การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,804

[16.2844429, 98.9325649, การแต่งกายของชนเผ่ามละ]

การแต่งกาย
       การแต่งกายของชนเผ่า มละ ในสมัยก่อนจะใช้เปลือกปอปกปิดร่างกายและเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย โดยมีวิธีการ คือ ไปลอกเปลือกจากต้นปอมาแล้วนำเปลือกของต้นปอ ไปทุบให้ละเอียด ตากให้แห้ง แล้วนำมาทำเป็นเครื่องแต่งกายของชนเผ่า มละ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งมีการทำแบบนี้มาเรื่อยๆ ชนเผ่ามละเล่าว่า ไม่มีการนำใบตองมาทำเป็น เครื่องแต่งกายอย่างที่สังคมเข้าใจในทุกวันนี้ เนื่องจากใบตองขาดง่ายและใส่ได้ไม่นาน สำหรับใบตองชนเผ่ามละจะใช้สำหรับทำเพิงพักอย่างเดียวเท่านั้น แต่มาปัจจุบันชนเผ่ามละ ก็หันไปใส่เสื้อผ้าเหมือนคนปกติทั่วไป ไม่มีการแต่งกายแบบดั้งเดิมให้เห็น จะมีให้เห็นก็แค่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านบางคนเท่านั้น
       ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของ ผีตองเหลือง คือ ชายหญิงทุกคนต้องเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก รูหูที่เจาะมีขนาดประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่เหลากลมปลายแหลม แทงลงไปบนเนื้ออ่อนบริเวณติ่งหู สมัยก่อนมักจะนำดอกไม้มาเสียบไว้ในรูหูเพื่อเป็นการประดับร่างกาย แต่ในปัจจุบันเมื่อติดต่อกับชนเผ่าอื่นๆ เช่น ม้งหรือเย้า ทำให้ธรรมเนียมนี้ลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นบ้างประปราย
ภาพโดย : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mlabri.html

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mlabri.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งกายของชนเผ่ามละ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=05&nu=pages&page_id=427

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=427&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

ศูนย์นี้จะจำหน่ายเครื่องเงินฝีมือชาวเขาเผ่าเย้า เช่น สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ กำไล แหวน หากสนใจจะชมวิธีการทำและซื้อเป็นของฝาก เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,122

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ที่บ้านใหม่ธงชัย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นางปัญญา คมขำ เกษตรกรชาวอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร หันมาปลูกผักกูด ผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ 8 ไร่ ผสมผสานไปกับพืชยืนต้นอื่นๆ เช่น มะยงชิด กล้วย มังคุด ปรากฏว่าสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยได้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการปลูกผักกูด เกิดจากว่าจะมีการขุดลอกคลอง บริเวณหลังบ้านซึ่งมีผักกูดอยู่ ตัวเองกับสามีคิดว่าถ้าขุดลอกคลองแล้ว ผักกูดน่าจะสูญหายไป ทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่รู้จักผักพื้นบ้านชนิดนี้ ตัวเองกับสามีเลยไปเก็บต้นผักกูดที่รถขุดทิ้ง มาปลูกไว้พื้นที่หลังบ้าน แล้วปรากฏว่าปัจจุบันกลายเป็นพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของตัวเองได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,441

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 826

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 930

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,637

ลายไทย

ลายไทย

จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 1,081

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 741

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,804

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 940

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 909