติดอยู่เป็นรูปถ้วย และมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-8 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียจะมีรยางค์เป็นแผ่นสีเขียวติดอยู่เหนือรังไข่
        ผลจอก ผลมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ หรือเป็นผลเป็นชนิดแบคเดท (Bacdate) มีกาบหรือใบประดับสีเขียวอ่อนติดอยู่ ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-3 เมล็ด บ้างว่ามีจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะกลมยาว เปลือกเมล็ดจะมีรอยย่น

สรรพคุณของจอก
1. ใบมีรสขม เผ็ด และฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาฟอกเลือดให้เย็นได้ (ใบ)
2. ช่วยขับความชื้นในร่างกาย (ใบ)
3. ช่วยขับพิษไข้ (ใบ)
4. ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
5. ช่วยขับเสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
7. ใช้เป็นยาขับลม (ใบ)
8. ช่วยแก้อาการบิด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
9. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
10. ใบสดใช้ต้มผสมกับน้ำตาลทราย (ใช้อย่างละ 120 กรัมต่อน้ำ 3 ถ้วย) แล้วต้มให้ข้นจนเหลือถ้วยเดียว ใช้รับประทานให้ได้ 3 ครั้ง เพื่อเป็นยาแก้ท้องมาน หรืออาการบวมน้ำ หรือจะใช้ใบแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาก็ได้เช่นกัน (ใบ)
11. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่คล่อง ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (ใบ) บ้างระบุว่ารากเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
12. ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคหนองในแท้) (ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นส่วนของใบ)
13. ใบใช้เป็นแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน และฝีหนองภายนอก (ใบ)
14. ใบใช้เป็นยาแก้หัด แก้ผื่นคัน มีน้ำเหลืองได้ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 100 กรัม นำมาตากให้แห้งหรือผิงไฟให้แห้ง แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นยาเม็ด ทยอยกินให้หมดภายใน 1 วัน หรือจะใช้ใบแห้งต้มกับน้ำ นำมาอบผิว แล้วใช้น้ำยาที่ต้มได้มาล้างบริเวณที่เป็นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (ใบ)
15. ใบสดใช้ผสมกับน้ำตาลกรวดดำ อุ่นให้ร้อน ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือน หรือมีอาการฟกช้ำดำเขียว จะช่วยแก้อาการบอบช้ำได้ หรือจะใช้ใบสดนำมาตำใช้เป็นยาพอกก็ได้เช่นกัน (ใบ)
16. นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นที่ระบุว่า จอกช่วยแก้วัณโรค แก้อาการไอ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไฟลามทุ่ง ผื่นแดงคัน อาการบวมไม่ทราบสาเหตุ คั้นใบผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้แก้โรคเรื้อน (แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน และไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้และวิธีใช้แต่อย่างใด)

วิธีใช้สมุนไพรจอก
1. ใช้ภายใน ให้ใช้ต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาก็ได้ โดยใบสดที่นำมาใช้ทำยาควรเลือกใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และควรเก็บใบในหน้าร้อนถึงจะดี แล้วนำมาล้างให้สะอาด ตัดรากออกทั้งหมด นำมาตากให้แห้ง ซึ่งจะได้ใบแห้งที่มีรสเค็ม ฉุน และเย็น
2. ใช้เป็นยาภายนอก ให้นำใบสดมาตำแล้วพอกตามความต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นจอก
       ใบของต้นจอกสดจะมีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซีมาก มีคาร์โบไฮเดรต 2.6%, เส้นใย 0.9%, โปรตีน 1.4%, ไขมัน 0.3%, ความชื้น 92.9%, ธาตุแคลเซียม 0.20%, ธาตุฟอสฟอรัส 0.06%

ประโยชน์ของจอก
        นอกจากจะใช้เป็นพืชสมุนไพรแล้ว ชาวจีน อินเดีย และแอฟริกายังนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อรับประทานในยามขาดแคลนอีกด้วย โดยชาวจีนจะใช้ต้นอ่อนนำมาปรุงเป็นอาหาร (ตอนแรกจะไม่รู้รส แต่ต่อมาจะมีรสแสบร้อน)
        ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู เป็ด ปลา เป็นต้น
        ต้นจอกสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้
        ต้นนำมาใช้ปลูกประดับในอ่างเลี้ยงปลา เพื่อเป็นที่หลบบังให้กับปลาขนาดเล็กและลูกปลาได้

ข้อควรระวังในใช้สมุนไพรจอก
        ต้นจอกเป็นพรรณไม้ที่สามารถดูดสารที่มีพิษได้ดีมาก จึงควรตรวจสอบแหล่งน้ำก่อนว่ามีพิษหรือไม่ หากต้นจอกขึ้นอยู่ตามท้องน้ำที่เป็นพิษ หรือหากต้นมีรสขม ก็ไม่ควรนำมารับประทานเป็นอันขาด
        รากของต้นจอกมีพิษเล็กน้อย ก่อนนำมาใช้ต้องตัดรากออกให้หมดเสียก่อน และใบที่นำมาต้มควรล้างให้สะอาดก่อนการนำมาใช้ด้วย
        สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

คำสำคัญ : จอก

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จอก. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1591

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1591&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เหมือดโลด

เหมือดโลด

เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,113

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,850

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,022

กระทุงหมาบ้า

กระทุงหมาบ้า

ต้นกระทุงหมาบ้า จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถากลม เปลือกเถาอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่เป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามผิวกิ่งตะปุ่มตะป่ำและมีช่องอากาศ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบที่ชื้น ทนแล้งได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบขึ้นตามบริเวณป่าดิบ ป่าราบ หรือบริเวณชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,279

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,695

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,229

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,760

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,150

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและมีความบอบบางกว่าต้นอุตพิด มีหัวอยู่ใต้ดิน ทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนใบแก่จะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 5-17 เซนติเมตร ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-35 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,582

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,038