ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 7,602

[16.4258401, 99.2157273, ข้าวเย็นใต้]

ข้าวเย็นใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax glabra Roxb.[1] จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE) เช่นเดียวกับข้าวเย็นเหนือ[2]

สมุนไพรข้าวเย็นใต้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยาหัว (เลย, นครพนม), หัวยาข้าวเย็น (เพชรบูรณ์), ยาหัวข้อ (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ภาคใต้), ข้าวเย็นโคกขาวถู่ฝุหลิง (ภาษาจีน), RHIZOMA (ภาษาละติน) เป็นต้น[1],[2],[4],[8]

ลักษณะของข้าวเย็นใต้

  • ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า และยังพบรอยแยกแตกเป็นร่อง ๆ บนผิวเปลือก เนื้อเหง้าเป็นสีขาวอมเหลือง สมุนไพรชนิดนี้มีรสหวาน ชุ่มชื่นและสมดุล ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะอาหาร และไม่มีกลิ่น[1],[2]
  • ใบข้าวเย็นใต้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายใบแหลมและบาง โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-14 เนติเมตร ผิวใบมัน หน้าใบมีเส้นตามยาวประมาณ 3 เส้น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนหลังใบมีผงเหมือนแป้งสีขาว ก้านใบมีขนาดสั้น ยาวประมาณ 9-14 มิลลิเมตร[2]
  • ดอกข้าวเย็นใต้ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ในแต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 4-15 มิลลิเมตร[2]
  • ผลข้าวเย็นใต้ ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงดำ[2]

สรรพคุณของข้าวเย็นใต้

  1. ตามตำรับยาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว)[6]
  2. หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)[6]
  3. ตำรับยาแก้เบาหวาน ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ใบโพธิ์ และไม้สักนำมาต้มในหม้อดิน ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ และต้นลูกใต้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)[3]
  4. หัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือเป็นพืชสมุนไพรที่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม จึงมักถูกนำไปใช้ในตำรับยารักษามะเร็งร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายตำรับ (หัว)[5] ใช้หัวผสมในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียด นำมาผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ใช้รับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)[6]
  5. ต้นมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ตัวร้อน (ต้น)[7]
  6. ใบมีรสจืดเย็น เป็นยาแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต (ใบ)[7]
  7. ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการไข้อันเนื่องมาจากความเย็นชื้น (หัว)[1]
  8. ช่วยขับไล่ความเย็น (หัว)[1]ขับลมชื้นในร่างกาย ด้วยการใช้ข้าวเย็นทั้งสองอย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำมาแช่กับเหล้า ด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2]
  9. หัวมีรสกร่อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ และไต ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (หัว)[2]ช่วยแก้น้ำมูกไหล (หัว)[1]
  10. ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้มีอยู่ 2 ตำรับ มีตัวยาในตำรับ 4 อย่างและ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับแล้วนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (หัว)[3]
  11. หัวช่วยแก้ประดง (หัว)[4],[6]
  12. ใช้แก้อาการไอ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 5 บาทและหัวข้าวเย็นเหนือ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดิน เติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)[2]
  13. ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (หัว)[6]
  14. ช่วยแก้อาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ (หัว)[3]
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)[2]
  16. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (หัว)[2] ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (หัว)[6]
  17. ผลมีรสขื่นจัด เป็นยาแก้ลมริดสีดวง (ผล)[7]
  18. ตำรับยาแก้ริดสีดวงทวาร ให้ใช้สมุนไพรหัวข้าวเหนือใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก เหง้าสับปะรด และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3]
  19. ช่วยรักษากามโรค โรคซิฟิลิส เข้าข้อออกดอก (หัว)[1],[2],[4],[6]ตำรับยาแก้โรคหนองในทั้งหญิงและชาย ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีกรวมทั้งสิ้น 14 อย่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองในหรือโรคโกโนเรีย แล้วจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[3] ตำรับยารักษาโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยรักษาโรคบุรุษได้ผลชะงัดนัก (หัว)[3]
  20. ช่วยแก้อาการตกขาว ระดูขาวของสตรี (หัว)[2]ตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรย (ดอกขาว) ทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยแก้ระดูขาวและโรคบุรุษได้ผลชะงัดดีนัก (หัว)[3]
  21. ใช้รักษาโรคเนื้องอกบริเวณปากมดลูก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือ 25 กรัมและข้าวเย็นใต้ 25 กรัม นำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือต้มให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี แล้วใช้แบ่งรับประทานครั้งละ 25 ซีซี จำนวน 4 ครั้ง (หัว)[2]
  22. หัวใต้ดินมีรสหวานเอียนเบื่อ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (หัว)[2],[4],[6],[8]
  23. ช่วยระงับพิษ แก้อาการพิษจากปรอท (หัว)[1]
  24. ช่วยแก้อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวม ช่วยแก้ฝีแผลเน่าเปื่อย บวมพุพอง ทำให้แผลฝีหนองยุบ แก้เม็ดผื่นคัน (หัว)[1],[4],[6]
  25. ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด (หัว)[4],[6]
  26. ตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด ระบุให้ใช้หัวข้าวเย็นใต้ 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นเหนือ, กระดูกควายเผือก, กำมะถันเหลือง, ขันทองพยาบาท, หัวต้นหนอนตายหยาก หนักอย่างละ 20 บาท และเหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, และผิวไม้รวก 3 กำมือ นำมาต้มในหม้อดินพอสมควร ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ตำรับนี้นอกจากจะช่วยแก้ฝีทุกชนิดแล้ว ยังช่วยแก้โรคแผลกลาย รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้อย่างได้ผลชะงัด (หัว)[3]
  27. ช่วยฆ่าเชื้อหนอง (หัว)[6],[8]
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาบริเวณแผล (หัว)[2]
  29. ช่วยแก้อาการอักเสบในร่างกาย (หัว)[6]
  30. ช่วยแก้อาการฟกช้ำเคล็ดขัดยอก (หัว)[2]
  31. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการปวดข้อเข่า มีอาการหดเกร็งของแขนและขา ปวดข้อและเอ็น ดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[4],[6]แก้เส้นเอ็นพิการ (หัว)[4],[6]
  32. ช่วยทำให้ข้อเข่าทำงานได้อย่างเป็นปกติ (หัว)[1]
  33. หัวนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาช่วยลดอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังการคลอดบุตร (หัว)[6]

