ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 5,744

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าลาหู่ หรือ มูเซอ
ชาวลาหู่ในแต่กลุ่มมีเครื่องแต่งกายที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวในด้านสีสัน และผ้าของลาหู่ใช้ผ้าสีดำ หรือผ้าสีฟ้าและสีแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าลาหู่กลุ่มใด และตกแต่งด้วยผ้าหลายสีเป็นลวดลายสวยงาม รูปแบบของเสื้อลาหู่จึงแตกต่างกันไปตามกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มจะนุ่งซิ่นเช่นเดียวกัน รูปแบบของเสื้อผู้หญิง จะเป็นเสื้อแขนยาวตัวสั้นแค่เอว ตกแต่งด้วยผ้าหลากสีและเครื่องเงิน สำหรับเสื้อผ้าของผู้ชายลาหู่ ทั้งเสื้อและกางเกงจะใช้ผ้าสีดำและใช้ผ้าสีต่างๆ ลวดลายที่สวยงามเหมือนของผู้หญิง
         ชาวลาหู่ในสมัยก่อนเวลามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็จะมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าเสมอ แต่มาถึงปัจจุบัน การใส่ชุดประจำเผ่าในชนเผ่าลาหู่เริ่มหาดูได้ยาก เนื่องจากการพัฒนาของสังคมเมือง ทำให้ค่านิยมในการใส่เสื้อเปลี่ยนไป หันไปใส่เสื้อผ้าแบบทันสมัยใหม่ เช่นกางเกงยีนต์ เสื้อยีนต์เป็นต้น เพราะว่ามีการวางขายตามร้านทั่วไป ส่วนชุดชนเผ่าหาได้ยาก อีกอย่างสังคมไม่ยอมรับ เมื่อใส่ชุดชนเผ่าเข้าในเมือง กลับถูกมองเหมือนตัวประหลาดตัวหนึ่ง จึงทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบใส่ชุดประจำเผ่ากัน เพราะว่าอายคนในเมืองและ บางคนคิดว่าเขามีการพัฒนาพอที่จะแยกแยะออกว่า ควรใส่ช่วงเวลาไหนและไม่ควรใส่ช่วงเวลาไหน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

         ลักษณะการแต่งกายของผู้ชายคือสวมใส่เสื้อแขนยาวสีดำ ประัดับด้วยเม็ดโลหะเงินและลายปักต่างๆ ส่วนกางเกงใช้สีดำ สีเขียว สีฟ้า เย็บปักด้วยมือที่สวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อสีดำ ผ่าอกกลาง กระดุมโลหะเงิน หรือกระดุมเปลือกหอย กางเกงจีนสีดำหลวมๆ ยาวลงไปแค่เข่าหรือใต้เข่าเล็กน้อย
         มูเซอดำ: จะสวมกางเกงขาก๊วยสีดำ เสื้อสีน้ำเงินแขนยาวผ่าหน้าป้ายข้าง สั้นแค่บั้นเอว
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
         ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงคือสวมใส่เสื้อแขนยาว สวมผ้าถุงยาวถึงข้อเท้า ตกแต่งด้วยแถบผ้าสีต่างๆและ มีเม็ดอลูมิเนียมเล็กๆ เย็บติดเสื้อ และมีสวดลายต่างๆ แปะติดไว้ด้านหน้าและด้านหลังอย่างสวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อตัวสั้นสีดำ แขนยาว ผ่าอก ติดแถบผ้าสีแดงที่สาบเสื้อ รอบชายเสื้อและแขน ตกแต่งเสื้อด้วยกระดุมเงิน ส่วนผ้าซิ่นใช้สีดำเป็นพื้น มีลายสีต่างๆ สลับกันอยู่ที่เชิงผ้าโดยเน้นสีแดงเป็นหลัก
         มูเซอดำ: จะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงครึ่งน่อง ผ่ากลางตลอดตัวขลิบชายเสื้อและตกแต่งตัวเสื้อด้วยผ้าสีขาว นุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ โพกศีรษะด้วยผ้าดำยาว และปล่อยชายผ้าห้อยไปข้างหลังยาวประมาณ 1 ฟุต ปัจจุบันใช้ผ้าเช็ดตัวโพกศีรษะแทน ใช้ผ้าสีดำพันแข้ง

ภาพโดย :  http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=02&nu=pages&page_id=425

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=425&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 802

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,460

ลายกาบาท

ลายกาบาท

ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,015

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,029

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง เป็นลายของผ้าชาวเผ่าม้งลายหนึ่งที่นิยมสวมใส่กันทั้งหญิงและชาย เป็นลายที่ชาวเขาเผ่าม้งยึดถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่สวมใส่ในลายผ้านี้ ซึ่งชาวม้งจะมีการทอผ้าอย่างมีความประณีต เพื่อให้ผ้าที่ปักนั้นมีความสวยงามและมีลายผ้าที่ออกมาดี เพื่อที่จะนำมาใช้งานได้

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 951

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,651

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,261

ลายปักชุดชาวเขา

ลายปักชุดชาวเขา

ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,619

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,725

ลายเรียบ

ลายเรียบ

ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 725