ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 26,293

[16.4821705, 99.5081905, ตำหนิพระซุ้มกอ]

ผ่าตำหนิ พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่
          ส่วนเมืองนครชุมมีปรากฏในศิลาจารึก ของ พระมหาธรรมราชาลิไทย มาก่อน พ.ศ. 1900 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ฝักใฝ่ ในพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงและสร้างสรรค์พุทธสถาน พระบูชา พระเครื่อง ไว้อย่างมากมาย จนตกทอดถึงปัจจุบัน พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยมีบันทึกใน พระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประภาสเมืองกำแพงเพชร ปรากฏเรื่องราว ของเมืองกำแพงเพชร และพระเครื่องว่า
          ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งประกอบด้วย
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ซุ้มกอดำ)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก
          - พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปียะ (ไม่ตัดปีก)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พัดใบลาน
          พระซุ้มกอ ที่นิยมมากสุด คือ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก ซึ่งเริ่ม มีการพบจากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และบรมธาตุ นครชุม เป็นพระดินเผา ที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามปรากฏทั่วองค์พระ ความที่มีความละเอียดและเนื้อนิ่มมาก จึงให้พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มักจะหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่เหลือเป็นแบบที่สมบูรณ์ มีน้อยมากๆ ที่พบเห็นอยู่ในวงการจึงทำให้ความนิยม และ ราคาการเช่าหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เทียบได้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยทีเดียว
           พุทธลักษณะพระกำแพงซุมกอ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร เป็นศิลปะเชียงแสนผสม กับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งนูนดูเด่นสง่างามมาก แบบเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้ง พระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้าย รูปตัว ก.ไก่ บางท่านว่า ซุ้มที่องค์พระเหมือนรูป ก.ไก่มาก จึงเรียกว่า พระซุ้มกอ   
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบไม่มีลายกนก แบบนี้เป็นพระชนิด เนื้อสีดำและสีเขียว ส่วนสีแดงก็มีบ้าง พระกำแพงซุ้มกอสีแดงที่ไม่มีลายกนกนี้ พิมพ์ใหญ่มีน้อยมาก พระซุ้มกอดำ เป็นแบบที่มีประภามณฑล คล้ายรูปทรงของตัว ก. แบบอื่นๆ คือยังมีรูปทรง ตลอดจนประภามณฑ ลคล้ายพระพุทธรูป คันธารราฐมากที่สุดนั่นเอง
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบที่มีลายกนก แบบนี้เข้าใจว่าจะพัฒนา มาจาก แบบแรก คือมีลายบัว ที่ฐาน และการเปล่งรังสี ออกจาก พระวรกาย โดยทำเป็น รูปลายกนก อย่างงดงาม โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ ช่องพระพาหาลึก ทำให้พระอุระ และองค์พระ ซึ่งแลดูเด่นนูน อยู่แล้วดูสง่างามยิ่งขึ้น นอกจาก ชนิดพิมพ์ บางพิมพ์ เท่านั้นที่ช่องพระพาหาตื้น แบบนี้มีบางพิมพ์ ที่ทำเป็น สมาธิเพชร แต่ส่วนมากทำเป็นสมาธิราบทั้งนั้น
            พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง
            หลักการพิจารณาพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก มีตำหนิสำคัญ ดังนี้
            1. ขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ จะมีขนาดเล็กกว่าด้านขวาขององค์พระ
            2. ขอบกนกด้านข้างทางขวามือองค์พระเป็นขดวงกลม ๓ ขด
            3. ขอบกนกด้านบนขวามือองค์พระและซ้ายองค์พระจะเป็นเส้นโค้งงอนขึ้น และโค้งเข้าหากัน
            4. ขอบกนกด้านซ้ายมือขององค์พระเป็นรูปพญานาค หรือตัว “S” ในภาษาอังกฤษ
            5. ที่บริเวณกระจังหน้าบนเศียรพระมีรอยบุบของขอบกระจัง (มักเห็นในพระที่สมบูรณ์)
            6. หูทั้งสองข้างขององค์พระยาวจรดบ่า
            7. ซอกแขนทั้งสองข้างขององค์พระมีความลึกมาก
            8. เส้นอังสะ (ข้างเส้นสังฆาฏิ) จะตวัดซ้อนลึกเข้าไปในซอกรักแร้
            9. ประทับนั่งแบบมือขวาทับซ้าย ชัดเจน
            10. ฐานบัวเล็บช้างกลีบแรก (จากทางขวาขององค์พระ) โค้งจากด้านข้าง มาด้านหน้า
            นี่คือตำหนิในแม่พิมพ์พระแท้ของพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ที่สำคัญมาก และสามารถนำมาใช้เป็นจุดวิเคราะห์ พระแท้ พระปลอม ได้ จึงนำเสนอไว้เป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้สนใจในพระพิมพ์นี้ ไว้ศึกษาเทียบเคียงกับพระที่ท่านมีโอกาสพบเจอในภายหน้าต่อไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/ตำหนิพระซุ้มกอ/82/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ตำหนิพระซุ้มกอ. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1152

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,314

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 17,131

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,884

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,779

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,753

พระกำแพงกลีบจำปา เนื้อชิน

พระกำแพงกลีบจำปา เนื้อชิน

พระกำแพงกลีบจำปาเนื้อชินที่พบเป็นพระชินเงิน พิมพ์ทรงเหมือนกับเนื้อดินทุกประการ เนื่องจากพระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่สัณฐานบางมาก พระส่วนมากจะผุพังและชำรุดหาที่สมบูรณ์ยาก พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระชินเงินที่มีตะกั่วผสม เนื้อของพระมักจะมีไขขึ้นเป็นบางจุด เนื้อหาจะระเบิดผุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านหลังจะเป็นแอ่งและมีลักษณะเป็นลายผ้าทุกองค์ ลักษณะการผุระเบิดเช่นนี้เป็นลักษระของพระ กรุเก่า ซึ่งหมายถึงพระที่ขึ้นมาจากกรุวัดพระบรมธาตุและบริเวณฝั่งทุ่งเศรษฐีในยุคก่อนมี ๒๔๙๐

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,157

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

หลวงพ่อโพธิ์วัดท่าไม้แดง กำแพงเพชร รุ่นแรก อัลปากาชุบนิคเกิล แชมป์งานกองบิน 46 พิษณุโลก ปี 52

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,031

กรุวังพระธาตุ

กรุวังพระธาตุ

ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋  พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ  

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,839

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,949

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,079