วิธีใช้สมุนไพรข้าวเย็นใต้

  • ให้ขุดเก็บเหง้าในฤดูร้อนและในฤดูใบไม้ร่วง แล้วนำมาตัดรากฝอยทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วทำให้แห้ง หรือนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ในขณะหัวสด แล้วนำมาทำให้แห้ง[1]
  • การใช้ตาม [1],[2] ถ้าเป็นหัวแห้งใช้ในขนาด 15-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[1],[2]
  • หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดสุโขทัยจะใช้หัวใต้ดินเป็นยาร่วมในยาต้มทุกชนิด[8]
  • ในหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชได้ระบุว่า ข้าวเย็นใต้และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน และนิยมนำมาใช้คู่กัน โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้

  • สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, Amino acid, Diosgennin, Parillin, Saponin, Saponins, Smilax, Smilacin, Tanin, Tigogenin และในเมล็ดพบน้ำมันหอมระเหย 11.2%[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 มาให้หนูทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อรา และเชื้อ Staphylo coccus ได้[2]
  • เมื่อนำน้ำยาที่ต้มได้จากข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 มาฉีดเข้าบริเวณช่องท้องของหนูขาวและกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถช่วยห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
  • น้ำต้มจากทั้งต้นมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลอง และรักษาโรคเรื้อนกวางในคนได้[

คำสำคัญ : ข้าวเย็นใต้

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ข้าวเย็นใต้. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1578

Facebook Twitter LINE Linkedin

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1578&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือพวง

มะเขือพวง

มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,662

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 27,747

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,306

พันงูขาว

พันงูขาว

ลักษณะทั่วไป   เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก   ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก  ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง  มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,777

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,166

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,388

จันทร์ผา

จันทร์ผา

ลักษณะทั่วไป  ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล  ใบจะแตกออกเป็นช่อ  ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,559

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,994

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 17,613

สาเก

สาเก

สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,399