ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 874

[16.1466408, 99.3273739, ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว]

         สีขาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับโลหะมีค่า ประกอบกับสภาวะที่ราคาทองคำและแพลทินัมขยับตัวสูงขึ้นมาก จึงทำให้โลหะเงินถูกนำมาใช้มากขึ้น เมื่อก่อนนี้ร้านขายเครื่องประดับมักลังเลที่จะนำเครื่องประดับเงินใส่โชว์ในตู้หน้าร้าน เนื่องจากโลหะเงินจะหมองเร็วมากและยังใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการทำความสะอาด ผู้จำหน่ายหลายรายได้นำโลหะนิเกิล หรือโลหะ อื่น ๆ มาหุ้มหรือเคลือบโลหะเงินเอาไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้เมื่อสวมใส่ ปัจจุบันจึงนิยมเคลือบด้วยโรเดียม ซึ่งไม่หลุดลอก ควรมีการเสริมสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่เครื่องประดับเงิน ยกระดับเครื่องประดับเงินให้มีคุณภาพ และความประณีตเทียบเท่าเครื่องประดับทองคำ 18 กะรัต โดยด้านหลังตัวเรือนจะต้องประณีตเหมือนด้านหน้า และต้องมีดีไซน์ที่โดดเด่นแปลกตา ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประณีตในการผลิตมีความสำคัญต่อตลาดเครื่องประดับเงินในปัจจุบัน


ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

คำสำคัญ : กำไล แหวน เครื่องประดับ

ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=05&nu=pages&page_id=408

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=408&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,099

ลายดอกกุหลาบ

ลายดอกกุหลาบ

หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้นอย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 709

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 929

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 782

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ที่บ้านใหม่ธงชัย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นางปัญญา คมขำ เกษตรกรชาวอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร หันมาปลูกผักกูด ผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ 8 ไร่ ผสมผสานไปกับพืชยืนต้นอื่นๆ เช่น มะยงชิด กล้วย มังคุด ปรากฏว่าสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยได้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการปลูกผักกูด เกิดจากว่าจะมีการขุดลอกคลอง บริเวณหลังบ้านซึ่งมีผักกูดอยู่ ตัวเองกับสามีคิดว่าถ้าขุดลอกคลองแล้ว ผักกูดน่าจะสูญหายไป ทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่รู้จักผักพื้นบ้านชนิดนี้ ตัวเองกับสามีเลยไปเก็บต้นผักกูดที่รถขุดทิ้ง มาปลูกไว้พื้นที่หลังบ้าน แล้วปรากฏว่าปัจจุบันกลายเป็นพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของตัวเองได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,440

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 909

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,409

ห้อยกระดิ่งเงิน

ห้อยกระดิ่งเงิน

ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 910

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,203

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์

เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 841