เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,158

[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดมังกร]

เกล็ดมังกร ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia minor (Vahl) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dischidia nummularia R. Br.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE - ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรเกล็ดมังกร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะปอดไม้ (เชียงใหม่-ชุมพร), อีแปะ (จันทบุรี), กระดุมเสื้อ เกล็ดลิ่น (ชัยภูมิ, อุบลราชธานี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ชลบุรี), เบี้ยไม้ กับม้ามลม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เกล็ดมังกร เบี้ย (ภาคกลาง), ปิติ้ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ลักษณะของเกล็ดมังกร
        ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่น ๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย
        ใบเกล็ดมังกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปกลมหรือรูปวงรีแกมรูปโล่ ขนาดเล็ก ปลายใบแหลมเป็นติ่งขนาดเล็ก โคนใบแหลม-มน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-11 มิลลิเมตร ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ยาวได้เพียง 1-2 มิลลิเมตร ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนขึ้นประปราย
        ดอกเกล็ดมังกร ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเขียว มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกจะมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลืองหรือเป็นสีเขียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ส่วนที่เป็นหลอดมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และส่วนที่เป็นพูมีความกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีรยางค์เป็นรูปมงกุฎ 5 อัน แต่ละอันแยกเป็น 2 พู เกสรเพศผู้มี 5 อัน และเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่ 2 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง และมีออวุลจำนวนมาก ติดตามแนวตะเข็บ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน และยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน ออกดอกในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
        ผลเกล็ดมังกร ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปดาบแกมขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ยาวได้ประมาณ 5-7 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร บริเวณเหนือจุดกึ่งกลางแหลมเรียวเป็นจะงอย ใต้จุดกึ่งกลางนั้นมีลักษณะเป็นรูปรีเบี้ยว แตกตะเข็บเดียว ภายในฝักมีเมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก ที่ปลายเมล็ดมีขนเป็นพู่หรือกระจุกขนสีขาวคล้ายเส้นไหม

สรรพคุณของเกล็ดมังกร
1. ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ (ไข้ที่มีตุ่มที่ผิวหนัง ตุ่มอาจมีสีดำ) (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง (โรคพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ค่อยทานอาหาร อ่อนเพลีย พุงโรก้นปอด ผอมแห้ง ซูบซีด ท้องเดิน ตกใจง่าย อุจจาระผิดปกติ อาจมีกลิ่นคาวจัด
    และชอบกินอาหารคาว) (ทั้งต้น)
3. ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ทั้งต้นเกล็ดมังกรเข้ายาแก้โรคตับพิการ (ทั้งต้น)
4. ใบสดของต้นเกล็ดมังกรนำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลพุพอง (ใบสด)
5. ลำต้นใช้เป็นยาแก้อักเสบและปวดบวม (ลำต้น)
6. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)

คำสำคัญ : เกล็ดมังกร

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดมังกร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1569

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1569&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะอ้า

มะอ้า

มะอ้า ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ประมาณ 12-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมแผ่กว้างทึบชั้นในสีชมพูแดงเรื่อ ๆใบเป็นช่อยาว ออกเรียงสลับกันใบอ่อนรูปขอบขนาน โคนเบี้ยว เนื้อค่อนข้างหนาเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ ออกเป็นช่อผลสีน้ำตาล รูปไข่กลับ เอบกลม เปลือกหนา ผลแก่แตกอ้า เผยให้เห็นเนื้อเยื่อสีแดงภายใน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,963

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,808

กระทงลาย

กระทงลาย

ต้นกระทงลายเป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง ใบกระทงลายเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 5-1.5 ซม. ดอกกระทงลายออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,813

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,361

ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,647

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,869

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 59,457

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,503

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 15,180

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,672